น. ชื่ออัตราจังหวะหน้าทับและทำนองเพลงประเภทหนึ่ง มีความยาวเป็น ๒ เท่าของอัตราครึ่งชั้น.
น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้นและชั้นเดียว เป็นเพลงเร็ว หน้าทับสองไม้ ใช้ในการแสดงละครและลิเก
น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียว สมัยอยุธยา มี ๔ เพลง คือ เพลงกระบอก เพลงกระบอกเงิน เพลงกระบอกทอง และเพลงกระบอกนาก.
(กฺว้าน) น. ตึกแถวชั้นเดียว ส่วนใหญ่เป็นร้านค้า, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตึก เป็น ตึกกว้าน เช่น เรือนริมรัถยาฝากระดาน ตึกกว้านบ้านขุนนางนองเนือง (อิเหนา).
ชื่อเพลงไทยสำเนียงแขก อัตราชั้นเดียวและอัตรา ๒ ชั้น, แขกเจ้าเซ็น ก็เรียก.
น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงฉิ่ง อัตราชั้นเดียว.
น. ทำนองเพลงไทยสำเนียงลาว อัตราชั้นเดียว เดิมประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงเดี่ยวลาวแพน เรียกว่า ออกซุ้ม ต่อมามีผู้นำไปบรรเลงต่อท้ายเพลงสำเนียงลาวอื่น ๆ.
(-แปฺลง) ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น.
น. กำแพงล้อม ๓ ชั้น (รวมทั้งคู) เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (จารึกสยาม), ต่อมาแม้จะเป็นกำแพงชั้นเดียวก็เรียกตรีบูรด้วย เช่น อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร (กำสรวล).
น. พ่อของแม่, ผัวของยาย, ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับตา, (ปาก) คำเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ตาเถร ตาแก่ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ตาหนู.
เรียกเสาไม้ขนาดใหญ่ ๒ เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียดให้ช้างเข้าออก ว่า เสาโตงเตง, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วนประตูออกมีเสาโตงเตงชั้นเดียว, เรียกประตูเพนียดที่มีเสาโตงเตง ว่า ประตูโตงเตง.
เพลงซึ่งบรรเลงด้วยวงดนตรีไทย ใน ๑ เพลงมีอัตราลดหลั่นเรียงลงไปเป็นลำดับเป็นอัตรา ๓ ชั้น อัตรา ๒ ชั้น และอัตราชั้นเดียว หรืออัตรา ๒ ชั้น อัตราชั้นเดียว และอัตราครึ่งชั้น มีความสัมพันธ์โดยทำนองหลัก ลูกฆ้องลงจังหวะเป็นเสียงเดียวกัน และบรรเลงติดต่อกันไปจนจบ เช่น เพลงแขกมอญ เถา.
ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียว เรียกว่า ไส้เดือนฉกจวัก, เมื่อแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๒ ชั้น เรียกว่า นาคราช ๒ ชั้นหรือนาคราชแผ่พังพาน เมื่อแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น เรียกว่า นาคราชแผลงฤทธิ์หรือไส้พระจันทร์ เมื่อนำมาทำเป็นเพลงเถา เรียกว่า ไส้พระจันทร์ เถา หรือนาคราชแผลงฤทธิ์ เถา.
น. บ้านยกพื้นชั้นเดียว มีระเบียงกว้าง.
น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียวและอัตรา ๒ ชั้น ปรากฏในระบำสี่บท ประกอบด้วยเพลงพระทอง สระบุหร่ง บหลิ่ม และเบ้าหลุด.
(แปฺลง) ก. เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป, เปลี่ยนรูปทั้งหมดให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น ยักษ์แปลงเป็นมนุษย์, จำแลง ก็ว่า, เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน เช่น คนดีแปลงเป็นคนง่อย, เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไข เปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น เรือนชั้นเดียวแปลงให้เป็น ๒ ชั้น, ดัดแปลง ก็ว่า
(แฟฺล็ด) น. ห้องชุด ตามปรกติประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องนํ้า พร้อมอยู่ในชั้นเดียวกันและรวมอยู่ในตึกหลังใหญ่ สำหรับอยู่อาศัยหรือให้เช่า.
น. แม่ของพ่อ, เมียของปู่, ญาติผู้หญิงที่เป็นชั้นเดียวกันกับแม่ของพ่อ.
น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คำเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู.
ว. มีกลีบชั้นเดียว, ไม่ซ้อน, (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น มะลิลา พุดลา รักลา.
น. ทำนองเพลงสั้น ๆ มีจังหวะเร็ว เทียบเท่ากับอัตราชั้นเดียวหรือครึ่งชั้นใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงต่าง ๆ เพื่อแสดงว่าจบ.
น. ชื่ออัตราจังหวะหน้าทับและทำนองเพลงประเภทหนึ่ง มีความยาวเป็น ๒ เท่าของอัตราชั้นเดียว.
จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับช้า คือช้ากว่าสองชั้นเท่าตัว หรือช้ากว่าชั้นเดียว ๔ เท่า เรียกเต็มว่า อัตราสามชั้น, ชื่ออัตราจังหวะหน้าทับและทำนองเพลงประเภทหนึ่ง มีความยาวเป็น ๒ เท่า ของอัตราสองชั้น.
น. เสาไม้ขนาดใหญ่ ๒ เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียดให้ช้างเข้าออก, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วนประตูออกมีเสาโตงเตงชั้นเดียว, โตงเตง ก็ว่า.
น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียว และอัตรา ๓ ชั้น ถ้าเป็นอัตรา ๒ ชั้น เรียกว่า เพลงเวสสุกรรม
น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียว หน้าทับปรบไก่ ใช้บรรเลงและขับร้อง