ก. ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม, ตีตนจากไป, ปลีกตัวออกไป, เอาใจออกหาก ก็ว่า.
ก. อาการที่ทำห่างเหินไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม ในคำว่า ตีตัวออกหาก เอาใจออกหาก.
ก. ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม, ตีตนจากไป, ปลีกตัวออกไป, ตีตัวออกหาก ก็ว่า.
ว. ไม่อ่อนน้อม, เอาใจออกหากไม่ยอมอ่อนน้อมอย่างเคย.
น. ผีชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก ออกหากินในเวลากลางคืน เห็นเป็นแสงเรือง ๆ ในที่มืด, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย
ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อทำลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.
น. ชื่องูสีเขียวหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ เช่น เขียวพระอินทร์ ( Chrysopelea ornata Shaw) ในวงศ์ Colubridae ลำตัวเรียวยาว อาศัยตามต้นไม้และชายคาบ้านเรือน ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อนมาก, เขียวหางไหม้ท้องเหลือง ( Trimeresurus albolabris Gray) ในวงศ์ Viperidae ลำตัวอ้วนสั้น หางแดง ออกหากินเวลากลางคืน มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย.
น. ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลำตัวอ้วนสั้น หัวโต คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาลซึ่งมีทั้งสีน้ำตาลอ่อนและน้ำตาลไหม้ ทุกชนิดออกหากินเวลากลางคืน มักมีนิสัยดุ มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้ท้องเขียว ( Trimeresurus popeorum Smith) ปาล์ม ( T. wiroti Trutnau).
น. ชื่องูลายสาบขนาดเล็กชนิด Rhabdophis subminiatus Schlegel ในวงศ์ Colubridae ตัวยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สีเขียวหรือเทา คอสีแดง ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อน, หมู่ ก็เรียก.
น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Ptyas korros (Schlegel) ในวงศ์ Colubridae ตาโต ลำตัวสีน้ำตาลปลอด มีลายเล็กน้อยเห็นไม่ชัด นิสัยว่องไวปราดเปรียว ออกหากินตามพื้นดินในเวลากลางวัน ไม่มีพิษ, สิงตาโต หรือ ตาลาน ก็เรียก.
ก. ทำตัวออกหาก, แยกตัวออกไป, ทอดทิ้ง, หนีไป, เลิกคบกัน.
ก. ตีตัวออกหาก, ไม่คบหาสมาคมด้วยเหมือนเดิม.
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gekkonidae หัวโต ลำตัวยาว มีลายเป็นจุดสีต่าง ๆ กระจายอยู่ด้านบนของตัวเปลี่ยนสีได้ หางค่อนข้างยาว ตีนมีลักษณะพิเศษสามารถเกาะตามพื้นเรียบได้ ไข่กลมติดตามผนัง หลายชนิดร้องเสียงดัง ออกหากินในเวลากลางคืน ตุ๊กแกที่พบบ่อยตามบ้านเรือนและในป่า ได้แก่ ตุ๊กแกใหญ่ [ Gekko gecko (Linn.) ] บางชนิดร่อนตัวได้ ได้แก่ ตุ๊กแกบินหางเฟิน ( Ptychozoon lionatum Annandale), พายัพเรียก ต๊กโต, อีสานเรียก กับแก้.
ก. เอาใจออกหาก, ไม่ซื่อตรง.
น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Boiga multomaculata (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๘ เมตร หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียวสีนํ้าตาลอ่อน มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มเป็นจุดใหญ่ ๆ ตลอดตัวคล้ายงูแมวเซา ออกหากินในเวลากลางคืน มักพบอยู่บนต้นไม้ กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีพิษอ่อน.
น. ชื่องูพิษขนาดกลางชนิด Daboia russellii (Shaw) ในวงศ์ Viperidae หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ตัวอ้วนสั้นสีนํ้าตาลอมเทา มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มขอบดำ เขี้ยวพิษยาว เมื่อถูกรบกวนมักทำเสียงขู่ฟู่ยาวคล้ายเสียงยางรถรั่ว อาศัยอยู่บนบก ออกหากินเวลากลางคืน กินกบ เขียด หนู นก และงูบางชนิด มีพิษรุนแรง.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang (Boddaert) ในวงศ์ Lorisidae ขนนุ่มหนาสีเทามีลายสีน้ำตาล ตากลมโต ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง เล็บแบน แต่นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวโค้งแหลมเห็นได้ชัด นิ้วชี้ของขาหน้าสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ ดูคล้ายติ่ง หางสั้นมาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าและนอนในเวลากลางวัน แต่ว่องไวเมื่อออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก.
น. ชื่องูพิษขนาดกลางชนิด Bungarus fasciatus (Linn.) ในวงศ์ Elapidae ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร มีลายเป็นปล้องสีดำสลับเหลือง หลังเป็นสันแหลมทำให้ลำตัวมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายหางทู่ พบตามที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทย ออกหากินในเวลากลางคืน กินกบ เขียด และงูขนาดเล็ก มีพิษรุนแรงมาก, ก้านปล้อง ตามธาร หรือ ทับธาร ก็เรียก.
น. ชื่องูขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ส่วนมากลำตัวสีนํ้าตาล เกล็ดสันหลังมักวาวคล้ายสีทองเหลือง ว่องไวปราดเปรียว ออกหากินเวลากลางวันตามป่าหญ้าและบนต้นไม้ กินกบ เขียด กิ้งก่า พบทุกภาคของประเทศไทย ไม่มีพิษ เช่น สายม่านลิ้นแดง [ Dendrelaphis pictus (Gmelin) ] สายม่านหลังทอง [ D. formosus (Boie) ].
น. เสือแก่ที่หมดลายดูคล้ายเสือขาวออกหากินตามปรกติไม่ได้, โดยปริยายหมายถึงคนที่เคยมีความเก่งกล้าสามารถมาก่อน ต่อมาเมื่อร่างกายทุพพลภาพหรืออายุมากขึ้น ความเก่งกล้าสามารถก็เสื่อมลง.
น. ชื่องูขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Xenopeltis unicolor Boie ในวงศ์ Xenopeltidae ยาว ๘๐-๑๒๕ เซนติเมตร หัวแบน ตาเล็ก ลำตัวสีนํ้าตาลม่วงเป็นมันวาวเมื่อถูกแสง ท้องขาว พบอาศัยอยู่ใต้ผิวดินหรือใต้กองหญ้า กองฟางที่มีความชื้น ออกหากินเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู กิ้งก่า งู ไม่มีพิษ, เหลือมดิน ก็เรียก.
น. ชื่อหมาชนิด Canis aureus Linn. ในวงศ์ Canidae ขนตามลำตัวสีเทาอมนํ้าตาล มีขนลักษณะคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้งแหลมตรง หางเป็นพวง เขี้ยวและฟันคมมาก กลางวันมักนอนอยู่ในโพรงดิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์.
น. ชื่อหมาชนิด Cuon alpinus (Pallas) ในวงศ์ Canidae ขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเทา หางสีคลํ้ายาวเป็นพวง อาศัยอยู่ตามป่าทึบ ออกหากินเป็นฝูงเวลาเช้ามืดและพลบคํ่า ล่าสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร เช่น เก้ง กวาง กระจง รวมทั้ง สัตว์เล็กอื่น ๆ.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Melogale personata Geoffroy ในวงศ์ Mustelidae ขนาดไล่เลี่ยกับพังพอนแต่หางสั้นกว่า ขนลำตัวหยาบแข็ง สีน้ำตาลอมเทาถึงดำ หน้าสั้นค่อนข้างแหลม หัวสีดำมีแถบขาวระหว่างตา กลางหัวมีแถบขาวพาดไปจนถึงกลางหลัง ส่วนคิ้วใต้ตา คอ และหูด้านในสีขาว ขาสั้น ฝ่าตีนกว้าง เล็บยาว โค้งปลายแหลมเหมาะสำหรับขุดดินและป่นต้นไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็ก.
น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus (Linn.) ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมีเส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ.
ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ
(เหฺลือม) น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python reticulates (Schneider) ในวงศ์ Pythonidae ตัวโตเรียวยาว ลายสีนํ้าตาลเหลือง ยาวได้ถึง ๑๐ เมตร ที่กลางหัวมีเส้นสีดำซึ่งมักเรียกว่า ศรดำ ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ลำตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทำให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด [ Paradoxurus hermaphroditus (Pallas) ] อีเห็นหน้าขาว [ Paguma larvata (Hamitton-Smith) ] อีเห็นหูขาว [ Arctogalidia trivirgata (Gray) ], ปักษ์ใต้เรียก มดสัง มุดสัง หรือ มูสัง.
น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Microhylidae ขนาดแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดอยู่ระหว่าง ๒-๘ เซนติเมตร รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ ส่วนใหญ่เป็นสีเทาหรือน้ำตาลเข้ม ผิวหนังเรียบ บริเวณฝ่าตีนมีสันแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ใต้ผิวดินหรือใต้ก้อนหินในเวลากลางวันและในฤดูแล้ง ออกหากินตามพื้นดินเมื่ออากาศชื้นโดยเฉพาะช่วงหลังฝนตก กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น อึ่งอ่างหรืออึ่งอ่างบ้าน ( Kaloula pulchra Gray) อึ่งแว่น อึ่งแดง หรืออึ่งลาย [ Calluella guttulata (Blyth) ].