(คฺละ) ว. ลักษณะที่ปนกัน ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งดีและไม่ดี เช่น ผลไม้ผลเล็กผลใหญ่ปนกัน เรียกว่า คละกัน.
(-คฺลํ่า) ว. ปนกันไป, ดื่นไป.
ก. ปนกันทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งดีและเลว เป็นต้น.
(-คฺลุ้ง) ก. คลุ้ง, เหม็นคล้ายกลิ่นของเค็มปนกับของเน่า, เช่น ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง (โลกนิติ).
(-คะละ) น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา.
(ติมิระปิงคะละ) น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา.
(-คะละ-) น. ชื่อตระกูลช้างสีแสด.
(-คะละ-) ว. สีแสด, สีนํ้าตาล.
ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของกระจุกกระจิก, จุกจิก ก็ว่า.
น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร.
แก๊สที่มีอนุภาคละเอียดของของแข็งแขวนลอยอยู่.
(คะนะ-) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา (ดุษฎีคำฉันท์).
เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของจุกจิก, กระจุกกระจิก ก็ว่า.
(ตฺรียะมก) น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคละ ๙ คำ วรรคหนึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ให้ใช้พยัญชนะที่มีเสียงพ้องกัน ๒ เสียงในแต่ละช่วง เช่น สิ้นอาสัญในอาศรมที่อาศรัย อนาถใจอนาโถโอ้อางขนาง พระองค์เดียวพระอับเปลี่ยวพระองค์นาง ม้วยชีพวางสิ้นชีวาตม์ขาดชีวัง (ศิริวิบุลกิตติ).
(ทันทิ-) น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทที่ ๑ กับบาทที่ ๓ มีบาทละ ๓ วรรค วรรคละ ๔ คำ บาทที่ ๒ กับบาทที่ ๔ มีบาทละ ๔ วรรค วรรคละ ๔ คำ กำหนดสัมผัสกันคล้ายกาพย์สุรางคนางค์ เช่น
|
(ชุมนุมตำรากลอน). |
ก. ละเลงไพ่ให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่หลังจากกินแต่ละตาแล้ว.
น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๘ คำ บังคับซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำ คือ คำท้ายวรรค (คำที่ ๖, ๗ และ ๘) กับ ๓ คำต้นวรรคถัดไป (คำที่ ๑, ๒ และ ๓) และซ้ำเสียงสระวรรคละ ๓ คู่ ในคำที่ ๓ กับ ๔ คำที่ ๕ กับ ๗ และคำที่ ๘ กับคำที่ ๑ ในวรรคถัดไป เช่น กรุงกระษัตริย์ตรัสฟังแค้นคั่งจิตร คิดแค้นใจไหวหวิดในจิตรฉงน จนฉงายกายไฉงใจร้อนรน จนร้าวราญการกระมลจิตรวนเวียน (ศิริวิบุลกิตติ์).
หลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ในที่แห่งเดียวกัน ว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน ว่า ป่าเบญจพรรณ.
(ปะกินนะกะ-) ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี.
ก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทยปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน.
(-กีระนะกะ, -เกียนระนะกะ) ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน.
น. ป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน.
น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Chaetodontidae ยกเว้นปลาโนรี ( Heniochusspp.) ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิดปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว มีเกล็ดหนามคลุมถึงบนครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด แตกต่างกันตามชนิด มักเป็นบั้ง แถบ หรือจุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง กินสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือสาหร่าย ขนาดยาวตั้งแต่ ๑๐-๓๐ เซนติเมตร มีการนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.
ว. รกชัฏ, ยุ่งเหยิง, ปนคละกันยุ่ง, เคลือบคลุม เช่น สำนวนฟั่นเฝือ.
(มิดสะระ-, มิดสะระกะ-) ว. เจือ, ปน, คละ
(มิดสะ-, มิดสะกะ-) ว. เจือ, ปน, คละ.
ก. บวกเข้าด้วยกัน, ผสมเข้าด้วยกัน, เช่น รวมคะแนน รวมเงิน, เข้าร่วมกัน, คละปนกัน, เช่น รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย อยู่รวมกัน, ผนึกเข้าด้วยกัน เช่น รวมนํ้าใจ รวมพลัง.
ก. ปนหรือผสมให้เข้ากันคละกันเป็นกลุ่มเป็นพวกเป็นต้น เช่น โจทย์ระคน.
น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง นิยมใช้ในวรรณคดีโบราณ ไม่นิยมเอกโท ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่มักใช้วรรคละ ๕ คำและใช้คำเท่ากันทุกวรรค.
ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันคนให้ทั่วหลาย ๆ หนแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินกันหลาย ๆ ตาแล้ว.
น. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์
|
(กฤษณา), |
ตัวอย่างฉันท์ |
|
(หลักภาษาไทย), |
ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น
|
(กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ). |