น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, เชิงชั้น ก็ว่า.
ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.
น. หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
น. หมู่คนหรือพาหนะเป็นต้นที่จัดเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นหมวดเป็นหมู่ตามแบบแผน เช่น กระบวนพยุหยาตรา กระบวนทัพ, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทำกระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งำ
น. แสร้งทำชั้นเชิงเพื่อถ่วงเวลาหรือเรียกร้องความสนใจเป็นต้น เช่น ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง (ไกรทอง), กระบิดกระบวน ก็ว่า.
ก. แสร้งทำชั้นเชิงเพื่อถ่วงเวลาหรือเรียกร้องความสนใจเป็นต้น เช่น ทำจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้ เช่น อย่ากระเบ็ดกระบวนนักเลย.
(กนละ-) น. คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดั่งแสนศร มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล เวรุชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน (กลบทตรีประดับ).
ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรือ อุบาย หักล้างเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิงหรืออุบายของอีกฝ่ายหนึ่ง.
ก. ใช้ชั้นเชิงตอบโต้ให้เท่าเทียมกันหรือหนักมือขึ้น.
(ขะเบ็ดขะบวน) น. ท่าทาง, ระเบียบ, ชั้นเชิง, ท่วงที.
ก. มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสำเร็จ.
น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ค้าขายของ (นิ. นรินทร์), นัย.
น. อาการที่แสร้งทำชั้นเชิงเพื่อให้ผู้อื่นเอาใจหรือให้เป็นที่พอใจตน.
ว. ต้องด้วยชั้นเชิง, เข้าที, น่าคิด, เช่น อนึ่งซึ่งจะตั้งค่ายอยู่นี้ก็ไม่ชอบกล หาเป็นที่ชัยภูมิไม่ จำจะยกถอยไปตั้งอยู่ ณ เมืองตะเกิงจึงจะทำถนัด (ราชาธิราช)
ก. แย่งชั้นเชิงกัน, คอยเอาทีกัน.
ก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้องดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง.
น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, ชั้นเชิง ก็ว่า.
ก. ทำชั้นเชิง, คอยหาเรื่องจับผิด.
ตาที่เดินอย่างตาหมากรุก, ชั้นเชิง เช่น เขาเดินแต้มสูง.
ก. สู้พลางถอยพลาง, ถอยอย่างมีชั้นเชิง.
ก. ถอยหลังพร้อมกับเบี่ยงตัวหลบทันที, หลบอย่างมีชั้นเชิง, โดยปริยายหมายความว่า หลบไป หรือ เลี่ยงกัน เช่น งานนี้สู้ไม่ไหว เห็นจะต้องถอยฉากไปก่อน.
ก. เข้ากันได้, รู้ชั้นเชิงกัน, (มักใช้ในการพนันและการเล่นกีฬา).
น. ท่าทาง, หน่วยก้าน, ชั้นเชิง.
ชั้นเชิง, ท่วงที, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ที เสียที.
น. ชั้นเชิงที่สามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเด็ดขาด.
ก. แสดงท่าทางท่วงทีเป็นชั้นเชิง.
โดยปริยายหมายถึง ความสามารถหรือทักษะและชั้นเชิงในการปฏิบัติการใด ๆ เช่น เขามีฝีมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็ว.
โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง (อภัย).
(พาบพด) น. ถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นเป็นภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา.
(มนดบ) น. เรือนเครื่องยอดขนาดใหญ่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคาเป็นทรงจอมแห ประกอบด้วยชั้นเชิงกลอนหลายชั้นเป็นต้น, ใช้ว่า มรฑป ก็มี. (ป., ส.)
ก. มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น
ว. มีกลเม็ดหรือชั้นเชิงแนบเนียน เช่น เขามีกรรมวิธีแยบยล นักประพันธ์มีกลวิธีเขียนเรื่องแยบยล.
ก. ระวังไม่ให้เสียชั้นเชิง, ระวังไม่ให้ถูกลบเหลี่ยม.
ก. รู้ชั้นเชิง, รู้เล่ห์เลี่ยม, เช่น มาบ่อย ๆ รู้ทีว่าคงจะประสงค์อะไรอย่างหนึ่ง.
ก. ทำให้เสียชั้นเชิง เสียเกียรติ หรือเสียความเชื่อถือ ต่อหน้าผู้อื่นหรือต่อหน้าชุมนุมชน.
น. ลายต่าง ๆ ที่เขียนหรือแกะสลัก, ฝีมือความสามารถที่แสดงให้ปรากฏ เช่น นักฟุตบอลมีลวดลายในการส่งลูก, โดยปริยายหมายความว่า มีลูกไม้หรือชั้นเชิงต่าง ๆ เช่น เขามีลวดลายในการพูดให้คนฮาได้ เขามีลวดลายในการเต้นรำ.
น. ชั้นเชิงที่ใช้หักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น นักมวยคนนี้ชกมีลำหักลำโค่นดี.
ว. ใช้ชั้นเชิงหักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น การที่จะเอาชนะนักมวยคนนี้ต้องใช้วิธีลำหักลำโค่น.
น. เล่ห์เหลี่ยม, ชั้นเชิง, กลเม็ด.
น. ชื่อปลากัดที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกหม้อหรือปลากัดหม้อกับปลากัดลูกป่าหรือปลากัดป่าหรือปลาป่าซึ่งต่างก็เป็นชนิด Betta splendens Regan ในวงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกัน ปลากัดพันธุ์นี้มีสีลำตัวและครีบออกแดง รูปร่างก้ำกึ่งระหว่างพันธุ์ทั้งสองเนื่องจากไม่มีคุณสมบัติด้านความทะมัดทะแมงและสีสันตลอดจนชั้นเชิงการต่อสู้ จึงไม่ค่อยนิยมเลี้ยงกัน.
(เลด) น. การแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที, มักใช้เข้าคู่กับคำ นัย เป็น เลศนัย.
(เลดไน) น. การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด.
แสดงชั้นเชิง เช่น วาดลวดลายในการโฆษณา.
น. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร.