น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหรือสัตว์เพศผู้บางชนิด.
น. ส่วนแข็งที่หุ้มสัตว์บางชนิดเช่น เต่า ปู หรือแมงดาทะเล, พายัพว่า ออง.
น. ไม้สำหรับสงฟางในเวลานวดข้าว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตักและไม้กระดองหาย (ลักษณะธรรมนูญ), ดอง ดองหาย ดองฉาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก.
น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Gymnopetalum chinense (Lour.) Merr. ในวงศ์ Cucurbitaceae เถา ๕ เหลี่ยม มีมือจับ ผล ๑๐ เหลี่ยม สุกสีส้ม มีรสขม ใช้ทำยาได้, ขี้กาดง หรือ ขี้กาเหลี่ยม ก็เรียก.
ก. อาการที่ของเหลวเช่นนํ้าเป็นต้นกระเพื่อมอย่างแรงหรือล้นหกเพราะความสั่นสะเทือน, (ปาก) กระดอนหรือกระเด้ง เช่น ลูกบอลกระฉอกออกจากมือผู้รักษาประตู.
ก. ดีดหรือดันขึ้นเมื่อถูกกดหรือถูกบีบเป็นต้น, กระดอนขึ้น
ก. กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น.
น. ชื่อเต่านํ้ากร่อยขนาดใหญ่ชนิด Batagur baska (Gray) ในวงศ์ Emydidae จมูกแหลมงอนคล้ายตะพาบ เมื่อยังเล็กกระดองค่อนข้างแบน เมื่อโตขึ้นกระดองโค้งรี เพศเมียหัวและกระดองสีน้ำตาล เพศผู้หัวและกระดองสีดำตาสีขาว ตีนมีพังผืดเต็ม สามารถปรับตัวอยู่ในนํ้าจืดได้ พบในบริเวณที่มีน้ำไหลทางภาคใต้โดยเฉพาะแถบจังหวัดสตูล, กะอาน ก็เรียก.
น. ไม้สำหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย คันฉาย ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก.
น. ไม้สำหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย ขอฉาย ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก.
น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Caretta caretta Linn. ในวงศ์ Cheloniidae หัวโตกว่าเต่าทะเลชนิดอื่น เกล็ดกระดองหลังแถวข้างมี ๕ ชิ้น กระดองสีนํ้าตาลหรือนํ้าตาลแดง ท้องสีขาวครีม พบในมหาสมุทรแปซิฟิก เขตนํ้าอุ่นของมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย พบน้อยในอ่าวไทย, เรียกไข่เต่าทะเลทุกชนิด ว่า ไข่จะละเม็ด.
น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Phricotelphusa sirindhorn Naiyanetr ในวงศ์ Potamidae กระดองและขาก้ามสีขาว เบ้าตาและขาสีม่วงอมดำ อาศัยอยู่บริเวณน้ำตกตามซอกหินบนภูเขาระดับสูง พบในจังหวัดระนอง ราชบุรี และเพชรบุรี.
น. ไม้สำหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย ขอฉาย คันฉาย ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก.
น. ไม้สำหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, ดอง กระดองหาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก.
น. ชื่อปูทะเลชนิด Scylla serrata (Forskål) ในวงศ์ Portunidae กระดองมีสีดำ ขาหลังคู่สุดท้ายแบนคล้ายใบพายใช้ว่ายน้ำ, ปูทะเล ก็เรียก.
ก. ดีดหรือดันขึ้นเมื่อถูกกดหรือถูกบีบเป็นต้น, กระดอนขึ้น
(-อะมะริด, -อะมะรึด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสเลิศ ๓ อย่าง คือ รากกล้วยตีบ รากกระดอม รากมะกอก.
น. ชื่อเต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Trionychidae กระดองไม่มีเกล็ดเป็นแผ่นหนังอ่อนนิ่มมีเชิงแผ่กว้าง หลายชนิดมีจมูกยื่นยาว บางชนิดจมูกสั้น ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย ชนิดที่พบมาก ได้แก่ ตะพาบสวน [ Amyda cartilageneus (Boddaert) ] ชนิดที่พบน้อย ได้แก่ ม่านลาย ( Chitra chitra Nutphand), กริว กราว หรือ ปลาฝา ก็เรียก, ปักษ์ใต้ เรียก จมูกหลอด.
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายวงศ์ ในอันดับ Testudines คอยาว ลำตัวสั้น มีกระดองหุ้ม กระดองมีทั้งที่เป็นแผ่นเกล็ดแข็งและที่เป็นแผ่นหนัง ขาและหางสั้นส่วนใหญ่หดเข้าไปในกระดองได้ มีถิ่นอาศัยต่าง ๆ กัน ที่อยู่บนบก เช่น เต่าเหลือง ที่อยู่ในนํ้าจืด เช่น เต่านา ที่อยู่ในทะเล เช่น เต่าตนุ พวกที่มีหนังหุ้มกระดองเรียก ตะพาบ เช่น ตะพาบสวน.
น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด Siebenrockiella crassicollis (Gray)ในวงศ์ Emydidae หัวสีดำมีแต้มสีขาวที่ขมับ กระดองหลังสีดำกว่าเต่าชนิดอื่น ๆ อาศัยตามโคลนเลนบนพื้นท้องน้ำ, ดำแก้มขาว ก็เรียก.
น. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria impressa (Günther) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมข้างละ ๑ เดือย ลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาจากผิวหนัง กระดองสีเหลืองส้มปนน้ำตาล มีแผ่นเกล็ดบางส่วนโปร่งใส ตัวเต็มวัยมีความยาวกระดองหลัง ๒๕-๓๐ เซนติเมตร จัดเป็นเต่าบกที่สวยงามชนิดหนึ่ง กินเห็ดป่านานาชนิด อาศัยอยู่ตามเขาสูงที่เป็นป่าดิบเขา พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันตก และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ควะ ก็เรียก.
(ตะหฺนุ) น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Chelonia mydas (Linn.) ในวงศ์ Cheloniidae เกล็ดกระดองหลังแต่ละเกล็ดมีลายเป็นทางคล้ายแสงอาทิตย์ จึงมีผู้เรียกว่า เต่าแสงอาทิตย์ ตีนแบนเป็นพาย ตีนหน้าใหญ่ยาวใช้เป็นหลักในการว่ายน้ำ ปรกติอาศัยอยู่ในทะเล จะขึ้นมาตามชายหาดเฉพาะเมื่อจะวางไข่เท่านั้น.
น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดกลาง ชนิด Malayemis subtrijuga (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Emydidae หัวโตสีดำมีลายสีขาวเป็นทางยาวมาถึงคอ กระดองสีน้ำตาล แผ่นเกล็ดขอบกระดองสีน้ำตาลเข้ม อาศัยกินสัตว์ขนาดเล็กตามท้องนาและหนองบึงทั่วไป.
น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด Platysternon megacephalum Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ (P. m. megacephalum Gray), ปูลูพม่า (P. m. peguens Gray) และปูลูไทย ( P. m. vogeli Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก.
น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Dermochelys coriacea (Vandelli) ในวงศ์ Dermochelyidae กระดองหลังยาวมากกว่า ๒ เมตร คลุมด้วยแผ่นหนังแข็ง มีสันตามแนวยาว ๗ สัน ลักษณะคล้ายผลมะเฟือง ไม่มีแผ่นเกล็ด กินทั้งสัตว์และพืช เช่น แมงกะพรุน ปลา กุ้ง ปู เม่นทะเล สาหร่ายทะเล ปัจจุบันพบเฉพาะทางฝั่งทะเลอันดามัน เป็นเต่าที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน, เต่าเหลี่ยม ก็เรียก.
น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้.
น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Heosemys grandis (Gray) ในวงศ์ Emydidae หัวสีน้ำตาลมีลายจุดสีส้ม กระดองสีนํ้าตาลแดงอาศัยอยู่บนบกใกล้บึงและแม่นํ้าลำคลอง ผสมพันธุ์ในน้ำ ปัจจุบันพบน้อยในถิ่นธรรมชาติ.
น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cuora amboinensis (Daudin) ในวงศ์ Emydidae หัวสีดำมีลายสีเหลืองตามขอบหัวด้านบน ที่พบในประเทศไทยกระดองหลังโค้งนูนมาก ที่พบในต่างประเทศกระดองหลังแบน กระดองท้องเป็นบานพับแบ่งออกเป็น ๒ ตอน และสามารถหับปิดหัว ขา และหางได้สนิท จึงเรียกว่า เต่าหับ อาศัยอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าอยู่ในน้ำ.
น. ชื่อเต่าบกขนาดกลางชนิด Indotestudo elongata (Blyth) ในวงศ์ Testudinidae หัวสีเหลือง กระดองหลังสีเหลืองมีลายเปรอะสีน้ำตาล กระดองท้องสีเหลืองไม่มีลาย กินพืช เช่น หญ้าเพ็ก, เพ็ก ขี้ผึ้ง เทียน หรือ แขนง ก็เรียก.
น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr ในวงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด ขาและขาก้ามสีเหลืองอมส้ม ปลายก้ามและขาสีขาว ขุดรูอยู่ พบในป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม.
น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Esanthelphusa dugasti (Rathbun) ในวงศ์ Parathelphusidae กระดองและขาสีม่วงอมดำ ขุดรูอยู่ตามท้องนา ถ้านำมาดองน้ำเกลือ เรียก ปูดอง.
น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่ง เอาเนื้อปูผสมเครื่องกับไข่แล้วใส่กระดองปูนึ่งหรือทอด.
น. ชื่อปูทะเลหลายชนิดในสกุล Portunusวงศ์ Portunidae ผิวกระดองมีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สาก กระดองตัวผู้สีฟ้าหรือนํ้าเงิน ของตัวเมียสีค่อนไปทางนํ้าตาล เช่น ชนิด P. pelagicus (Linn.).
น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra Nutphand ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่ากระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน กินปลา, กริวลาย ม่อมลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก.
น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Thaiphusa sirikit (Naiyanetr) ในวงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงอมน้ำเงิน ขอบกระดองและขาก้ามสีขาว ขาสีแดง อาศัยอยู่ตามลำห้วย พบที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี, ปูสามสี หรือ ปูไตรรงค์ ก็เรียก.
น. กระดองปลาหมึกชนิดหนึ่ง สำหรับใช้ทำยาและขัดสิ่งของเป็นต้น.
(สะแหฺม) น. ชื่อปูน้ำกร่อยหลายชนิดในสกุล Episesarma วงศ์ Grapsidae ลักษณะกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม สีคล้ำค่อนไปทางน้ำตาลดำ ระหว่างตามีลักษณะเป็นลอนคล้ายลูกฟูก อาศัยอยู่ตามป่าชายเลน เช่น ชนิด E. mederi (H. Milne Edwards) ชนิดนี้ถ้านำมาดองน้ำเกลือ เรียก ปูเค็ม.
น. ชื่อสัตว์ทะเลที่ไม่ใช่ปลา ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Cephalopoda ไฟลัม Mollurea มีอวัยวะที่เรียกกันว่า หนวดหรือแขน อยู่รอบปาก ใช้พยุงตัวและจับเหยื่อ มีถุงบรรจุน้ำสีดำคล้ายหมึกสำหรับปล่อยลงน้ำเพื่อพรางตัว มีหลายชนิด เช่น หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonisEhrenberg) ในวงศ์ Sepiidae หมึกกล้วย [ Photololigo duvaucelii (d’ Orbigny) ] ในวงศ์ Loliginidae, ปลาหมึก ก็เรียก.