(คฺรั่นคฺรื้น) ก. สะเทือน.
(คฺรึกคฺรื้น) ว. สนุกสนาน, ร่าเริง, เช่น ใจครึกครื้น
เอิกเกริก เช่น งานครึกครื้น ขบวนแห่ครึกครื้น.
(คฺรืน, คฺรื้น, -คฺรั่น) ว. เอิกเกริก, กึกก้อง, สนั่น, มากด้วยกัน.
(คฺรื้นคฺรึก) ว. ครึกครื้น, รื่นเริง, สนุกสนาน, เอิกเกริก.
(คฺรื้นเคฺรง) ว. เสียงดังครึกครื้น, เครงครื้น ก็ว่า, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่างครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
ว. เสียงดังครึกครื้น, ครื้นเครง ก็ว่า.
(กฺร่อย) ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย.
ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา (นิ. เพชร), อนึ่งเรือหน้าบอกให้เรือหลังราไว้ และเรือหลังมิได้ราอยู่ภายไปกระทั่งเรือหน้าแตกล่มก็ดี (สามดวง)
ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงานบ่าวสาวก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว.
(-หน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล (รามเกียรติ์ ร. ๑).
คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.
น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.
ว. ครื้นเครง, เกรียวกราว, เช่น หฤทัยเครงเครียว (จารึกวัดโพธิ์).
(โคฺรงแคฺร) ว. ครื้นเครง, อึกทึก, กึกก้อง, เช่น เสียงฉะฉาวโครงแคร (สมุทรโฆษ).
ไม่สนุก, ไม่ครึกครื้น, เช่น งานนี้จืด
ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลำคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน
ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, เช่น เขาชอบหาเรื่องขำขันมาเล่า ทำให้เพื่อน ๆ ได้สรวลเสเฮฮาเสมอ, เสสรวล ก็ว่า.
(-สวน) ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, สรวลเส หรือ สรวลเสเฮฮา ก็ว่า.
(อับพาด) น. คำซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม.
ก. แสดงความสนุกสนานครึกครื้นหรือชอบอกชอบใจ เช่น เช้าฮา เย็นเฮ.
ว. เสียงหรืออาการแสดงความสนุกสนานครึกครื้น.