หมายถึง ตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้ว สื่อความหมายบางอย่าง และสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อ (media) ชนิดต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้น จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกออกว่าไม่ใช่คำสั่งในภาษามีความหมายเหมือน alphabetic string หรือ string
คอมพิวเซิร์ฟเป็นบริการที่นำคอมพิวเตอร์ของเราไปต่อสายเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ เพื่อจะได้ขอใช้ข้อมูลบางอย่างได้ โดยปกติ การทำเช่นนี้จะต้องจ่ายค่าบริการค่อนข้างแพง นอกจากนั้น บริการ CompuServe ยังมีโปรแกรมเก่า ๆ ที่ยอมให้มีการคัดลอกมาใช้ได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีก มีเกมให้เรียกมาเล่นได้ พร้อมทั้งให้บริการอย่างอื่นอีกมาก เช่น จะจองตั๋วเครื่องบินเองก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ใช้จะขอดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งกีฬา ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ ฯ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์หมายถึง คำสั่งคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ฯ คำ "โปรแกรม" นี้ อาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชัน (application) โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ กับอีกประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) นอกจากนั้น ยังมีโปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิตเลย และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน สรุปว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่คนเขียนคำสั่งต้องเข้าใจขั้นตอน วิธี (algorithm) และภาษาที่จะใช้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนสั่งเครื่องให้ทำงานได้
คัดลอกทั้งแผ่นเป็นคำสั่งในระบบวินโดว์ ที่สั่งให้คัดลอกแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในแผ่นต้นแบบ ไปลงในอีกแผ่นหนึ่งซึ่งต้องมีขนาดเท่าแผ่นต้นแบบทุกประการ การคัดลอกด้วยคำสั่งนี้ จะเลือกเฉพาะบางแฟ้มข้อมูลไม่ได้ นอกจากนั้น เมื่อคัดลอกมาแล้ว จะลบแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมทิ้งไปให้ด้วย (เฉพาะแผ่นที่เก็บข้อมูลที่คัดลอกมาเท่านั้น)
(ดีดีอี) ย่อมาจาก dynamic data exchange คำนี้ใช้ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์และโอเอส/ทู หมายถึงการทำให้สองโปรแกรมบนวินโดว์ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เป็นต้นว่า การนำตัวเลขที่อยู่ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) มาใช้ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นใหม่ นอกจากนั้น หากมีการแก้ไขตัวเลขในตารางจัดการ ตัวเลขในโปรแกรมประมวลผลคำ ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยโดยอัตโนมัติ
แผ่นบันทึกหมายถึง จานบันทึกขนาดเล็ก เฉพาะที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะอ่อน จึงเรียกว่า แผ่นบันทึก บรรจุไว้ในซองกระดาษ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล เช่นเดียวกับจานบันทึกแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว มีความจุประมาณ 360 เคไบต์ (K byte) หรือ 360, 000 ตัวอักษร และ 1.2 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร บางทีเรียกกันว่า floppy disk นอกจากนั้น มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว บรรจุอยู่ในซองที่แข็งกว่า มีความจุประมาณ 720 เคไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสี่แสนตัวอักษร ในปัจจุบัน อาจใช้เก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ทำให้บรรจุข้อมูลได้มาก (เดิมบรรจุข้อมูลได้หน้าเดียว) หรือบางทีอาจทำให้ข้อมูลเบียดอัดมากขึ้น เรียกว่า double density (DD) ชนิดธรรมดาเรียกว่า single density (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว) และหากเก็บข้อมูลได้หน้าเดียว เรียกว่า single sided (SS) ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว หากเก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า เรียกว่า double sided (DS) แผ่นบันทึกชนิดที่มีความจุพิเศษ คือจุได้ถึง 1.2 ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 5.25 นิ้ว และจุได้ 1.44ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว เรียกว่า high density (HD) ดู disk ประกอบ
(ดิสเพล') vt. แสดง, เปิดเผย, โอ้อวด, แผ่ออก, เรียงพิมพ์ให้เด่นชัด n. การแสดง, การโอ้อวด, สิ่งที่แสดงให้เห็นชัด, นิทรรศการ, Syn.exhibit แสดงผลหน่วยแสดงผลหมายถึงการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยแสดงผลก็คือจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง นอกจากนั้น การแสดงผลอาจแสดงได้ทางเครื่องพิมพ์ printer, พล็อตเตอร์ plotter ฯ
(โด'ทิจ) n. ความชรา, ภาวะสติปัญญาอ่อนในวัยชรา, ภาวะสติเลอะเลือน, ความหลงรักอย่างโง่ ๆ , การโอ๋จนเกินไปจุดเล็ก ๆ บนจอภาพจุดเล็กที่สุดที่สามารถแสดงบนจอภาพได้ วัดขนาดกันเป็นมิลลิเมตร โดยปกติ จะมีขนาด .41 มม. .31 ม.ม. และ .28 ม.ม. ยิ่งจุดเล็กมากเท่าใด ภาพที่ปรากฏบนจอภาพก็จะยิ่งคมชัดและละเอียดขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้น ยังใช้วัดระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่เป็นคนละสีในสีเดียวกันด้วย (สีบางสีที่เห็นบนจอภาพเกิดจากการผสมกันระหว่างจุดที่มีสีต่างกัน เช่น สีเทา เกิดจากการผสมกันของสีดำ และขาว)
การสับเปลี่ยนข้อมูลแบบพลวัตใช้ตัวย่อว่า DDE (อ่านว่า ดีดีอี) คำนี้ใช้ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์และโอเอส/ทู หมายถึงการทำให้สองโปรแกรมบนวินโดว์ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เป็นต้นว่า การนำตัวเลขที่อยู่ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) มาใช้ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นใหม่ นอกจากนั้น หากมีการแก้ไขตัวเลขในตารางจัดการ ตัวเลขในโปรแกรมประมวลผลคำ ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยโดยอัตโนมัติ
อีเอกซ์อีย่อมาจากคำว่า executable file ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มที่มีนามสกุลดังกล่าวนี้ จะเป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวปฏิบัติการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวปฏิบัติการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์ที่ชื่อแฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งเรียกโปรแกรมนั้นให้เริ่มทำงาน มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM
แฟ้มกระทำการในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มประเภทนี้เป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวกระทำการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวกระทำการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์สองทีที่แฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งให้โปรแกรมนั้นเริ่มทำงาน แฟ้มประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .exe มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM
ชื่อแฟ้ม (ข้อมูล) แฟ้มข้อมูลก็ดี โปรแกรมหรือชุดคำสั่งก็ดี จะต้องมีชื่อที่ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้เมื่อ ต้องการ เรียกใช้ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลไว้ เป็นต้นว่า ระบบดอสและวินโดว์ มีข้อกำหนดว่า ชื่อของแฟ้ม ข้อมูล จะต้องยาวไม่เกิน 8 ตัวอักขระ (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ต้องไม่มีช่องว่าง ฯ และที่สำคัญที่สุด คือตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้น อาจจะต้องมีนามสกุล (filetype) ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ตัวอักษร ส่วนระบบของแมคอินทอช มีข้อจำกัดน้อยกว่านั้น มาก เช่น จะใช้ภาษาไทยก็ได้
(ฟิล'เทอะ) n. ที่กรอง, กระดาษกรอง, สารที่ใช้กรอง, บุหรี่ก้นกรอง. vt. กรองออก, กรอง vi. กรอง. adj. เกี่ยวกับบุหรี่ก้นกรอง., See Also:filterer n., Syn.strainer, sieve, sift ตัวกรองหมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบ format การเก็บข้อมูลหรือภาพให้ เป็นรูปแบบที่ต้องการใช้ ส่วนมากโปรแกรมนี้จะมีแทรกอยู่ในโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกมการจัดพิมพ์ ฯ ที่มักจะมีการโอนแฟ้มข้อมูล ประเภทอื่น เช่น จากโปรแกรม dBASE หรือ Lotus เข้ามา ถ้าไม่มีตัวกรองเตรียมไว้ ก็จะโอนเข้ามา ไม่ได้ นอกจากนั้น ยังเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการ คำสั่งหนึ่งที่สั่งให้ประมวลผล ข้อมูลเสียก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไป ตัวกรองของระบบดอส จะประกอบด้วยคำสั่ง More, Find, และ Sort คำสั่ง More เป็นคำสั่งให้แสดงผลไปเรื่อย ๆ จอภาพ ก็จะเลื่อนไปเรื่อย ๆ เพื่อแสดงผลต่อไปจนกว่าจะหมด find เป็นคำสั่งให้หาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และ sort ก็เป็น คำสั่งให้เรียงลำดับแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกี ASCII
n. เครื่องโลหะ. , เครื่องกลไกที่ใช้ปฏิบัติการ, อาวุธ, ยุทโธปกรณ์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องกลไกของคอมพิวเตอร์, หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. หน่วยรับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ หน่วยบันทึก 2. หน่วยความจำ เช่น ชิป (chip) หรือหน่วยความจำรอง เช่น จานบันทึก 3. หน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังรวมถึงอุปกรณ์ ประกอบอื่น ๆ เช่น โมเด็ม ดู software เปรียบ เทียบ
(ไลคฺ'ไวซ) adv. นอกจากนั้น, อนึ่ง, ด้วย, ในทำนองเดียวกัน, Syn.moreover, also
adv. นอกจากนั้น, อนึ่ง., Syn.besides
ข้อความสั่งไม่ทำการหมายถึง คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ทำการใด ๆ แต่เป็นการแจ้งให้ตัวแปลชุดคำสั่ง (compiler) รับรู้ข้อความบางอย่างที่ต้องการแจ้งให้ทราบเท่านั้น เช่น คำสั่ง END เป็นต้น คำสั่งนี้เป็นเพียงต้องการแจ้งให้ทราบว่า จบโปรแกรมนั้น ๆ แล้วเท่านั้น นอกจากนั้น ก็อาจเป็นคำสั่งให้เตรียมที่ในหน่วยความจำบ้าง เตรียมจัดรูปแบบข้อมูลบ้าง ถ้าสั่งให้อ่านข้อมูลโดยใช้คำสั่ง Read คำสั่งนี้เป็นข้อความสั่งทำการ (excutable statement) เครื่องจะทำการทันทีที่พบคำสั่งนี้ แต่อ่านข้อมูลแล้วนำไปจัดเก็บในรูปแบบตามคำสั่ง FORMAT (ในภาษาฟอร์แทรน) คำสั่ง FORMAT ถือว่าเป็นข้อความสั่งไม่ทำการดู excutable statement เปรียบเทียบ
(พริน'เทอะ) n. ผู้พิมพ์, เจ้าของโรงพิมพ์, ช่างพิมพ์, เครื่องพิมพ์หมายถึง อุปกรณ์เครื่องพิมพ์ที่รับสัญญาณตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อพิมพ์งานออกมาเป็น ข้อความ ภาพ ลงบนกระดาษ หรือวัตถุอื่นในประเภทเดียวกัน เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น แบบกระทบ (impact printer) ซึ่งจะรวม ถึงแบบจุด (dot matrix) และแบบจาน (daisy wheel) นอกจากนั้น ก็ยังมีแบบไม่กระทบ (non impact printer) ซึ่งแบ่งเป็นแบบฉีดหมึก (ink jet) และเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ดู chain printer, character printer, daisy wheel printer, dot matrix printer, dot printer, drum printer, electrothermal printer, high speed printer, impact printer, ink jet printer, laser printer, line printer, nonimpact printer, page printer, stylus printer, thermal printer, wire printer, wheel printer ประกอบ
บัตรเจาะรูหมายถึง บัตรที่นำมาเจาะเป็นรู เพื่อเป็นข้อมูลที่จะส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การเจาะบัตรให้เป็นรูนี้ต้องเจาะด้วยเครื่องเจาะบัตร (keypunch) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพิมพ์ดีด เช่น ถ้าเจาะตัวอักษร A ก็จะมีรูที่คอลัมน์ 1 และ 12 รูต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ (โดยใช้แปรงไฟฟ้าปัดผ่าน) แล้วนำไปเก็บในหน่วยความจำ วิธีส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แบบนี้ เกือบจะเป็นแบบแรกที่ใช้กัน เดี๋ยวนี้ถือว่าล้าสมัยไปเสียแล้วเพราะไม่สะดวกในการเก็บรักษา กับทั้งสิ้นเปลืองมาก จุข้อมูลน้อยถ้าเทียบกับจานบันทึก นอกจากนั้น ใช้แล้วนำมาใช้อีกไม่ได้ เจาะผิดก็แก้ไขไม่ได้ ต้องทิ้งไป แล้วทำใหม่ ทำให้สิ้นเปลืองดู card ประกอบ
หน่วยเก็บเข้าถึงโดยสุ่มเป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) หน่วยเก็บในที่นี้หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด นอกจากนั้นยังหมายถึงจานบันทึก ซึ่งใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลเท่ากันหมดเช่นกัน
(แป้นพิมพ์) แป้นเปลี่ยน (ชุดอักษร) แป้นยกเป็นแป้นหนึ่งที่มีใช้ทั้งในแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด และแป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (แป้นนี้ มักจะมีเครื่องหมายลูกศรบนแป้น) โดยปกติแผงแป้นอักขระจะมีไว้ให้ 2 แป้น ทั้งทางด้านซ้ายและขวา การกดแป้นนี้เพียงลำพังแป้นเดียว จะไม่ทำให้เกิดอะไรขึ้น แต่ถ้ากดพร้อมกับแป้นตัวอักษรใดในภาษาอังกฤษ จะทำให้พิมพ์ตัวอักษรนั้นออกมาเป็นตัวใหญ่ (capital letter) ถ้าเป็นภาษาไทย ก็จะเป็นตัวที่อยู่ข้างบน เช่น ฤ ฆ ฏ ฑ ฒ นอกจากนั้น ในบางโปรแกรม เช่น โปร แกรมวาดภาพ การกดแป้นนี้พร้อมกับ ลากเส้น จะทำให้ลากได้เป็นเส้นตรง ถ้ากดพร้อมกับลากรูปสี่เหลี่ยม ก็จะทำให้รูปที่วาด เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นต้น
อักขระพิเศษแต่เดิมใช้หมายถึงอักขระที่เป็นเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น + - * / $ = , " " ฯลฯ รวมทั้งสระ วรรณยุกต์ ในภาษาไทย บางทีเรียกรวม ๆ ว่า เครื่องหมายวรรคตอนก็ได้ นอกจากนั้น ยังหมายรวมถึงตัวอักขระที่ไม่สามารถกดได้จากแป้นพิมพ์ แต่อาจใช้เทคนิคบางอย่างทำให้พิมพ์ออกมาได้ เช่น ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช การกดแป้น Shift+ALT+K จะได้ภาพลูกแอปเปิลแหว่ง (สัญลักษณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล) ถ้าใช้แบบอักษรชื่อ Symbol
(แป้นพิมพ์) แป้นตั้งระยะหมายถึง แป้นพิมพ์แป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ โดยปกติจะอยู่ริมด้านซ้ายสุดของแถวที่สองจากข้างบน อาจมีคำ tab บนแป้น บางทีมีเครื่องหมายลูกศรแทน การกดแป้นนี้ จะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เลื่อนไประยะหนึ่ง (แล้วแต่จะมีการกำหนดไว้) อาจเป็น 5- 10 ช่องว่าง มักใช้เมื่อต้องการย่อหน้าหรือต้องการจัดคอลัมน์ให้ตรงกัน (ไม่ควรกดคานเคาะ) นอกจากนั้น ในกรอบสนทนา การกดแป้นนี้หมายความว่า ให้กระโดดจากช่อง (ที่จะให้เติมข้อความ) ที่ 1 ไปช่องที่ 2 ไปช่องที่ 3....ต่อไป
(เธน) adv. ดังนั้น, ในเวลานั้น, ถ้าเป็นเช่นนั้น, อีกประการหนึ่ง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, นอกจากนั้น, ในกรณีนั้น, เพราะฉะนั้น, then and there ในขณะนั้นทันที. adj. เช่นนั้น, ดังนั้น. n. เวลานั้น
(แธร์ทู') adv. ไปยังสิ่งนั้น, ไปที่นั่น, ไปยังเรื่องนั้น, นอกจากนั้น., Syn.thereunto
(แธร์'วิธ) adv. กับสิ่งนั้น, นอกจากนั้น, ครั้นแล้ว, ดังนั้น, Syn.thereupon
ภาวะภาพหมายถึง ภาวะที่แสดงผลเป็นภาพ มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับจำนวนสีที่ตัวปรับภาพใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 20 แบบ เรียงกันไปตั้งแต่ 0 - 19 ถ้าเป็นการแสดงผลเฉพาะตัวอักขระอย่างเดียว ก็จะใช้อีกภาวะหนึ่งต่างไปจากการแสดงผลเป็นภาพ นอกจากนั้น การแสดงผลเป็นภาพ ก็ยังแบ่งเป็น การแสดงสีเดียว แสดงหลายสี กับทั้งยังมีการแบ่งแยกในเรื่องของความคมชัด (resolution) ที่แตกต่างกันออกไปอีก
ย่อจากคำเต็มว่า Microsoft Windows เป็นชื่อของโปรแกรมระบบวินโดว์สของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งทำงานภายใต้ระบบไมโครซอฟต์ดอส (Microsoft DOS) ที่เขียนโดยบริษัทเดียวกัน ถือว่าเป็นโปรแกรมระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิป 80286 ขึ้นไป สามารถใช้ระบบวินโดว์สได้ ระบบวินโดว์ได้พัฒนาตลอดมา ปัจจุบัน กำลังอยู่ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะเปลี่ยนจากวินโดว์ส 3.1 เป็นวินโดว์ส 95 วินโดว์ส 97 และวินโดว์ส 2000 ต่อไป ระบบวินโดว์นี้จะรวมเอาโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ ไว้ให้อย่างพร้อมมูล นอกจากนั้น หลายบริษัทยังสร้างโปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ ให้ทำงานบนระบบวินโดว์สนี้ เช่น Aldus PageMaker, Freelance ทุกโปรแกรมจะมีวิธีการใช้พื้นฐานคล้ายคลึงกัน ทำให้ง่ายในการเรียนรู้ เพราะเรียนรู้โปรแกรมหนึ่ง ก็ทำให้มีแนวที่จะเรียนโปรแกรมอื่นง่ายขึ้น ระบบวินโดว์สนี้ จะเน้นในเรื่องการใช้ภาพเป็นสื่อ มีการใช้เมาส์ ใช้เมนู มีรายการเลือกต่าง ๆ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสะดวกขึ้นมาก
การประมวลผลคำการประมวลคำหมายถึงการนำข้อมูลต่าง ๆ มาพิมพ์ใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ แล้วใช้คำสั่งจัดให้แสดงผลในรูปแบบที่ต้องการ เช่น กำหนดขนาดของหน้า กำหนดให้ให้หน้าหนึ่งมีกี่บรรทัด แต่ละบรรทัดมีกี่ตัวอักษร นอกจากนั้น ยังสามารถแก้ไขง่าย กับทั้งเก็บไว้ใช้ในโอกาสหลังได้ ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จช่วย ปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาให้ทำเพิ่มขึ้นได้อีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า แทรกภาพได้ ทำตารางประกอบได้ ตรวจแก้ตัวสะกดให้ได้ แม้แต่เสนอศัพท์ต่าง ๆ ให้เลือกใช้ ก็ได้ ฯ
เอ็กซ์โมเด็มหมายถึง เกณฑ์วิธี (protocol) ในการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านทางสายโทรศัพท์ อันที่จริงแล้ว เอกซ์โมเด็มนั้น เป็นชื่อ โปรแกรมที่ใช้ในการส่งข้อมูล แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปมักจะเรียกแฟ้มข้อมูลที่ส่งด้วยวิธีนี้ว่า เอ็กซ์โมเด็ม ซึ่งสามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ทั้งแฟ้มข้อมูลที่เป็นโปรแกรม และแฟ้ม เอกสารธรรมดา นอกจากนั้น ในระหว่างการส่งจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนด้วย การถ่ายโอนข้อมูลแบบที่เรียกว่า YMODEM และ ZMODEM ก็ได้รับการพัฒนามาจาก XMODEM นี้ แต่ทำได้เร็วกว่า และถ่ายโอนข้อมูลได้ทีละมากกว่า
(เยท) adv. ยัง, ยังคง, กระนั้น, เช่นเดิม, ซ้ำ, เดี๋ยวนี้, ไม่ชักช้า, แล้ว, เรียบร้อย, นอกจากนั้น, นอกไปกว่านี้, อย่างก็ตาม conj. แม้กระนั้น, กระนั้น