ทันตกรรมรากฟันเทียม, Example:<p>ทันตกรรมรากฟันเทียมเป็นวิธีการในการทดแทนรากฟันจริงตามธรรมชาติด้วยรากฟันเทียม โดยทันตแพทย์จะทำการฝังรากฟันเทียมลงบนกระดูกรองรับฟัน เพื่อเป็นฐานที่มั่นคงแก่ฟันที่จะใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป ระบบทันตกรรมรากฟันเทียมที่มีใช้ในปัจจุบันทั่วโลกมีทั้งหมดประมาณ 100 ระบบ โดยระบบเกือบทั้งหมดซึ่งมีใช้อยู่ในปัจจุบันจะให้อายุการใช้งานรากฟันเทียมที่ยาวนาน การรักษาด้วยทันตกรรมรากฟันเทียมมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มีช่วงหนึ่งอัตราการเพิ่มขึ้นได้ลดลงเล็กน้อยเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก เมื่อปีที่แล้วมีอัตราการเพิ่มขึ้นทั่วโลกถึง 20% วัสดุที่ถูกนำมาใช้ในการทำรากฟันเทียมมากที่สุดคือ ไทเทเนียม เนื่องจากได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวัสดุที่เหมาะสมมากที่สุดในการนำมาเป็นรากฟันเทียม วัสดุใหม่ที่จะถูกนำมาใช้ทดแทนวัสดุเดิมควรจะได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีคุณสมบัติที่ดีกว่า ปัจจัยที่มีผลต่อผลการรักษามีอยู่ 4 หลักใหญ่ๆ คือ ผู้ป่วย ทันตแพทย์ วิธีการรักษา และวัสดุ โดยทันตแพทย์และวิธีการรักษาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดและปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมาคือ วัสดุ จะต้องถามผู้ป่วยเกี่ยวกับประวัติก่อนเสมอก่อนที่จะทำการรักษาโดยทันตกรรมรากฟันเทียมเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เช่น มีผู้ป่วยด้วยโรคตับอักเสบ ซี ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการปลูกถ่ายตับได้รับการถอนฟันโดยที่ทันตแพทย์ลืมสอบถามประวัติทำให้ต่อมาผู้ป่วยตายด้วยอาการเลือดออกอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ป่วยที่สูบบุหรี่เป็นผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสมที่จะทำทันตกรรมรากฟันเทียม ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอัตราการทำทันตกรรมรากฟันเทียมที่ไม่ประสบความสำเร็จสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการปลูกกระดูก (Bone grafting) ก่อน ในกรณีที่โครงสร้างของกระดูกรองรับฟันของผู้ป่วยมีความสมบูรณ์และแข็งแรงไม่เพียงพอต่อการทำทันตกรรมรากฟันเทียม ปัจจุบันขั้นตอนการปลูกกระดูกมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีปริมาณกระดูกที่ไม่เพียงพอที่จะทำทันตกรรมรากฟันเทียม ในอดีตการปลูกกระดูกอาจจะเป็นเรื่องยากแต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาทำให้การปลูกกระดูกมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเพื่อให้ได้ขนาดและปริมาณตามที่ต้องการ <p> <p>เรียบเรียงจากการบรรยายพิเศษเรื่อง "Current Situation of Research and Development of Dental Implant and Bone Substitutes" โดย Professor Peter A. Reichart ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 306 ชั้น 3 ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัว[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ประสาทหูเทียม, ชุดอุปกรณ์ที่ผ่าตัดฝังเข้าไปในหูส่วนในของผู้ที่หูหนวก เพื่อกระตุ้นประสาทในคอกลี (Cochlea) ให้รู้สึกได้ยินเสียง อุปกรณ์ที่ฝังจะทำงานร่วมกับไมโครโฟนภายนอก ระบบประมวลสัญญาณและส่งวิทยุ และระบบรับวิทยุที่ต่อกับชุดประสาทหูเทียม[Assistive Technology]
ตาเทียม, เทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้ที่ตาบอดมองเห็นได้อีก โดยการผ่าตัดฝังไมโครชิป (retinal implant) ไว้ที่เรตินาในลูกตา ใช้กล้องวิดีโอที่ติดไว้กับแว่นตา ส่งสัญญาณภาพไปยังไมโครชิป ที่เชื่อมกับเรตินาที่เสื่อม ทำหน้าที่แปลงแสงให้เป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นเซลประสาทในการเห็นภายในสมองส่วนกลาง, Example:ความหมายเดียวกับ Bionic Eye หรือ Retinal Prosthesis[Assistive Technology]
การใส่เลนส์แก้วตาเทียม[TU Subject Heading]
เบ้าตาเทียม[TU Subject Heading]
การใส่อวัยวะเทียม[TU Subject Heading]
ยาคุมกำเนิดฝังใต้ผิวหนัง[การแพทย์]
ฝังตัว, ระยะฝังตัว, ฝังลงไปในก้อนมะเร็ง, การฝังตัว, การปลูกชิ้นส่วนหรืออวัยวะ, การฝังปลูก, การฝังในเนื้อเยื่อ[การแพทย์]
การฝังตัวของไข่[การแพทย์]
เลือดออกจากโพรงมดลูกในขณะที่ไข่ฝังตัวในเยื่อมดลูก, เลือดที่ออกจากโพรงมดลูกในขณะที่ไข่ฝังตัวในเยื่อ[การแพทย์]
เจริญเป็นมะเร็ง[การแพทย์]
การท้องนอกมดลูก[การแพทย์]
การใช้สารสังเคราะห์เสริมใต้ผิวหนัง[การแพทย์]
วัตถุที่ฝังในกาย, วัสดุที่ฝังในร่างกาย[การแพทย์]