ช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ
(บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn.cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง
(ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม
(โคเลท') { collated, collating, collates } vt. ตรวจเทียบ, ตรวจทาน, ตรวจปรู๊ฟ, ปรับให้เหมาะสม, ลำดับหน้า, เรียง, แต่งตั้งตำแหน่งทางศาสนาคริสต์ รวมแฟ้มเรียง1. หมายถึงการนำแฟ้มข้อมูลมาเรียงกัน2. เป็นคำสั่งพิมพ์เมื่อต้องการพิมพ์หลายชุด (ถ้าใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์) แต่ต้องการให้พิมพ์ให้เสร็จทีละชุด (แทนที่จะพิมพ์หน้าเดียวกันให้ครบจำนวนชุดที่ต้องการ) การพิมพ์แบบ collate จะใช้เวลาในการพิมพ์มากกว่า
ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล
การเข้าถึงโดยตรงหมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากดู indirect access เทียบ
(โดซ) { dozed, dozing, dozes } vt., vi., n. (การ) ม่อยหลับ, งีบหลับ, สัปหงก, เคลิ้ม. vt. ใช้เวลาในการงีบหลับ, See Also:dozer n. ดูdoze, Syn.nap
(เอมพลอย') vt. จ้าง, ว่าจ้าง, ใช้, ใช้สอย, ใช้เวลา. -n. การจ้าง, การว่าจ้าง, การบริการ, อาชีพ., See Also:employability n. ดูemploy employable adj. ดูemploy employer n. ดูemploy, Syn.engage
ภาษาแนวมนุษย์หมายถึงภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ เขียนได้ง่าย เข้าใจง่าย และกระทัดรัด สะดวกในการใช้งาน ภาษานี้มีลักษณะเหมือนภาษาหนังสือ ใช้เขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แต่คอมพิวเตอร์จะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อนจึงจะเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ1. ภาษาระดับสูง (high level language) 2. ภาษาระดับต่ำ (low level language) การใช้ภาษามนุษย์เขียนชุดคำสั่งนี้มีข้อดีคือ ทำได้ง่าย มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่าย เขียนได้สั้น เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลายคำสั่งในภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดีตรงที่สามารถใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่าเพราะไม่เสียเวลาในการแปลดู computer language ประกอบดู machine language เปรียบเทียบ
หมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากมีความหมายเหมือน direct access