(ฉัดทันตะ-) น. ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์.
น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.
ว. ทันที่ตาเห็นในปัจจุบัน, ในชาตินี้, ในเวลานั้น.
(ทันตะ-) น. ฟัน, งาช้าง เช่น เอกทันต์.
(ทันตะ-) น. การรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก.
(ทันตะ-) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่ฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต.
(ทันตะ-) น. แพทย์ผู้มีหน้าที่ตรวจรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก.
ก. ทรมานแล้ว, ข่มแล้ว, ฝึกหัดแล้ว.
น. สัตว์ที่มีงา คือ ช้าง.
น. ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Vandopsis gigantea (Lindl.) Pfitzer ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีเหลืองประนํ้าตาล.
น. ชื่อเครื่องหมาย ๒ ขีด รูปดังนี้ ' สำหรับเขียนบนสระ ิ ให้เป็นสระ ื, ฟันหนู ก็ว่า.
(-วะกะ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคล-หัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถ-หัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.
น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีเหมือนสีนํ้าไหล, คงไคยหัตถี ก็ว่า, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.
น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.
น. ตัวไม้หน้าสี่เหลี่ยมแบนยาวติดปลายจันทันตลอดชายคาเรือนหลังคาทรงปั้นหยาหรือหลังคาทรงมนิลา.
(-กฺรวย) น. ภาชนะสานด้วยตอก ตาห่าง ๆ คล้ายตาชะลอม ทรงกระบอกปากกลม ก้นมน เช่น เมื่อข้าพเจ้าตัดศีรษะกามะนีขาดแล้ว จะได้รับเอาศีรษะมิให้ทันตกลงถึงดิน ใส่ในตะกรวยซึ่งแขวนไปกับข้างม้านั้นเข้ามาถวายพระองค์ (ราชาธิราช สมิงพระรามอาสา).
(ตามพะ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองแดง, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.
ว. ทันต่อเหตุการณ์พอดิบพอดี.
(ทิดถะ-) ว. อันบุคคลเห็นแล้ว, ทันตาเห็น.
น. “ธรรมทันตาเห็น”, ความเป็นไปที่เห็นในชาตินี้.
(ทาด, ทาตุ-) น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันต-ธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ
(ปะหฺรอด) น. ธาตุลำดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖ °ซ. เดือดที่ ๓๕๗ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปทำเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury)
(ปันดะระ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวดังเขาไกรลาส, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.
น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองอ่อนดั่งสีตาแมว, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคย-หัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.
น. ชื่อเครื่องหมาย ๒ ขีด รูปดังนี้ ' สำหรับเขียนบนสระ ิ ให้เป็น สระ ื , มูสิกทันต์ ก็ว่า.
(มงคนละ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.
ก. ฉิบหาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น.
น. เมือง, วัง, เช่น จะแบ่งปันข้าวของในท้องคลัง ให้ครอบครองเวียงวังเห็นทันตา (สังข์ทอง).
น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีเหลืองดั่งทอง, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.
น. ชื่อสระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์ ได้แก่ ๑. สระอโนดาต ๒. สระกัณณมุณฑะ ๓. สระรถการะ ๔. สระฉัททันตะ ๕. สระกุณาละ ๖. สระมัณฑากินี ๗. สระสีหัปปปาตะ.
น. ธาตุลำดับที่ ๔๙ สัญลักษณ์ In เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาวเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๖.๒ °ซ. ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นทำอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือที่ใช้ในงานทันตกรรม ชุบฉาบผิวเหล็กซึ่งเคลือบด้วยเงินแล้ว.
(อุโบสด, อุโบสดถะ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.