ก. ทำโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทำโดยตั้งใจ, เช่น ก้มหน้าก้มตาทำไปจนกว่าจะสำเร็จ.
(กฺรด) น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทำให้สิ่งอื่นแปรไป
น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
(กฺลบ) ก. เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เช่น เอาขี้เถ้าไปกลบขี้แมว, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ทดแทน เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย (กฎ. ราชบุรี).
(กฺลืน) ก. อาการที่ทำให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลำคอลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ ในความหมายเช่นทำให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สำแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
น. กองทหารหรือตำรวจเป็นต้นที่จัดขึ้นเพื่อให้เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสำคัญ ศพทหารตำรวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล.
น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทำให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม, ถ้าเป็นสีนํ้าเงิน เรียกว่า พลอยสีนํ้าเงิน, ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่องหรือ เขียวมรกต.
น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
(กันละปะนา) น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา
น. เรียกงาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ว่า งากำจาย.
(-เปฺล่า) น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน ว่า เงินกินเปล่า.
(เกฺลือก) ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา.
ละเมาะ โดยปริยายใช้เรียกพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้เป็นต้นขึ้นหนาแน่น มีทุ่งหรือที่เตียนล้อมรอบ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
ก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา, เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้, โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อน บินเกาะหมู่ วิ่งเกาะกลุ่ม
น. วัตถุแข็งที่อยู่ตรงกลางของสิ่งอื่นสำหรับยึดให้อยู่, วัตถุแข็งที่มีสิ่งอื่นหุ้ม.
(แกฺว่ง) ก. อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นทีทางนี้ทีโดยที่โคนหรือต้นของสิ่งนั้นติดอยู่กับสิ่งอื่น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยู่กับที่, ไม่อยู่ในแนว, เช่น จิตแกว่ง.
ก. อาการที่ใช้มือหรือสิ่งอื่นคุ้ยหรือกวาดสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้าว ถ่าน มาทีละมาก ๆ, ขนหรือรวบเอาไปเป็นจำนวนมาก
ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี.
น. ดินแห้งหรือสิ่งอื่นที่ละเอียดเป็นผง เช่น ของพวกนี้เก็บไว้นาน ขี้ฝุ่นจับเขรอะทีเดียว.
ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ
คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่
น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลำนํ้า เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดินหรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพ
ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นกวนเพื่อทำสิ่งที่นอนก้นหรือที่เกาะกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนให้กระจายขยายตัว หรือกวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน.
(คฺลึง) ก. ใช้ฝ่ามือกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเบา ๆ แล้วเคลื่อนมือหมุนไปมา เพื่อให้กลมหรือให้เรียบเป็นต้น, อาการที่ทำเช่นนั้นด้วยสิ่งอื่น เช่น คลึงด้วยลูกประคบ.
(คฺลื่น) น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลำคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการเคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไปเป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
(คฺวาน) ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นค้นหาสิ่งของในนํ้าหรือในที่มืดเป็นต้น.
น. เงินหรือสิ่งอื่นที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระ หรือชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายจากการผิดสัญญา การละเมิดสิทธิหรือการล่วงล้ำสิทธิของบุคคล หรือการอื่น เช่นในกรณีลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงาน.
ไม้ที่ช่างลอกเป็นลวดสำหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์
ก. เอาปลายสิ่งที่เป็นง่ามเช่นคีมหรือปลายไม้ ๒ อันจับสิ่งอื่นให้อยู่.
ก. ใช้มือ เท้า หรือสิ่งอื่นตะกุยขึ้นมา.
สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้าเหมือนนาย ข
น. งาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ.
น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน.
ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก
แผ่นโลหะที่ติดฝาหีบสำหรับปิดรูกุญแจ, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น จะปิ้งหูกลอง จะปิ้งห่วงประตู. (ม.)
ว. ลักษณะของต้นไม้เตี้ย ๆ ที่มีกิ่งทอดแผ่ออกไปโดยรอบ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เรือนทรงแจ้.
น. ใบไม้หรือดอกไม้ที่แตกออกเป็นพวง, เรียกดอกของต้นไม้บางชนิดเช่นมะม่วงและสะเดาที่ออกดอกเล็ก ๆ เป็นกลุ่มหรือเป็นพวง ว่า ช่อมะม่วง ช่อสะเดา, ใบไม้หรือดอกไม้ที่ผูกเป็นกลุ่มหรือเป็นพวง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช่อดอกไม้ไฟ โคมช่อองุ่น.
ก. ไชคดเคี้ยวไปในดินหรือภายในสิ่งอื่นด้วยอาการเช่นนั้น เช่น รากไม้ชอนไปในดิน.
ก. ไชไปมาในสิ่งอื่นอย่างรากต้นไม้หรือหนอนเป็นต้น เช่น หนอนชอนไชผลไม้ ไส้เดือนชอนไชดิน.
การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น.
ว. ไม่ซับซ้อน, ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน.
น. สิ่งที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น เชื้อไฟ เชื้อแป้งข้าวหมาก
ก. ทำของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยวให้ละลาย แล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, ต้มน้ำตาลกับน้ำให้ใส เพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น เชื่อมน้ำตาล.
ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลต้มให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือเคี่ยวกับสิ่งอื่น ว่า นํ้าเชื่อม
ว. เรียกสิ่งที่มีรูปยาว ๆ ที่ตอนปลายขาดหายไป เช่น แขนด้วน ขาด้วน เจดีย์ยอดด้วน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลองด้วน แม่นํ้าด้วน.
ไม้สำหรับอุดก้นตะบันหมากหรือสิ่งอื่นที่มีรูปร่างอย่างจุกไม้ก๊อก เช่น ดากตะบันหมาก ดากพลุ, ไม้ลิ่มที่ตอกขั้วลูกขนุนที่ตัดมาแล้ว เชื่อว่าทำให้สุกเร็วขึ้น.
แกนที่ยื่นออกมาสำหรับเอาของอื่นสวม เช่น เดือยโม่ เดือยหัวเสา, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่ยื่นออกมามีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
ว. มีลักษณะเป็นจุดดำ ๆ เล็กบ้างโตบ้างที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ.
น. แบบดั้งเดิม, แบบที่มีมาแต่แรก, แบบที่ทำขึ้นไว้แต่แรก, สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นแบบฉบับ ใช้เป็นต้นเค้าสำหรับสร้างสิ่งอื่นให้มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน.
ก. ทำให้ของเหลวเช่นน้ำหรือสิ่งอื่นที่อยู่ในของเหลวร้อน เดือด หรือสุก เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว