(ขฺวะไขฺว่เขฺวี่ย) ก. ขวักไขว่ เช่น เดินขวะไขว่เขวี่ย (ม. ร่ายยาว ชูชก).
(ขฺวักไขฺว่) ว. อาการที่เคลื่อนไหวสวนกันไปมาอย่างสับสน เช่น เดินขวักไขว่ บินขวักไขว่.
(ไขฺว่) ก. สาน, ทำให้ก่ายกัน, เช่น ไขว่ชะลอม, ไขว่สาแหรก.
(ไขฺว่) ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมาอย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่.
(ไขฺว่) น. ลักษณนามเรียกแผ่นกระดาษที่รองรับแผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่น ว่า ๑ ไขว่.
ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, คว้าไขว่ ก็ว่า.
ว. อาการที่นั่งหรือนอนเอาขาพาดบนเข่าที่ตั้งชันอยู่.
(ไขฺว้) ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว สานไขว้, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่งไปส่งให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา
กิริยาที่เตะตะกร้อโดยงอขาไปข้างหน้า และบิดเท้าไปทางด้านข้าง เรียกว่า ไขว้หน้า ถ้างอขาไปข้างหลังและบิดเท้าไปทางด้านข้าง เรียกว่า ไขว้หลัง
เอาของไปจำนำ, ไขว้เขว ก็ว่า
ยืมเงินของคนหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่ง.
(-เขฺว) ก. สับสน เช่น เขาพูดมากทำให้ฉันไขว้เขว
ยืมเงินโดยเอาของไปเป็นประกัน.
ก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ).
(-ไขฺว่) ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, ไขว่คว้า ก็ว่า.
(-ไขฺว่) ว. ขวักไขว่, สับสน, โบราณเขียนเป็น คไขว่ ก็มี เช่น ขว้างหอกซรัดคไขว่ ไล่คคลุกบุกบัน (ตะเลงพ่าย).
น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคำลงในตารางสี่เหลี่ยมที่กำหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนวยืนและแนวนอน.
น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน ใช้อย่างเป้ มีสายรัดไขว้ที่หน้าอก หรือคาดที่หน้าผาก, อีสานว่า กะพา.
(กฺลุ้ม) ก. ปกคลุมอยู่ทำให้มืดคลุ้ม เช่น ควันกลุ้ม หมอกกลุ้ม. ว. ชุลมุน, ขวักไขว่, เช่น วิ่งกันให้กลุ้ม, ประดังกัน ในคำว่า พูดกันให้กลุ้ม.
น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน ใช้อย่างเป้ มีสายรัดไขว้ที่หน้าอก หรือคาดที่หน้าผาก.
น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลายตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียก แกแล.
น. เครื่องสำหรับวางหนังสือใบลาน ทำด้วยไม้๘ อันร้อยเชือกไขว้กัน.
ก. พาด, พาดไขว้กัน, เช่น เอาฟืนก่ายกัน, พาดเกยอยู่หรือค้างอยู่ เช่น เอามือก่ายหน้าผาก นอนเอาขาก่ายกัน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ เกย เป็น ก่ายเกย หรือ เกยก่าย.
น. ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลายตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่น กะแล หรือ แกแล.
น. ไม้คํ้ายันไขว้เป็นรูปกากบาทระหว่างเสาเพื่อป้องกันโครงสร้างมิให้เซหรือรวน.
น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลายตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียก กะแล.
ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด.
(ขัดสะหฺมาด) ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกัน เรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้นข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็นท่าพระพุทธรูปนั่ง.
น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือทั้งสองตั้งวง ไขว้แขน ระดับอก ลำตัวตั้งตรง หน้าตรง เอียงศีรษะข้างใดก็ได้.
น. ไม้ ๒ อันที่ทำเป็นขาไขว้กัน ใช้วางบนหลังช้าง สำหรับนั่ง บรรทุกของ หรือลากไม้.
น. การซื้อขายที่มีเงื่อนไขว่าให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจดูทรัพย์สินก่อนรับซื้อ.
น. ชื่อกำไลที่ทำด้วยเงินหรือทองเกลี้ยง ๆ หัวท้ายรีดเป็นลวด ทำเป็นห่วงสอดไขว้กันเพื่อรูดเข้าออกได้, กำไลคู่ผี ก็เรียก.
น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้กัน เหน็บไว้ที่บริเวณสะดือ แล้วดึงชายข้างใดข้างหนึ่งให้ยาวกว่า มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอว ใส่เงินหรือหมากเป็นต้นได้.
(ตฺระ-) ก. ผูกไขว้, ผูกบิด, เช่น ผ้าประเจียดประจงจีบซ้อนสวมเศียรแสร้งตระแบงบิดโพกพัน (ม. ร่ายยาว ชูชก).
น. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวจากด้านหลังไขว้ขึ้นมาด้านหน้า แล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ, ตะแบงมาน ก็ว่า.
ก. ผูกไขว้, ผูกบิด, เช่น ผ้าประเจียดประจงจีบซ้อนสวมเศียรแสร้งตะแบงบิดโพกพัน (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ข. ตฺรแบง ว่า ผูกไขว้, ผูกบิดอย่างขันชะเนาะ)
น. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวจากด้านหลังไขว้ขึ้นมาด้านหน้า แล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ, ตะเบ็งมาน ก็ว่า.
ก. เอาเส้นหวาย ด้าย หรือเชือกเป็นต้น ไขว้สอดให้ติดกันเป็นสายบ้าง เป็นผืนบ้าง อาจมีลวดลายต่าง ๆ.
น. เครื่องประดับหน้าอกแบบหนึ่ง รูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยโลหะเป็นต้น ฝังเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาลทับหน้าอก.
(-สะหฺมาด) ก. นั่งพับขาทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น ให้ปลายเท้าสอดไขว้อยู่ใต้หัวเข่า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.
น. เรียกแหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้ ว่า แหวนเนื่อง, เรียกลายที่ประดับขอบถ้วยเป็นต้นด้วยอัญมณีเม็ดเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว ว่า ลายเนื่อง, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลายชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี.
น. เชือกหรือริบบิ้นทำเป็นห่วง ๒ ห่วงคล้ายหูกระต่ายแล้วผูกไขว้กันเป็นเงื่อนกระทก.
น. ชื่อลายแบบจีนชนิดหนึ่ง เป็นรูปสี่เหลี่ยมหักมุมไขว้กัน
น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, ผมเปีย หรือ หางเปีย ก็เรียก, เรียกลายที่ถักตอก ๓ ขาไขว้กัน ว่า ลายเปีย หรือ ลายผมเปีย
(ผะหฺวา) ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัวเข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น.
(ผะหฺวา) ว. อาการที่หวาดสะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.
น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น