(จะตุรงคะ-) น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า.
(จะตุรง-) น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า.
(จัดตุรง-) น. จตุรงคินีเสนา, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ.
น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
(สะหฺมุดทฺระ-) น. เรียกลูกเสือพวกหนึ่งตามจังหวัดชายทะเล ว่า ลูกเสือสมุทรเสนา.
(เส-นา) น. ข้าราชการฝ่ายทหาร.
น. ตำแหน่งนายทหารผู้ทำหน้าที่หาและให้ข่าวสารประมาณการ ให้ข้อเสนอแนะ ทำแผนและคำสั่ง กำกับดูแลทางฝ่ายอำนวยการ และติดต่อประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชากับหน่วยทหาร แต่ไม่มีหน้าที่สั่งการบังคับบัญชาหน่วยทหาร.
น. ฉัตรผ้าขาวองค์ ๑ ใน ๓ องค์ ซึ่งเป็นชุดที่เรียกว่า พระกรรภิรมย์ ประกอบด้วยพระเสนาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์, โบราณใช้ว่า พระเสมาธิปัติ.
เจ้ากระทรวงซึ่งเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการในปัจจุบัน.
(เส-นา) น. วัดนา, ตรวจสอบที่นา, แสนา ก็ว่า.
(เส-นากุด) น. เสื้อทหารสมัยโบราณ พิมพ์เป็นลายสี รูปสิงห์ขบที่หน้าอกและต้นแขน สำหรับแต่งเข้ากระบวนแห่ของหลวง.
(เส-นาง, -คะนิกอน) น. ส่วนแห่งกองทัพโบราณมี ๔ ส่วน คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า.
(เส-นาสะ-) น. ที่นอนและที่นั่ง, ที่อยู่. (ใช้เฉพาะพระภิกษุ สามเณร).
(สะเหฺนาะ) ว. น่าฟัง, เพราะ, เช่น เพลงนี้ไพเราะเสนาะหู
วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น แถลงปางบำราศห้อง โหยครวญ เสนาะเสน่ห์กำสรวล สั่งแก้ว (นิ. นรินทร์).
(สะเหฺนาะ) น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น บ้างสวมใส่เสนาะเกราะพราย (ขุนช้างขุนแผน).
(-สะเหฺนาะ) น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
น. ข้อกำหนดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ออกกฎกระทรวง, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี ถ้าเป็นข้อกำหนดที่นายกรัฐมนตรีออก เรียกว่า กฎสำนักนายกรัฐมนตรี.
น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง ทำนุบำรุงอาชีพเกษตรกรรมและเก็บค่าภาษีอากรเกี่ยวกับการนั้น รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับที่นาและโคกระบือเป็นต้น
เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยาเกษตราธิบดีฯ หรือเจ้าพระยาพลเทพฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือตราพระพิรุณทรงนาคและตราอื่น ๆ รวม ๙ ดวง.
น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลัง การต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์หลวง และคดีความต่างประเทศ, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก
เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยาโกษาธิบดีฯ หรือเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือ ตราบัวแก้ว.
(กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในราชธานีและปริมณฑล ปราบปรามโจรผู้ร้าย รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความอุกฉกรรจ์และดูแลคุก (เรือนจำ) มหันตโทษ, เวียง หรือ กรมพระนครบาล ก็เรียก
เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยายมราชฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือ ตราพระยมขี่สิงห์.
(กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รักษาพระราชมนเทียร พระราชวังชั้นนอก พระราชวังชั้นใน บริหารกิจการในพระราชสำนัก และบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสมใน ได้แก่ ศาลแพ่งวัง ศาลอาชญาวัง และศาลนครบาลวัง รวมทั้งบังคับบัญชาศาลมรดก
เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์หรือเจ้าพระยาธรรมาธิบดีฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือ ตราเทพยดาขี่โคนนทิกร.
(กะลาโหมฺ) น. ชื่อกรมฝ่ายทหารในสมัยโบราณ คือ กรมพระกลาโหม, ชื่อมหาเสนาบดีฝ่ายทหารในสมัยโบราณ ดำรงฐานะเป็นสมุหพระกลาโหม
น. ข้าราชการผู้น้อยชั้นประทวนซึ่งเสนาบดีแต่งตั้งให้เป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง มีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐.
(คฺรัน) ว. ใช้ประกอบคำอื่นมีความหมายไปในทำนองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
น. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.
(-ปัดไจ) น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา).
น. การจัดระเบียบราชการฝ่ายพลเรือนส่วนกลาง ประกอบด้วยกรมใหญ่ ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนามีจตุสดมภ์เสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาแต่ละกรม.
น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงกว่าเจ้ากรมที่มิใช่กรมเสนาบดี ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา กำกับดูแลกรมนั้น ๆ, ตำแหน่งในสังกัดของเจ้านายที่ทรงกรม ทำหน้าที่กำกับดูแลกรมเจ้านาย, ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๔ มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวหมื่นมหาดเล็ก
ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำที่ตำนาน อนิรุทธกินรี (บุณโณวาท).
น. ตัวแก เช่น แล้วตรัสกับเสนานินทาเมีย ตะแก่เสียจริตผิดแล้วเหวย (สังข์ทอง)
มาก เช่น แสนเสนางค์เนืองบร (ตะเลงพ่าย).
เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธ-ศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึง เงินตรา ก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร)
น. กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก หรือปัตตานีกะ (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า).
(พนละ-) น. ชื่อตำแหน่งจตุสดมภ์ตำแหน่งหนึ่ง คือ เสนาบดีฝ่ายเกษตร.
ว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ.