น. เครื่องตกแต่งกายมี สร้อย แหวน นาฬิกา เป็นต้น.
(กัน-) น. เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือรัดเกล้า เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว (อิเหนา).
น. เครื่องประดับหู เช่น กรรเจียกจอนจำหลักลายซ้ายขวา (สังข์ทอง), เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี.
(กฺรอง) น. กำไล, โดยมากใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ เช่น กรองเชิง = กำไลเท้า กรองได = กำไลมือ กรองศอ = เครื่องประดับคอ, นวมคอ, เช่น กรองศอซ้อนสลับทับอังศา (อิเหนา). [ ข. กง (กอง) ว่า กำไล, วงกลม ].
น. เครื่องประดับขอบหน้าผากเป็นรูปกระจังเป็นต้น.
น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม ใช้เป็นลวดลายสำหรับเครื่องประดับที่อยู่บนชั้นหรือตามขอบของสิ่งบางอย่าง เช่น ชั้นฐานธรรมาสน์ กระจังมีหลายแบบ เช่น กระจังตาอ้อย กระจังเจิม กระจังปฏิญาณ, เครื่องประดับที่มีลวดลายชนิดนี้ เรียกว่า ตัวกระจัง ใช้ประดับบนลับแลและอื่น ๆ.
น. กรอบหน้าเป็นเครื่องประดับ.
น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ชั้น Anthozoa ตัวมีขนาดเล็ก รูปร่างทรงกระบอก อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็งเชื่อมต่อเนื่องกันไปลักษณะคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันตามแต่ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และแข็ง นิยมนำมาทำเป็นลูกปัด เครื่องประดับ พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้ม ม่วง พวกที่อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดำ, กัลปังหา ก็เรียก.
(กันถะกะ) น. เครื่องประดับคอ เช่น คางเพลาคือกลวิมลกัณ- ฐกก่องคือแสงสรวล (สมุทรโฆษ).
(กันถี) น. เครื่องประดับคอ เช่น แก้วกัณฐีถนิมมาศนั้น (ม. คำหลวง มหาราช).
ผงแวววาวคล้ายกระจกสำหรับโรยแต่งเครื่องประดับเป็นต้น
น. ชื่อเครื่องประดับลักษณะเป็นวง สำหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทำด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกำไลมือ ว่า ทองกร หรือ ทองข้อพระกร กำไลเท้าว่า ทองข้อพระบาท หรือ ทองพระบาท.
น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทำด้วยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก
น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัย สำหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว
เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา
น. สิ่งของต่าง ๆ มีเครื่องใช้เครื่องประดับเป็นต้น.
เครื่องประดับสำหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม
น. เครื่องประดับสำหรับกลัดสไบและเสื้อเป็นต้น, เข็มซ่อนปลาย.
น. วัตถุมีค่า มักมีลักษณะกลม ๆ เกิดจากหอยบางชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปมีสีขาว ที่เป็นสีขาวอมชมพูหรือสีดำก็มี ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ.
น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน.
น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำ.
น. รัตนชาติที่เจียระไนและนำมาทำเป็นเครื่องประดับแล้ว.
น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, ฝักเพกา ลำภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก.
สิ่งที่ทำให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สำหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน
น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี.
น. เครื่องประดับคอชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายทับทรวงและจี้ ใหญ่กว่าจี้ แต่ย่อมกว่าตาบและทับทรวง.
น. เครื่องประดับมีรูปเหลี่ยม กลม หรือรี มักทำด้วยทองคำประดับเพชรพลอยเป็นต้น มีห่วงที่กรอบสำหรับห้อยคอ.
น. เครื่องราชศิราภรณ์อย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายพระชฎากลีบ ปลายทำเป็นอย่างกระหนกหางไหล ๕ เส้นสะบัดไปทางด้านหลัง มีพระยี่ก่า ใบสน หรือขนนกการเวก เป็นเครื่องประดับประกอบพระอิสริยยศ เรียกว่า พระชฎาห้ายอด.
(ชะเริด) น. เทริด, เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coix lachrymal-jobi L. ในวงศ์ Gramineae ลำต้นและใบคล้ายต้นข้าวโพด แต่ใบสั้นกว่า ผลกลมหรือยาวรี สีขาว เหลือง หรือนํ้าเงิน พันธุ์ที่เปลือกหุ้มอ่อนใช้ทำเป็นอาหารและเหล้า พันธุ์ที่เปลือกหุ้มแข็ง เรียก เดือยหิน ใช้ทำเครื่องประดับ.
(ตฺรา) น. เครื่องหมายทำเป็นรูปต่าง ๆ มีลวดลายประดับ สำหรับประทับเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคลหรือองค์กรเป็นต้น เช่น ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว หรือสำหรับเป็นเครื่องประดับในจำพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายการค้า เช่น ผ้าตรานกอินทรี.
น. เครื่องประดับคอหรืออก มีลักษณะเป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ถ้าเป็นตาบสำหรับม้าประดับที่หน้าผาก.
น. เครื่องประดับหู, ต่างหู.
น. ผู้หญิงที่แต่งเครื่องประดับจำพวกทองคำมากเกินพอดี.
(ถะหฺนิม) น. เครื่องประดับ เช่น ถนิมพิมพาภรณ์, ธารถนิมทองถ่องเถือก (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), ใช้ว่า สนิม ก็มี เช่น สร้อยสนิมพิมพาภรณ์.
น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทำโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้าประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางาม ว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน.
ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิดประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง
น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดต้นแขน, พาหุรัด ก็ว่า.
น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดข้อมือ.
(-รูบปะพัน) น. ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับและของใช้ต่าง ๆ.
น. เครื่องประดับหน้าอกแบบหนึ่ง รูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยโลหะเป็นต้น ฝังเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาลทับหน้าอก.
(เซิด) น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า.
(นบพะสูน) น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกา ลำภุขัน หรือ สลัดได ก็เรียก.
(นบพะสูน) น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกา ลำภุขัน หรือ สลัดได ก็เรียก.
น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Trochus niloticus Linn. ในวงศ์ Trochidae เปลือกเป็นรูปกรวยคว่ำ ฐานกว้าง ปลายยอดแหลม ผิวขรุขระ มีลวดลายสีม่วงบนพื้นสีอ่อน คล้ายหอยนมสาวแต่มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ.
น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Trochidae เปลือกเป็นรูปกรวยคว่ำ ฐานกว้าง ปลายยอดแหลม ผิวขรุขระ สีและลายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด มีขนาดเล็กกว่าหอยนมนาง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ.