น. กระดานสำหรับโหรหรือหมอดูใช้ลงเวลาคำนวณฤกษ์ยาม วางลัคนา เพื่อการพยากรณ์เป็นต้น.
ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย.
น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์แต่ละวัน, ปูมโหร ก็เรียก.
น. ตาตารางแผนที่แสดงลำดับการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์แต่ละวัน, ปฏิทินโหราศาสตร์ ก็เรียก.
น. กลองโลหะหน้าเดียวส่วนมากทำด้วยสัมฤทธิ์ ใช้ตีเป็นสัญญาณประโคมในพิธีกรรม.
น. วงดนตรี ๑ ใน ๓ วงหลักของดนตรีไทย คือ ปี่พาทย์ เครื่องสาย และมโหรี ใช้เครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี เป่า (ขลุ่ย) และขับร้อง ระดับเสียงที่ใช้สูงกว่าระดับเสียงวงปี่พาทย์.
น. ชื่อวงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อมมี ๕ แบบ คือ ๑. วงมโหรีเครื่องสี่ ๒. วงมโหรีเครื่องหก ๓. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว ๔. วงมโหรีเครื่องคู่ ๕. วงมโหรีเครื่องใหญ่
(โหน) น. ผู้พยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก
ผู้ให้ฤกษ์และพยากรณ์โชคชะตาราศี.
น. ผู้ชำนาญในวิชาโหราศาสตร์.
น. วิชาว่าด้วยการพยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก.
(โหฺรง, โหฺรงเหฺรง) ว. มีน้อย, บางตา, เช่น โหรงตา คนดูโหรงเหรง, โกร๋งเกร๋ง หรือ โกร๋นเกร๋น ก็ว่า.
(โหระ-) น. พราหมณ์พวกหนึ่งมีหน้าที่สวดสดุดีและอาราธนาเทพต่าง ๆ ให้มาร่วมในพิธีบูชาบวงสรวง.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum basilicum L. ในวงศ์ Labiatae ใบมีกลิ่นฉุน กินได้.
น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Araceae เช่น ชนิด Aglaonema brevispathum (Engl. ) Engl., Pycnospatha arietina Gagnep. ชนิดหลังนี้ อุตพิดผี ก็เรียก.
น. ชื่อเรียกเฟินชนิด Diplazium dilatatum Blume ในวงศ์ Athyriaceae และชนิด Microlepia platyphylla (D. Don) J. Sm. ในวงศ์ Dennstaedtiaceae, โหราเขากระบือ ก็เรียก.
ดู โหรากระบือ, โหราเขาเนื้อ.
น. ชื่อเรียกรากแห้งของพืชหลายชนิดในสกุล Aconitum วงศ์ Ranunculaceae เช่น ชนิด A. fischeri Rchb., A. carmichaeli Debcaux, A. chasmanthum Stapf มีพิษร้ายแรง ใช้ทำยาได้.
น. ชื่อพืชเบียนชนิด Balanophora abbreviata Blume ในวงศ์ Balanophoraceae ใช้ทำยาได้, โหราบอน ก็เรียก.
น. ชื่อเรียกหัวแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Typhonium giganteum Engl. ในวงศ์ Araceae มีพิษมาก ใช้ทำยาได้.
ดู โหราตีนหมา, โหราเท้าสุนัข.
น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ลักษณะคล้ายพิณ มี ๔ สาย ตั้งเสียงต่างกันเป็น ๒ คู่ เดิมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่อง ๔ และมโหรีเครื่อง ๖ ในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้จะเข้บรรเลงแทน.
น. ชื่อเพลงไทย สมัยอยุธยา อยู่ในตำรามโหรีของเก่า.
ทำให้มีเสียงด้วยการเป่าหรือตีเครื่องดนตรีบางชนิด เช่น กระทั่งแตร ว่า เป่าแตร กระทั่งมโหระทึก ว่า ตีมโหระทึก
น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ (สามดวง).
น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ (สามดวง).
(กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
(กฺล่อม) น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทำตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบำเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์.
(กะระหฺนะ) น. ชื่อเพลงไทย ใช้ในการบรรเลงและขับร้องในเพลงมโหรี
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Adenosma indiana (Lour.) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง ต้นสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ขอบใบจักถี่ ใบมีกลิ่นคล้ายกลิ่นใบกะเพรา โหระพา แต่อ่อนกว่า ดอกเล็กสีม่วง ออกเป็นช่อเรียวยาวตามง่ามใบและที่ปลายยอด, กระต่ายจาม ข้าวคำ หรือ พริกกระต่าย ก็เรียก.
(โกฺร๋งเกฺร๋ง) ว. โหรงเหรง, ไม่หนาแน่น.
ทำให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม.
(คำพีระ-, คำพี) น. หนังสือตำราที่สำคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์เป็นต้น
ลักษณนามเรียกหนังสือตำราเหล่านี้ เช่น คัมภีร์หนึ่ง คัมภีร์โหราศาสตร์ ๒ คัมภีร์.
น. ลูกฆ้องที่เรียงไว้เป็นชุด ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยเชือกหนังตีเกลียวผูกโยงกับด้านฆ้องที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๘ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงกลาง ฆ้องวงมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี.
น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”.
น. เงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่โหรผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้อง เช่น เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม (สามดวง).
น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาวไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีดทำให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว.
น. อาณาเขตที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์, อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์เดิน, วิถีโคจรประจำของดวงอาทิตย์ซึ่งดูเสมือนวนไปรอบท้องฟ้าได้ ๓๖๐ องศาใน ๑ ปี วงโคจรนี้แบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วน หรือ ๑๒ ราศี แต่ละส่วนหรือแต่ละราศีมีช่วง ๓๐ องศา ได้แก่ ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุลหรือราศีดุล ราศีพฤศจิกหรือราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และราศีมีน, วงโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่สมมุติขึ้นทางโหราศาสตร์ ประกอบด้วย ๑๒ ราศี.
(จันทฺระ-) ในกลอนบางทีอ่านเป็น [ จันทอน, จัน ] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒
น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่โหรผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้อง ว่า เงินจันทรภิม เช่น เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม (สามดวง).
ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์.
(ฉันทะวิลาด) น. ชื่อเพลงมโหรีทำนองหนึ่ง.