น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน ใช้อย่างเป้ มีสายรัดไขว้ที่หน้าอก หรือคาดที่หน้าผาก, อีสานว่า กะพา.
(กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
ก. เอาแขนประสานกันไว้ที่อก.
น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน ใช้อย่างเป้ มีสายรัดไขว้ที่หน้าอก หรือคาดที่หน้าผาก.
น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับคาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ.
น. เรียกโอชะของบางสิ่ง เช่น ง้วนดิน คือ โอชะของดิน ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัยว่ามีรสหวาน, ง้วนผึ้ง คือ ละอองดอกไม้ที่ผึ้งนำมาสะสมไว้ที่รัง มีสีเหลือง มีรสมัน หอมหวาน.
เรียกธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
ก. เขียนบอกไว้ข้างหน้า เช่น จ่าหน้าซอง, เขียนบอกไว้ที่ต้นเรื่อง เช่น จ่าหน้าเรื่อง.
ก. เอายาจืดหรือยาฉุนทำเป็นก้อนกลม ๆ จุกไว้ที่มุมปาก.
รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุสินค้า เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสำอาง.
(ฉัด) น. ไม้เล็ก ๆ ซึ่งจัดไว้ที่วงฆ้องระหว่างลูกฆ้อง.
ก. หมายไว้, กำหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคำ กฎ เป็น กำหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา (พระอัยการบานแพนก), สรนุกนิเรียบเรือชา (สมุทรโฆษ).
น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้กัน เหน็บไว้ที่บริเวณสะดือ แล้วดึงชายข้างใดข้างหนึ่งให้ยาวกว่า มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอว ใส่เงินหรือหมากเป็นต้นได้.
ก. เอากิ่งไม้ที่ตัดมาปักไว้ที่ที่ดินแฉะ ๆ หรือแช่นํ้าไว้ชั่วคราว เพื่อให้รากงอก
น. รูปอารักษ์แบบจีนผู้รักษาประตูวัด วัง หรือศาลเจ้า มักเขียน สลัก หรือปั้นไว้ที่บานประตูหรือ ๒ ข้างช่องประตู.
(-เสียกะบาน) น. ตุ๊กตาที่ใส่กระบะกาบกล้วยพร้อมทั้งเครื่องเซ่นผีแล้วนำไปวางไว้ที่ทางสามแพร่งหรือลอยนํ้า.
น. เครื่องบนของเรือนลักษณะเป็นไม้ท่อนสี่เหลี่ยมแบน สอดโคนไว้ที่ช่องต่ำกว่าปลายเสาเรือน ตอนปลายใช้รับเชิงกลอน, ถ้าอยู่ตามเสารายข้างเรือน เรียกว่า เต้าราย, ถ้าอยู่ที่เสามุมเรือน มีเต้ายื่นออกไปอย่างน้อย ๒ ตัว เรียกว่า เต้ารุม.
น. เตียงเล็ก ๆ สำหรับทอดไว้ที่หน้าพระที่นั่งหรือพระแท่นบรรทมสำหรับก้าวขึ้นลง.
ก. อพยพครอบครัว, กวาดต้อนผู้คนพลเมืองจากถิ่นฐานเดิมไปไว้ที่อื่น, เช่น ในปีเดียวนั้นให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวงลงมายังกรุงพระนครศรีอยุทธยา (พงศ. ประเสริฐ)
ชื่อท่าไหว้ครูมวยหรือกระบี่กระบองท่าหนึ่ง, ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง มือทั้งสองพนมไว้ที่ระหว่างอก.
น. ธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัด แสดงว่ารับกฐินแล้ว, คู่กับ ธงนางเงือก.
น. ธงผืนผ้ามีรูปนางเงือกตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่าน้ำหน้าวัด แสดงว่ารับกฐินแล้ว, คู่กับ ธงจระเข้.
น. เรียกวิธีทำนายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตรเป็นต้นแล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทำนายไปตามลักษณะหยดเทียนที่ปรากฏในนํ้านั้น
(-คาวะ-) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์ไปทางซ้าย (เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย).
น. สิ่งที่ทำเป็นรูปใบโพ เช่นแผ่นโลหะทำเป็นรูปใบโพแขวนไว้ที่ปลายลูกเน่ง เพื่อรับลมไปแกว่งลูกเน่งให้กระทบตัวกระดิ่งหรือกระดึงให้เกิดเสียงดัง.
น. ผ้าซึ่งเจ้าบ่าวนุ่งในพิธีซัดนํ้าแต่งงานแล้วผลัดพาดไว้ที่เรือนหอ มีของมีค่าอยู่ในนั้นเพื่อเป็นรางวัลผู้เอาไปซัก.
น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น
(พฺรมมะ-, พฺรม-) น. อำนาจที่กำหนดความเป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่งเกิดได้ ๖ วัน).
ก. ก่าย เช่น ขาพาดหมอนข้าง, ทอด เช่น พาดบันได พาดสะพาน, พิง เช่น เอาบันไดพาดไว้ที่กำแพง, วางทาบลง, วางทาบห้อยลง, เช่น ผ้าขาวม้าพาดบ่า พาดผ้าไว้ที่ราว พาดผ้าสังฆาฏิ.
น. ดอกไม้ที่จัดเป็นพุ่มบนพาน ตะลุ่ม หรือ โตก มีเทียนขี้ผึ้งซึ่งติดเงินเหรียญโดยรอบตั้งอยู่ตรงกลาง ปัจจุบันมักใช้ก้านธูปคีบธนบัตรปักไว้ที่ต้นเทียน.
น. ม่านที่แขวนห้อยไว้ที่เสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.
น. ม่าน ๒ ชายที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน สำหรับประดับช่องทางประตูหน้าต่างเป็นต้น.
น. จุดที่เส้น ๒ เส้นมาบรรจบกัน เช่น เดินชนมุมโต๊ะ, เนื้อที่ตรงด้านยาวกับด้านสกัดมาบรรจบกัน เช่น วางตู้ไว้ที่มุมห้อง, ที่ว่างซึ่งเกิดจากเส้นตรง ๒ เส้น แยกออกจากกัน โดยปลายข้างหนึ่งของแต่ละเส้นอยู่ร่วมจุดเดียวกัน เช่น มุมฉาก มุมแหลม, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถูกต้อนเข้ามุม จนมุม.
น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นละเอียด มีรสจืด สีเหลืองนวล ใช้เช็ดปากเช็ดฟันในเวลากินหมากแล้วม้วนเป็นก้อนเล็ก ๆ จุกไว้ที่มุมปาก, ยาฝอย ก็เรียก.
ก. รวมอำนาจ เช่น รวบอำนาจมาไว้ส่วนกลาง รวบอำนาจมาไว้ที่คนคนเดียว.
น. เครื่องสำหรับดักสัตว์ มี นก ไก่ เป็นต้น มีบ่วงติดอยู่กับปลายของไม้ที่เรียกว่า คันแร้ว ซึ่งเอาโคนปักไว้ที่ดินทำปลายให้โน้มลงมา มีไกที่เรียกว่า ปิ่น ขัดไว้ระหว่างหลักขัดแร้วกับคอน วางบ่วงดักไว้บนคอน เมื่อสัตว์มาจับคอนตรงที่วางบ่วงไว้ ไม้คอนจะเลื่อนลง ทำให้ปิ่นหลุด บ่วงก็จะรูดมัดขาไว้.
ตะกั่วก้อนกลม ๆ เจาะรูผูกไว้ที่ปลายทั้ง ๒ ข้าง ใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเป็นอาวุธ
ก. วิ่งเก็บสิ่งของเช่นส้ม มะนาว ที่วางเป็นระยะ ๆ แล้วไปใส่ภาชนะที่วางไว้ที่ตั้งต้น ใครเก็บหมดก่อนเป็นผู้ชนะ.
ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่น เอาไว้ตรงนั้นแหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคำเพื่อให้ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดำรงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
น. ศาลาที่ลักษณะเป็นโรงยาว มีฐานสำหรับตั้งบาตรได้หลายลูก มักปลูกไว้ในย่านกลางหมู่บ้านที่อยู่ไกลวัด ในเวลาเทศกาลที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ก็จะตั้งบาตรเรียงไว้ที่ศาลานั้นเพื่อให้ประชาชนได้ตักบาตร.
(-หฺรี) น. เครื่องแต่งกายสตรีอินเดียแบบหนึ่ง เป็นผ้าชิ้นยาวประมาณ ๕-๖ เมตร ใช้เป็นทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ส่วนที่นุ่ง ยาวกรอมส้น พันรอบตัวและจีบข้างหน้าเหน็บไว้ที่เอว ส่วนผ้าห่มใช้ชายผ้าที่เหลือพาดอกและสะพายบ่า โดยมากเป็นบ่าซ้ายห้อยชายไปข้างหลัง ชายที่ห้อยดึงมาคลุมหัวก็ได้.
น. เสาที่ทำรูปหงส์ติดไว้ที่ยอด มักปักอยู่ตามหน้าวัดของชาวรามัญ.
ก. แทงคาไว้ เช่น เอาไม้แหลมเสียบปลา เอามีดเสียบพุง, เอาของดันลงบนปลายสิ่งที่แหลม ๆ เช่น เอากระดาษเสียบบนที่เสียบกระดาษ, เหน็บ เช่น เอาจดหมายเสียบไว้ที่ประตู
น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสขีดเป็นตา ๑๖ ตา มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย ฝ่ายเสือมี ๔ ตัว ฝ่ายวัวมี ๑๒ ตัว โดยฝ่ายเสือวางเสือ ๔ ตัวไว้ที่มุมทั้ง ๔ แล้วฝ่ายวัวจะวางวัวลงในช่องทีละตัว พยายามไม่ให้เสือกินได้ การเดินต้องเดินทางตรงทีละช่อง เวลาเสือกินวัวต้องข้ามวัวไป ๑ ช่อง ถ้าเสือถูกล้อมจนเดินไม่ได้ ฝ่ายเสือก็แพ้ ถ้าฝ่ายวัวถูกเสือกินหมด ฝ่ายวัวก็แพ้.
น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มที่มีลำตัวกลมเป็นปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ขนาดแตกต่างกันมีตั้งแต่ ๒๐ เซนติเมตร ถึง ๑ เมตร มีสองเพศในตัวเดียวกัน สืบพันธุ์โดยการจับคู่ ชนิดที่รู้จักกันดี คือ ชนิด Pheretima peguana (Rosa) ในวงศ์ Megascolecidae มักพบชุกชุมตามดินร่วนซุย ตามใต้กองขยะมูลฝอย อยู่ในรูขนาดเท่าลำตัว กินดินที่มีอินทรียวัตถุและถ่ายมูลไว้ที่ปากรู มักใช้เป็นเหยื่อตกปลา, ไส้เดือนดิน หรือ รากดิน ก็เรียก.
น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งตั้งวงระดับหน้า เฉียงมาไว้ที่ใต้แขนที่ตั้งวงสูง เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือต่ำ.
น. หลักไม้เนื้อแข็งที่มักปักไว้ที่ข้างแคมเรือข้างละอันคู่กัน มีหูกระเชียงอยู่ข้างบนสำหรับพาดกระเชียง, หลักกรรเชียง ก็ว่า.
น. ถ้อยคำหรือวลีที่แสดงสาระสำคัญของเรื่องซึ่งเขียนไว้ที่ต้นเรื่อง.
(-เหฺลน) น. ผมของเด็กที่เอาไว้ที่ท้ายทอยเล็กกว่าผมเปีย.