น. นายบ้าน, นายตำบล, ผู้ใหญ่บ้าน, กำนัน.
(-ชก) น. นายบ้าน, ผู้ใหญ่บ้าน, เช่น คามโภชก ว่า กำนัน, นายอำเภอ.
(โพชะนะ-, โพดชะนะ) น. อาหาร
(โพชะนะห้า) น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนมครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และสัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็นอาหาร).
(โพชะนา-, โพดชะนา-) น. ผู้ที่มีความรู้เรื่องโภชนาการแล้วสามารถให้ความรู้และคำแนะนำในเรื่องอาหารแก่บุคคลอื่นต่อไปได้.
(โพชะนา-, โพดชะนา-) น. วิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต.
(โพชะนา-, โพดชะนา-) น. สารองค์ประกอบสำคัญของอาหารที่ทำให้อาหารมีคุณค่าในการบำรุงเลี้ยงร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน และนํ้า.
น. เครื่องว่าง, อาหารว่าง.
น. การกินอาหารในเวลาวิกาล คือ ผิดเวลา ซึ่งว่าตามพระวินัยกำหนดไว้ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น.
(-โพด) น. การกินร่วม, การเลี้ยงอาหาร
งานเลี้ยง, งานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความยินดีร่าเริง เช่น งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี งานสมโภชพระสุพรรณบัฏ (ใช้เฉพาะแต่ในงานพระราชพิธี).
(กัน-) น. ฉัตร ๕ ชั้นและ ๗ ชั้น สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นเขียนทอง เป็นเครื่องสูงอันเป็นสิริมงคลยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ และใช้เข้าพิธีคชกรรมนำช้างสำคัญขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งในการสมโภชของหลวง, บางทีเรียก กระอั้ว ว่า นางอั้ว เช่น นางอั้วเพ่งผัวเอน ควายเสี่ยว (สาส์นสมเด็จ).
น. สายนํ้านม เช่น ให้เสวยโภชนและกษีรธารา (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
น. ขนมประเภทที่ทำด้วยแป้ง น้ำตาล เกลือ เป็นต้น อบหรือทอดกรอบ มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย.
(ขัด, ขัดชะกะ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร (ม. ร่ายยาว ชูชก).
(ขาทะ-) น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควรบริโภค.
น. การเล่นชนิดหนึ่ง เช่น มีการมหรสพสมโภชต่าง ๆ และมีโจนร่มด้วย (พงศ. เลขา).
น. การขับกล่อมพระราชโอรสพระราชธิดาในพระราชพิธีสมโภชขึ้นพระอู่.
ก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับคาวหวานไปถวายพระพุทธรูปโดยยกมือประนม กล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺยฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ.
น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชสมบัติยืนนานมาเป็น ๒ เท่าของรัชกาลที่ ๔, เรียกเหรียญที่จัดทำขึ้นเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ ว่า เหรียญทวีธาภิเษก.
(นานักคะรด) น. รสเลิศต่าง ๆ เช่น นานัคครสโภชนาหาร (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
น. พิธีป้อนนํ้าโดยใช้ช้อนทองคำตักน้ำบริสุทธิ์ป้อนพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเป็นครั้งแรกในพระราชพิธีสมโภช ๓ วัน.
ว. เป็นการเอิกเกริก, เป็นงานใหญ่, เช่น จัดงานสมโภชเป็นการใหญ่, เกินปรกติ เช่น เลี้ยงดูเป็นการใหญ่ จัดบ้านเป็นการใหญ่.
น. พิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดไว้ตามราชประเพณี เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี.
น. การมหรสพอย่างหนึ่งของหลวง ที่แสดงในงานพระราชพิธีสมโภช เช่นพระราชพิธีโสกันต์, โบราณเรียก หม่งครุ่ม.
น. การมหรสพชนิดหนึ่งของหลวง ที่แสดงในงานพระราชพิธีสมโภช เช่น พระราชพิธีโสกันต์.
น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติได้นานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่เคยมีมา.
น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติครบ ๒๕ ปี.
น. วันประกอบพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม.
น. นางพระกำนัลที่มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ มี ๑๒ ตำแหน่ง ได้แก่ กำนัลรับพระหัตถ์ กำนัลพระขันหมาก กำนัลน้ำเสวย กำนัลพัชนี กำนัลพระสำอาง กำนัลพระมาลา กำนัลพระบังคน กำนัลพระไสยาสน์ กำนัลทิพยรส กำนัลพระโภชน์ กำนัลพระโอษฐ์ และกำนัลทาพระองค์.