น. ชื่อนกขนาดเล็ก วงศ์ย่อย Ploceinae ในวงศ์ Ploceidae ปากหนารูปกรวย ปลายหางมน ขนหัวและขนตัวลาย ในฤดูผสมพันธุ์ขนหัวเพศผู้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดาหรือกระจาบอกเรียบ[ Ploceus philippinus (Linn.) ] กระจาบอกลาย [ P. manyar (Horsfield) ] ทำรังด้วยหญ้าหรือฟางข้าวห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือต้นพืชน้ำเช่นกก ปากรังอยู่ด้านล่าง และกระจาบทอง [ P. hypoxanthu s (Sparrman) ] ทำรังด้วยหญ้าหรือฟางข้าวโอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ทางด้านข้าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช.
น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Estrildidae ปากสั้นหนารูปกรวยปลายแหลม หัวกลม ลำตัวอ้วนป้อม มีหลายสี ปลายหางแหลม ใช้หญ้าทำรังเป็นรูปกลมอยู่บนพุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือกอหญ้า ปากรังอยู่ทางด้านข้าง กินเมล็ดพืช มีหลายชนิด ที่พบมาก คือ กระติ๊ดขี้หมู [ Lonchura punctulata (Linn.) ] ชนิดอื่น ๆ เช่น กระติ๊ดเขียวหรือไผ่ [ Erythrura prasina (Sparrman) ] กระติ๊ดแดงหรือสีชมพูดง [ Amandava amandava (Linn.) ] กระติ๊ดท้องขาว[ Lonchura leucogastra (Blyth) ], กะทิ ก็เรียก.
น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Ciconiidae ปากหนาแบนข้าง ยาว ปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอเหยียดตรง ทำรังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาคอขาว [ Ciconia episcopus (Boddaert) ] กระสาคอดำ [ Ephippiorhynchus asiaticus (Latham) ].
ชื่อนกยางขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ปากยาว ปลายแหลม ฤดูผสมพันธุ์เพศผู้มีขนยาวบริเวณท้ายทอย ๒ เส้น คอยาว เวลาบินคอโค้งงอ ขายาว เล็บของนิ้วกลางที่หันไปข้างหน้าหยักคล้ายซี่หวี ทำรังด้วยกิ่งไม้บนยอดไม้สูงปานกลาง กินปลาและสัตว์น้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กระสานวล ( Ardea cinerea Linn.) กระสาแดง ( A. purpurea Linn.) และกระสาใหญ่ ( A. sumatrana Raffles).
น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens Regan ในวงศ์ Osphronemidae ขนาดยาวได้ถึง ๖.๕ เซนติเมตร ทำรังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัวให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด.
ว. เรียกผึ้งที่ทำรังในโพรงไม้ ว่า ผึ้งโก๋น.
(ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน ( Oriolus chinensis Linn .) ขมิ้นแดง [ O. traillii (Vigors) ] ขมิ้นขาว ( O. mellianusStresemann) .
น. ไม้ที่ทำไว้ให้นกหรือไก่จับ, กิ่งไม้ที่ผึ้งเกาะทำรัง.
น. ชื่อมดชนิด Solenopsis geminata (Fabricius) ในวงศ์ Formicidae ลำตัวยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร สีน้ำตาลแดง หัวค่อนข้างโต ทำรังอยู่ตามพื้นดิน โดยเฉพาะดินร่วนหรือดินทราย รังอาจอยู่ลึกลงไปใต้ดินถึง ๐.๕ เมตร มีอวัยวะสำหรับต่อยปล่อยกรดทำให้คัน ปวดแสบปวดร้อน และเป็นตุ่มแดงใหญ่.
น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Nettapus coromandelianus (Gmelin) ในวงศ์ Anatidae เป็นนกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ปากสั้น รูปร่างอ้วนป้อม ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีเขียวเข้มหรือดำ ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ท้องสีขาวมีกระสีนํ้าตาล ทำรังในโพรงไม้.
(ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล Trigona ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด T. terminata Smith, T. apicalis Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน.
น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ อันดับ Hymenoptera มีความยาว ๑.๕ เซนติเมตรขึ้นไป มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่นบางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน ช่วงต่อระหว่างปล้องอกกับปล้องท้องคอดกิ่ว เพศเมียมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทำให้เจ็บปวดอาจถึงตายได้ และสามารถต่อยได้หลายครั้งต่างกับผึ้ง บางชนิดอยู่อย่างลำพัง แต่บางชนิดรวมกลุ่มทำรังอยู่เป็นฝูง ที่สำคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหัวเสือ [ Vespa affinis (Linn.) ] ต่อหลุม ( V. mandarinia Smith) นอกจากนี้ยังมีต่อในวงศ์อื่น ๆ เช่น ต่อกาเหว่า หมาร่า ต่อแมงมุม.
น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Coraciidae ปากใหญ่ แบนข้าง หัวใหญ่ ตัวป้อม มักเกาะตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยโฉบจับแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน ตัวผู้เกี้ยวตัวเมียโดยการบินขึ้นไปในอากาศ แล้วม้วนตัวกลับลงมา ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง [ Coracias benghalensis (Linn.) ] ปากสีดำ หัวและปีกสีฟ้า ตัวสีนํ้าตาล และตะขาบดง [ Eurystomus orientalis (Linn.) ] ปากสีแดง ตัวสีน้ำเงินแกมเขียว, ขาบ ก็เรียก.
น. ชื่อมดชนิด Tetraponera ruflonigra (Jerdon) ในวงศ์ Formicidae ลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวและท้องสีดำหรือน้ำตาลดำ ส่วนอกและส่วนท้องปล้องแรกสีน้ำตาลแดง มีอวัยวะสำหรับต่อยปล่อยกรดทำให้เจ็บปวดได้ ทำรังอยู่เป็นฝูงตามกอหญ้า ใต้ก้อนหิน หรือใต้ดินที่ชื้นต่าง ๆ.
น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Megalaima haemacephala (Müller) ในวงศ์ Megalaimidae เป็นนกโพระดกที่เล็กที่สุด ตัวสีเขียว คอสีเหลือง อกสีแดง หน้าผากสีแดง วงรอบเบ้าตาสีเหลือง ทำรังในโพรงไม้ กินผลไม้ขนาดเล็ก เช่น ลูกไทร ลูกหว้า มักเกาะตามกิ่งไม้แห้งในที่สูง ๆ ร้องเสียง “ต้อง ๆ ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอ.
น. ชื่อแมลงประเภทเดียวกับต่อ แต่ขนาดเล็กกว่า ปรกติลำตัวยาวไม่เกิน ๑.๕ เซนติเมตร มีหลายวงศ์ เช่น แตนฝักบัว [ Icaria ferruginea (Fabricius) ] ทำรังรูปคล้ายฝักบัว, แตนลิ้นหมา (I. artifexSaussure) ทำรังห้อยย้อยลงมาคล้ายลิ้นหมา ในวงศ์ Vespidae นอกจากนี้ยังมีแตนในวงศ์อื่น ๆ อีก เช่น แตนหางธง แตนเบียน แตนเบียนฝอย.
น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Sittidae ปากแหลม ตัวเล็ก หางสั้น มักไต่จากยอดไม้ลงสู่โคนโดยเอาหัวลง ทำรังในโพรงไม้ กินหนอนและแมลงในเปลือกไม้ แต่บางครั้งก็กินเมล็ดพืช เคยพบในประเทศไทย ๕ ชนิด เช่น ไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม ( Sitta castaneaLesson) ไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ ( S. frontalis Swainson) ไต่ไม้สีสวย ( S. formosa Blyth).
ก. เอาใจใส่, สนใจ, แยแส, เช่น แก้สาดเสียสิ้นกินแต่ของ อันใบตองหาทะยาทะแยไม่ (ขุนช้างขุนแผน), เมื่อนั้นรจนาไม่ทะยาทะแยแส คิดว่าเงาะลูบหลังทำรังแก ไม่เหลียวแลร้องอึงคะนึงไป (สังข์ทอง).
ก. กระทำ, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทำเก้าอี้ ทำโต๊ะ ทำรองเท้า ทำรัง
(นิน) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Oreochromis niloticus (Linn.) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ แต่มีลำตัวสีเขียวหรือฟ้าปนน้ำตาล มีจุดดำด่างทั่วตัว ปลาขนาดเล็กจะมีลายเข้มพาดขวางลำตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีลายหรือแนวจุดสีคลํ้าหรือขาวพาดขวางหรือทแยงอยู่โดยตลอด ขนาดยาวได้ถึง ๔๖ เซนติเมตร ทำรังเป็นแอ่งดินและปกป้องดูแลลูกอ่อนไว้ในโพรงปาก สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า ปลานิล.
(ปะหฺรอด) น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Pycnonotidae สีเหลืองหม่น บางชนิดสีออกดำ ทำรังรูปถ้วยตามต้นไม้ กินผลไม้และแมลง เช่น ปรอดสวน ( Pycnonotus blanfordiJerdon) ปรอดทอง [ P. atriceps (Temminck) ] ปรอดหัวโขน [ P. jocosus (Linn.) ], กรอด ก็เรียก, บางทีเขียนเป็น กระหรอด หรือ กะหรอด.
(ปฺลวก) น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายวงศ์ ในอันดับ Isoptera รูปร่างคล้ายมด แต่ส่วนท้องกับอกมีขนาดไล่เลี่ยกัน หนวดมีลักษณะเป็นปล้องกลมคล้ายลูกปัด ไม่หักงอเป็นข้อศอกเหมือนมด ส่วนใหญ่ตัวสีขาวหรือครีม ไม่ชอบแสง อาศัยทำรังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนพื้น รังที่มีขนาดใหญ่มียอดแหลมเรียก จอมปลวก บางชนิดอาศัยทำรังรวมกันอยู่ใต้ดิน มักเอาดินมาสร้างคลุมทางเดิน บางชนิดทำลายไม้ ต้นไม้ ฯลฯ.
น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Cairina scutulata (Müller) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัวและคอสีขาวประดำ อกสีเขียวเกือบดำ ทำรังในโพรงไม้ริมลำธารในป่า มักเกาะนอนบนต้นไม้สูง ๆ เวลาบินจะเห็นแถบสีขาวที่ปีกได้ชัดเจน ร้องเสียง “ก่า ๆ ” เป็นนกเป็ดนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย.
น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Sarkidiornis melanotos (Pennant) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัว คอ อก และท้องสีขาวประดำ ปีกสีเขียวเป็นมัน ตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีหงอนอยู่เหนือขากรรไกรบน ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีหม่นกว่า อาศัยอยู่ทั้งในแหล่งน้ำทั่วไป และลำธารในป่า ทำรังตามโพรงไม้.
น. ชื่อนกน้ำขนาดเล็ก ในวงศ์ Podicipedidae ปากแหลม มีพังผืดนิ้วแบบตีนกลีบ บินได้ในระยะสั้น ๆ หากินตามบึงหรือบริเวณที่มีพืชนํ้าจำนวนมาก ดำนํ้าเก่ง ทำรังบนสนุ่น ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ เป็ดผีเล็ก [ Tachybaptus ruficollis (Pallas) ] และเป็ดผีใหญ่หรือเป็ดผีหงอน [ Podiceps cristatusI (Linn.) ].
(เปฺล้า) น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียว แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกันที่หน้าอกและช่วงไหล่ ซึ่งอาจมีสีม่วง นํ้าตาล เขียว ชมพู หรือเหลือง ทำรังเป็นรูปถ้วยง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ตามกิ่งก้านของต้นไม้ หากินเป็นฝูง กินผลไม้ เช่น เปล้าขาเหลือง [ Treron phoenicoptera (Latham) ] เปล้าคอสีม่วง [ T. vernans (Linn.) ], เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า.
น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis (Linn.) ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ปากยาวแหลม วงรอบเบ้าตาและหางตาสีขาว ตัวสีนํ้าตาลลาย ตัวเมียมีขนาดใหญ่และสีเข้มสวยกว่าตัวผู้ เมื่อออกไข่จะปล่อยให้ตัวผู้ฟักไข่ตามลำพัง ทำรังเป็นแอ่งบนพื้นดิน อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ กินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก.
น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Eurylaimidae ปากใหญ่รูปสามเหลี่ยม อ้าปากได้กว้าง สีของปากฉูดฉาด สะท้อนแสง หัวโต ลำตัวอ้วนป้อม อาศัยอยู่ในป่าทึบ ทำรังด้วยใบไม้และใยแมงมุมเป็นรูปกระเปาะแขวนตามกิ่งไม้ใกล้แหล่งน้ำ กินแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และผลไม้ เช่น พญาปากกว้างสีดำ [ Corydon sumatranus (Raffles) ] พญาปากกว้างท้องแดง [ Cymbirhynchus macrorhynchos (Gmelin) ] พญาปากกว้างหางยาว [ Psarisomus dalhousiae (Jameson) ].
น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Campephagidae มีเสียงร้องไพเราะและสีสันสวยงาม ตัวผู้สีแดง ตัวเมียสีเหลือง ทำรังด้วยใบไม้และใยแมงมุมเป็นรูปถ้วยขนาดเล็กตามกิ่งไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูงตามยอดไม้ กินแมลง เช่น พญาไฟสีกุหลาบ [ Pericrocotus roseus (Vieilld) ] พญาไฟใหญ่ [ P. flammeus (Forster) ] พญาไฟสีเทา [ P. divaricatus (Raffles) ].
น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Lophura diardi (Bonaparte) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพกสีแดงสด ขนหางยาวสีดำเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดำ ทำรังเป็นแอ่งตามพุ่มไม้หรือโพรงไม้ติดดิน คุ้ยเขี่ยหากินตามพื้นดิน พบตามป่าทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นไก่ฟ้าที่รู้จักกันดีในประเทศไทย มีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback หรือ Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก.
(พฺรวด) น. ชื่อผึ้งโพรง ( Apis cerana Fabricius) ในวงศ์ Apidae เป็นผึ้งขนาดกลาง ผึ้งงานลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูง ทำรังซ้อนกันหลายชั้นเรียงขนานกันอยู่ในโพรงไม้ กระบอกไม้ ซอกหิน หรือซอกหลังคาบ้านที่ปิดมิดชิด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรัง ประมาณ ๓๐ เซนติเมตร นำมาเลี้ยงได้เช่นเดียวกับผึ้งพันธุ์, พายัพและอีสานเรียก ผึ้งโก๋น, ผึ้งรวง ก็เรียก.
(พฺริก) น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Metopidius indicus (Latham) ในวงศ์ Jacanidae ปากสีเหลือง หางตาสีขาว ตัวสีนํ้าตาลเป็นมันวาว นิ้วตีนยาวมากสำหรับพาดเดินบนพืชนํ้า บินไม่ค่อยเก่ง ทำรังบนพืชน้ำ กินพืชนํ้า แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก.
น. ชื่อนกขนาดกลาง ในวงศ์ Columbidae รูปร่างคล้ายนกเขาแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ตัวสีเทาอมฟ้า อาศัยอยู่เป็นฝูง ทำรังแบบง่าย ๆ ตามซอกอาคารด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก หากินบนพื้นดิน กินเมล็ดพืช ในประเทศไทยที่เรียกพิราบ มี ๓ ชนิด ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Columba livia Gmelin ชนิดนี้ที่พบตามป่า เรียกพิราบป่า, อีก ๒ ชนิด คือ พิราบป่าอกลาย ( C. hodgsonii Vigors) และพิราบเขาสูง ( C. pulchricollis Blyth).
น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Megalaimidae หรือ Capitonidae ปากหนาสั้นแข็งแรง ปลายแหลมใหญ่ มีขนแข็งตรงโคนปาก หน้าสีแดง เหลือง หรือนํ้าตาลแล้วแต่ชนิด ตัวอ้วนป้อมสีเขียว ทำรังตามโพรงไม้ กินผลไม้และแมลง เช่น โพระดกธรรมดา [ Megalaima lineate (Vieillot) ] โพระดกหูเขียว [ M. faiostricta (Temiminck) ] โพระดกคอสีฟ้า [ M. asiatica (Latham) ].
น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ที่ติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังส่วนที่คอดมีโหนกนูน ลักษณะนี้ทำให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และปลวก มีรูปร่าง ลักษณะ สี และกลิ่นแตกต่างกันตามชนิด เดินกันเป็นทางเพื่อขนอาหาร หรือย้ายรัง เป็นแมลงสังคม ทำรังอยู่เป็นกลุ่ม แบ่งชั้นวรรณะเป็นมดนางพญา มดผู้ และมดงาน มดงานเป็นมดเพศเมียที่เป็นหมันทำหน้าที่สร้างรัง เลี้ยงดูตัวอ่อน และหาอาหาร บางชนิดเมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยใช้อวัยวะต่อยปล่อยกรดหรือกัดให้เกิดแผลและปล่อยกรดออกมาทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือทำให้เจ็บปวดได้.
น. ชื่อมดหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Formicidae สีดำเป็นมันตลอดทั้งตัว ยาว ๕-๖ มิลลิเมตร มักทำรังอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะตามซอกของต้นไม้และพวกผลไม้ต่าง ๆ เมื่อถูกจับต้องจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนออกมาป้องกันตัว ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dolichoderus thonacicus (Smith), ชนิด Paratreehina longicornis (Latreille).
น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina (Fabricius) ในวงศ์ Formicidae มดงานลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอดรวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทำรังอยู่ตามต้นไม้ เช่น มะม่วง ขนุน โดยใช้ใบมาห่อเข้าด้วยกัน ขณะถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยกัดให้เกิดแผลแล้วปล่อยกรดออกมาทำให้ปวดแสบปวดร้อน เพศเมียที่มีปีก เรียก แม่เป้ง ลำตัวยาว ๑.๕-๑.๘ เซนติเมตร สีเขียวปนน้ำตาล ปีกใสสีน้ำตาล เมื่อผสมพันธุ์แล้วทำหน้าที่วางไข่เพียงอย่างเดียวเป็นมดนางพญา, มดส้ม ก็เรียก.
น. ชื่อผึ้งชนิด Apis andreniformis Smith ในวงศ์ Apidae ขนาดเล็กกว่าผึ้งมิ้ม ทำรังคล้ายผึ้งมิ้ม แต่มีขนาดเล็กกว่า, มิ้มเล็ก หรือ มิ้มดำ ก็เรียก.
น. ชื่อผึ้งชนิด Apis florea Fabricius ในวงศ์ Apidae เป็นผึ้งขนาดเล็ก ผึ้งงานลำตัวยาวประมาณ ๘ มิลลิเมตร อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ทำรังเป็นแผ่นเดี่ยว ๆ ตามกิ่งไม้ มักทิ้งรังเมื่อขาดแคลนอาหาร, มิ่ม นิ่ม หรือ นิ้ม ก็เรียก.
น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Ardeidae ปากยาวแหลมตรง ส่วนใหญ่ตัวสีขาว บางชนิดสีดำ นํ้าตาล หรือเขียว ขายาว นิ้วกลางที่หันไปทางด้านหน้ามีเล็บหยักคล้ายซี่หวี ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ พุ่มไม้ หรือตามซอกหิน หากินตามชายนํ้า โดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งน้ำจืด บางชนิดหากินตามชายทะเล กินปลา แมลง และสัตว์นํ้าขนาดเล็ก เช่น ยางควาย [ Bubulcus ibis (Linn.) ] ยางเขียว [ Butorides striatus (Linn.) ] ยางไฟหัวดำ [ Ixobrychus sinensis (Gmelin) ] ยางเปีย [ Egretta garzetta (Linn.) ], กระยาง ก็เรียก.
น. ชื่อนกยางขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ลำตัวสีขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนใหญ่ [ Egretta alba (Linn.) ] ตัวขนาดใหญ่ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์ปากสีเหลือง และยางโทนน้อย [ E. intermedia (Wagler) ] ตัวขนาดกลาง ปากสีเหลืองตอนปลายดำ.
น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Pavo muticus Linn. ในวงศ์ Phasianidae หงอนขนบนหัวเป็นกระจุก หนังข้างแก้มสีเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดถึงปลายหางสีเขียว ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีขนคลุมโคนขนหางด้านบนยื่นยาวและมีแวว เพื่อใช้รำแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ปรกติใกล้ลำธารที่มีหาดทราย มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า ทำรังแบบง่าย ๆ ตามพื้นดิน กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ยูงใต้ (P.m. muticus Linn.) และยูงเหนือ (P.m. imperator Delacour), ยูงไทย ก็เรียก.
น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในสกุล Pomatorhinusวงศ์ Timaliidae ปากแหลมโค้ง คอ อก และท้องสีขาว ตัวสีนํ้าตาล หางยาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ตามพุ่มไม้หรือต้นไม้ หากินเป็นฝูงและส่งเสียงร้องตลอดเวลา กินแมลงตามพื้นดินและพุ่มไม้ เช่น ระวังไพรปากเหลือง (P. schisticeps Hodgson) ระวังไพรปากยาว [ P. hypoleucos (Blyth) ], ตระเวนไพร หรือ ตระเวนวัน ก็เรียก.
ก. รบกวนให้โกรธ เช่น ลางคนจับตะขาบมาเด็ดเขี้ยว เที่ยวทิ้งโรงหนังทำรังหยาว (อิเหนา), (ถิ่น–ปักษ์ใต้) โมโห, โกรธ.
(ราวกะวะ) ว. ราวกะว่า, ราวกับว่า, เช่น นกกระจอกทำรังราวกวะไม้ (จารึกวัดโพธิ์).
น. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Spilornis cheela (Latham) ในวงศ์ Accipitridae มีลายจุดขาวที่หัว ปีก และท้อง มีหงอนขนบริเวณท้ายทอยซึ่งจะแผ่ออกเห็นได้ชัดเจนขณะโกรธ ตกใจ หรือต่อสู้กัน ตัวสีน้ำตาลเข้ม หางสีน้ำตาลพาดขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง กินสัตว์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะงู, อีรุ้ง ก็เรียก.
น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae หัวเล็ก ลำคอไม่มีขนหรือเป็นขนอุยห่าง ๆ ปีกกว้าง หางสั้น ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง กินซากสัตว์ ไม่ล่าเหยื่อเหมือนเหยี่ยวและอินทรีทั่วไป เช่น แร้งเทาหลังขาว [ Gyps bengalensis (Gmelin) ] แร้งดำหิมาลัย [ Aegypius monachus (Linn.) ] พญาแร้ง [ Sarcogyps calvus (Scopoli) ], อีแร้ง ก็เรียก.
น. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย เช่น ผึ้งทำรังทางทิศตะวันออกของอาคารเชื่อกันว่าเป็นลางดี แมงมุมตีอกเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย.
น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Ampeliceps coronatus Blyth วงศ์ Sturnidae ตัวสีดำเหลือบเป็นมัน ขอบขนปลายปีกสีเหลือง ตัวผู้กระหม่อม ด้านข้างของหัว และคอหอยสีเหลืองจัด ตัวเมียเฉพาะกระหม่อมเป็นสีเหลือง ทำรังตามโพรงไม้ กินผลไม้และแมลง เป็นนกที่สามารถร้องเลียนเสียงคนและสัตว์อื่น ๆ ได้, เอี้ยงหัวสีทอง ก็เรียก.
น. ชื่อมดชนิด Crematogaster rogenhoferi Mayer ในวงศ์ Formicidae ลำตัวยาวประมาณ ๔ มิลลิเมตร สีน้ำตาลแดง เวลาเดินยกส่วนท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลำตัว อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้ ทำรังด้วยดินและเศษพืชเป็นสีน้ำตาลดำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร พอกอยู่ตามโคนต้นไม้คล้ายจอมปลวก หรือทำเป็นรูปทรงกลมตามกิ่งไม้หรือง่ามไม้, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก.