คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [ กะถินนะกาน ] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่าเทศกาลกฐิน [ เทดสะกานกะถิน ] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [ บอริวานกะถิน ] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [ อะนุโมทะนากะถิน ] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน , ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
(กัน-) น. เครื่องประกอบยศของเจ้านาย ขุนนาง และราชพาหนะ มีรูปร่างคล้ายสัปทนขนาดเล็ก บุด้วยผ้าต่างสีต่างชนิดกันตามชั้นยศ ระบายรอบอย่างน้อย ๒ ชั้น ยาวปรกลงมามากกว่าสัปทน สำรับหนึ่งมี ๔ คัน ใช้ตั้งแต่งประจำมุมทั้ง ๔ ของผู้ครองยศ หรือถือเข้ากระบวนแห่ เช่น แห่พระยาแรกนา แห่ช้างสำคัญ, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
(คะรึหัด) น. ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส, ภาษาปากใช้ว่า กระหัด.
น. สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมืองข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
เรียกเจ้าผู้ครองแคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง.
น. เจ้าผู้ครองประเทศราชฝ่ายเหนือ.
ก. ประพฤติปฏิบัติตนเยี่ยงนักบวชหรือผู้ครองเรือน เช่น ถือเพศเป็นฤๅษี ลาจากสมณเพศมาถือเพศเป็นคฤหัสถ์.
(บอดี) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา
(ปะระนิมมิดตะวะสะวัดดี, ปอระ-) น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง. (ดู ฉกามาพจร ประกอบ).
(ปฺระเทดสะราด) น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในเวลาเกิดศึกสงครามต้องเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
ส. คำเรียกพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ส. คำเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
น. ผู้อยู่, ผู้ครอง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น คามวาสี = ผู้อยู่บ้าน อรัญวาสี = ผู้อยู่ป่า.
น. ผู้ครอง, พระเจ้าแผ่นดิน.
น. เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้นฝ่ายเหนือ.
(อะสันยะแดหฺวา) น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี.