ปริมาณรังสีลดลง, ปริมาณรังสีที่ป้องกันได้เมื่อใช้มาตรการป้องกัน ซึ่งเป็นผลต่างของปริมาณรังสีที่คาดว่าจะได้รับ ในกรณีที่ไม่ใช้และใช้มาตรการป้องกัน[นิวเคลียร์]
การเฝ้าสังเกตพิเศษ, การตรวจติดตามที่กำหนดขึ้นสำหรับสถานการณ์จำเพาะ ของสถานปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่ามีการควบคุมที่ดี โดยมากจะใช้ในขั้นตอนดำเนินการของสถานปฏิบัติการใหม่ ใช้ในกรณีที่มีการดัดแปลงที่สำคัญของสถานปฏิบัติการและวิธีปฏิบัติ หรือใช้กับปฏิบัติการภายใต้ภาวะผิดปกติ เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การเฝ้าสังเกตพิเศษนี้ อาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือ การเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการเฉพาะแห่ง, Example: [นิวเคลียร์]
วันยื่นคำขอ ซึ่งถูกอ้างการมีสิทธิก่อนในกรณีที่ยืนคำขอมากกว่าหนึ่งประเทศ[ทรัพย์สินทางปัญญา]
การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก[การทูต]
เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว[การทูต]
อุปทูตรักษาราชการสถานเอกอัครราชทูต หรือ อุปทูตชั่วคราว " ในกรณีที่ตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนว่างลง หรือหัวหน้าคณะ ผู้แทนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ อุปทูตชั่วคราวจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นการชั่วคราวได้ โดยหัวหน้าคณะผู้แทนจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศของรัฐ ผู้รับทราบ หรือหากหัวหน้าคณะผู้แทนไม่สามารถแจ้งได้ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้ส่งจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวไปยังกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ "[การทูต]
ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ[การทูต]
เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น[การทูต]
ไหล่ทวีป ไหล่ทวีปของรัฐชายฝั่งประกอบด้วย พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตของรัฐตลอดส่วนต่อออกไปตามธรรมชาติของดินแดนทางบกของ ตนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตในกรณีที่ริมนอกของ ขอบทวีปขยายไปไม่ถึงระยะนั้น[การทูต]
คณบดีคณะทูต เอกอัครราชทูตที่อาวุโสที่สุด (ยื่นสาส์นตราตั้งก่อนผู้อื่น) ในประเทศนั้น ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้แทนของคณะทูตานุทูต (ในกรณีที่รัฐผู้รับนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก สมณทูตวาติกันจะดำรงตำแหน่งคณบดีทูต)[การทูต]
การออกไปจากรัฐผู้รับของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ข้อ 44 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติได้ว่า ?แม้ในกรณีการขัดกันด้วยอากร รัฐผู้รับต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้บุคคลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน นอกจากคนชาติของรัฐผู้รับและคนในครอบครัวของบุคคลเช่นว่านี้ โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลเหล่านั้น ออกไปในขณะที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยเฉพาะ รัฐผู้รับต้องจัดพาหนะเดินทางในการขนส่งสำหรับตัวบุคคลเหล่านั้น และทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นให้ด้วย?[การทูต]
ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique?[การทูต]
เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General[การทูต]
การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง[การทูต]
เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?[การทูต]
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที[การทูต]
ข้าหลวงใหญ่ หรือผู้แทนทางการทูตของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกสังกัดเครือจักรภพอังกฤษ (The Commonwealth of Nations) และประจำอยู่ ณ ประเทศของสมาคมนี้ด้วยกัน แท้ที่จริงแล้วตำแหน่งนี้ก็เท่ากับตำแหน่งเอกอัคร ราชทูตในกรณีของประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกสังกัดในเครือจักรภพนั่นเอง เช่น ในกรณีที่ผู้แทนทางการทูตของประเทศแคนาดาไปประจำ ณ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองเป็นประเทศในเครือจักรภพด้วยกัน เขาจะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า High Commissioner ไม่ใช้คำว่า Ambassador แต่ถ้าผู้แทนทางการทูตของแคนาดาไปประจำประเทศนอกเครือจักรภพ เช่น ประเทศไทย ก็จะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า เอกอัครราชทูต (Ambassador)[การทูต]
คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ?[การทูต]
หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้[การทูต]
หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน?[การทูต]
หมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น?[การทูต]
หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา[การทูต]
คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์[การทูต]
การทูตแบบกระสวย หมายถึง การเดินทางไปเจรจาทางการทูตเพื่อคลี่คลายปัญหาหรือกรณีพิพาทโดยผู้ไกล่ เกลี่ยจะต้องเดินทางกลับไป-กลับมาระหว่างประเทศหรือคู่กรณีที่มีความขัดแย้ง กัน เช่น การแก้ปัญหาในตะวันออกกลาง[การทูต]
ขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล ข้อ 20 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ไม่มีความตกลงอย่างชัดเจนในเรื่องขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล รัฐผู้รับอาจกำหนดให้รักษาขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ไว้ภายในขีดจำกัดที่ตน พิจารณาเห็นว่าปกติและสมควรได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และสถานการณ์ในเขตกงสุลนั้น รวมทั้งความต้องการของสถานที่ทำการทางกงสุลแห่งนั้นโดยเฉพาะ[การทูต]
คณะผู้ติดตามเกียรติยศ - สำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการระดับประมุขของรัฐ จะประกอบด้วย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ประมุขของรัฐจัดให้มาประจำประมุขของรัฐผู้มาเยือน - สำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการระดับหัวหน้ารัฐบาล จะประกอบด้วย รัฐมนตรีเกียรติยศ เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศผู้มาเยือน อธิบดีกรมพิธีการทูต พร้อมทั้งนายทหารเกียรติยศ ในกรณีที่ผู้มาเยือนมีคู่สมรส ก็จะเพิ่มคู่สมรสของคณะผู้ติดตามเกียรติยศ และนายตำรวจหญิงประจำ ตลอดการเยือน[การทูต]
เป็นคำที่ระบุในบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ ในกรณีที่ การเชิญนั้นผู้ได้รับเชิญได้ตอบรับการเชิญอย่างไม่เป็นทางการแล้ว การส่งบัตรเชิญโดยระบุคำว่า "To Remind" เป็นการส่งมาเตือนอีกครั้งหนึ่ง[การทูต]
การตรวจลงตรา กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายแสดงการรับรองที่ประทับอยู่ในหนังสือเดินทางว่า หนังสือเดินทางฉบับนั้นได้รับการตรวจตราแล้ว ในกรณีที่ผู้ถือหนังสือดังกล่าวยื่นขอเดินทางเข้าไปในประเทศที่ให้การตรวจลง ตรา และทุกอย่างถูกต้องจึงให้ผู้นั้นเดินทางไปยังประเทศดังกล่าวได้อนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ของวรรค D ว่า หน้าที่ทางกงสุลข้อหนึ่งคือ ?ออกหนังสือเดินทางและเอกสารเดินทางให้แก่คนชาติของรัฐผู้ส่ง และตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่ง?พึง เข้าใจว่า แม้หนังสือเดินทางจะได้รับการตรวจลงตราแล้วก็ตาม ก็มิได้เป็นการประกันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ผู้ถือหนังสือนั้นจะได้รับการยินยอมให้เดินทางเข้าไปในรัฐที่ให้การตรวจลง ตรา คือ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในรัฐนั้นอาจห้ามมิให้เข้าประเทศได้ ทั้ง ๆ ที่ได้รับการตรวจตราแล้วก็ตาม แต่การกระทำเช่นนี้เป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมากการตรวจลงตราหรือวีซ่านั้น แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ1) การตรวจลงตราทางการทูต ซึ่งออกให้แก่บุคคลในคณะทูตและกงสุล รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของต่างประเทศ2) การตรวจลงตราทางราชการ ออกให้แก่ข้าราชการที่ไม่รวมอยู่ในประเภทที่ 1) ซึ่งจะเดินทางไปธุระราชการ และ3) การตรวจลงตราธรรมดา ออกให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และไม่รวมอยู่ในประเภทที่ 1) และ 2) มีหลายประเทศได้ให้การตรวจลงตราชั่วคราว การตรวจลงตราสำหรับลูกเรือเดินทะเล การตรวจลงตราสำหรับพ่อค้าต่างประเทศ การตรวจลงตราสำหรับนักศึกษา และการตรวจลงตราสำหรับผู้อพยพลี้ภัย เป็นต้น[การทูต]
ยางเอทิลีนไวนิลแอซิเทตเป็นโคพอลิเมอร์ของเอทิลีนและไวนิลแอซิเทต มีสมบัติเด่น คือ ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาความร้อน โอโซน และสภาพอากาศได้ดี มีความทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ดี แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี มีความเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ไม่ดี ส่วนใหญ่ยางชนิดนี้จะใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายเคเบิลเฉพาะในกรณีที่ต้องการ สมบัติพิเศษด้านความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซน สภาพอากาศ ความร้อน และน้ำมันเท่านั้น[เทคโนโลยียาง]
ยางฟลูออโรคาร์บอนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีฟลูออรีนเป็นองค์ ประกอบอยู่ในโมเลกุล ทำให้ยางมีความเป็นขั้วและมีความเสถียรสูงมาก ทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ ความร้อน ปฏิกิริยาออกซิเดชัน เปลวไฟ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีเยี่ยม ถึงแม้ว่ายางชนิดนี้จะทนสารเคมีต่างๆ ได้ดีแต่ไม่แนะนำให้นำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คีโตน อีเทอร์และเอสเทอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ สารประกอบเอมีน กรดไฮโดรฟลูออริกและกรดคลอโรซัลโฟนิคที่ร้อน น้ำร้อนและไอน้ำ เมทานอล และน้ำมันเบรกที่มีไกลคอลเป็นองค์ประกอบ ยางฟลูออโรคาร์บอนมีหลายเกรดแตกต่างกันตามโครงสร้างทางเคมีและปริมาณของ ฟลูออรีนในยาง การใช้งานค่อนข้างจำกัดเนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก มักนำไปผลิตปลอกหุ้มสายไฟหรือสายเคเบิล โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการความทนทานต่อความร้อน โอโซน สารเคมี และเปลวไฟสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบิน จรวด เช่น ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ยางโอริง ปะเก็น ยางซีล เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางไฮโดรจิเนตอะไครโลไนไทรล์บิวทาไดอีน หรือยาง HNBR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน (Hydrogenation) ของยาง NBR สมบัติของยาง HNBR มีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน รังสีที่มีพลังงานสูง และโอโซนสูงมาก ใกล้เคียงกับยาง EPDM และเนื่องจากมี CN อยู่ในโมเลกุลทำให้ยางชนิดนี้ทนต่อน้ำมันได้ดี ยาง HNBR มีสมบัติทั่วไปอยู่ระหว่างยาง NBR และยางฟลูออโรคาร์บอน เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูง จึงนิยมใช้ยาง HNBR แทนยาง NBR เฉพาะกรณีที่ต้องการใช้งานในสภาวะที่รุนแรงหรือที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีข้อดีเหนือกว่ายางฟลูออโรคาร์บอน คือ มีความทนทานต่อสารตัวเติมที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น สารประกอบเอมีน ได้ดี จึงนิยมใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยางที่ใช้ในแท่นขุดเจาะน้ำมัน[เทคโนโลยียาง]
ของผสมระหว่างยางและสารเคมีต่างๆ ที่รู้ปริมาณที่แน่นอนผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการเตรียมการผสมขั้นตอนสุดท้ายในการผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ มาสเตอร์แบทซ์อาจจะใช้เพื่อความสะดวกในการผลิตหรือเพื่อเพิ่มสมบัติของ ผลิตภัณฑ์หรือทั้งสองอย่าง เช่น ใช้ในกรณีที่สารเคมีกระจายในยางได้ไม่ดี หรือในกรณีที่มีการใช้สารเคมีนั้นน้อยมาก อาจจะก่อให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย ถ้าสารเคมีฟุ้งกระจายหายไป[เทคโนโลยียาง]
รอบระดู, รอบประจำเดือน, ระยะเวลาครบรอบแต่ละครั้งที่ผนังชั้นในของมดลูกหลุดออก แล้วถูกขับออกมาทางช่องคลอดในกรณีที่ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในสัตว์ต่างชนิดกันจะมีรอบประจำเดือนไม่เท่ากัน คนมีรอบประจำเดือน 28 วัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
อาณาจักร, หมวดหมู่ใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต เช่น อาณาจักรพืช อาณาจักรสัตว์ อาณาจักรโพรทิสตา เป็นต้น แต่อาณาจักรจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อยตามลำดับดังนี้คือ ไฟลัม(ในกรณีที่เป็นสัตว์) หรือ ดิวิชัน(ในกรณีที่เป็นพืช) คลาส ออร์เดอร์ แฟมิลี จีนัส สปีชีส์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก, ค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ใช้ในกรณีที่ข้อมูลแต่ละค่ามีความสำคัญไม่เท่ากัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ผลหาร, จำนวนที่ได้จากการหารจำนวนจริง a ด้วยจำนวนจริง b เมื่อ b ¹ 0 เช่น 5 เป็นผลหารของ 10 ที่หารด้วย 2 ในกรณีที่การหารไม่ลงตัว เช่น 7 2 จะได้ผลหารเป็น 3 และเศษเป็น 1[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก, รูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมภายในทุกมุมเป็นมุมฉาก ในกรณีที่ด้านเท่ากันทั้ง 4 ด้าน เรียกว่ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถ้ามีด้านเท่ากันขนานกัน 1 คู่ เรียกว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แรงกิริยา, แรงที่วัตถุหนึ่งกระทำต่ออีกวัตถุหนึ่ง ใช้ในกรณีที่กล่าวถึงแรงกระทำระหว่างวัตถุ เช่น เรียกแรงที่วัตถุ A กระทำต่อวัตถุ B ว่าแรงกิริยา และเรียกแรงที่วัตถุ B กระทำต่อวัตถุ A ว่าแรงปฏิกิริยา[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ทีซีพี/ไอพี, โพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับผู้ส่งในเครือข่ายและจัดการแบ่งข้อมูลเป็นชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่าแพ็กเก็ต (packet) ส่งผ่านไปในอินเทอร์เน็ตและมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้น จะได้รับอย่างถูกต้องและครบถ้วน ในกรณีที่ข้อมูลเกิดข้อผิด[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ยูพีเอส, เครื่องสำรองไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ ใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินในกรณีที่ไฟฟ้าเกิดขัดข้อง หรือไฟฟ้าดับ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]