น. ดินหรือหินที่สูงขึ้นเป็นโคกเป็นเนิน, ดิน หิน หรือทรายที่เป็นจอมสูงขึ้นพ้นนํ้าบ้าง อยู่ใต้นํ้าบ้าง.
(ขะโดง) น. กระโดง, ใบเรือ.
(-ขะโดง) น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า.
(-ขะโดง) น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.
น. ตะพัก, โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ (ม. ร่ายยาว กุมาร).
น. ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส (ม. กาพย์ วนปเวสน์), ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae หัวโต รูปร่างป้อม เรียวยาวไปทางหาง แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคลํ้าทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่งหรือเกาะ.
น. พืดหินหรือโขดหินที่กีดขวางทางนํ้า มักจะมีตามต้นแม่นํ้า.
น. พื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง ตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, เนิน, โคก, โขด
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Xylocarpus rumphii (Kostel.) Mabb. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามโขดหินชายทะเล.
โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ (ม. ร่ายยาว กุมาร).
น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด Platysternon megacephalum Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ (P. m. megacephalum Gray), ปูลูพม่า (P. m. peguens Gray) และปูลูไทย ( P. m. vogeli Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก.
น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในชั้น Anthozoa ส่วนมากตัวมีขนาดเล็ก พวกเดียวกับดอกไม้ทะเล รูปทรงกระบอก อาศัยอยู่เดี่ยว ๆ หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สร้างหินปูนห่อหุ้มตัวเป็นโครงร่างหลายแบบ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลเขตร้อน บริเวณชายฝั่งและรอบ ๆ เกาะ เช่น ปะการังเห็ด [ Fungia fungites (Linn.) ] ปะการังเขากวาง [ Acropora formasa (Dana) ] ในโครงสร้างที่ทับถมกันเพิ่มมากขึ้น เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือเทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือเทือกปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในสกุล Capraวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ขนาดกลาง ขนลำตัวหยาบสีดำ ขาว หรือนํ้าตาล มีเขา ๑ คู่ ตัวผู้มีเครา หางสั้น มีความอดทน แข็งแรง และทนทานต่อโรคได้ดีกว่าสัตว์กีบคู่อื่น ๆ สามารถปีนป่ายที่สูงโดยเฉพาะโขดหินหรือภูเขาได้ดี ที่นิยมนำมาเลี้ยง เช่น ชนิด Capra aegagrus hircus Linn.
น. ชื่อสัตว์ทะเลจำพวกหอย หลายชนิด ชั้น Polyplacophora ลำตัวเป็นรูปไข่ผ่าซีก เปลือกคลุมตัวด้านหลังมี ๘ ชิ้น วางเหลื่อมซ้อนกันเหมือนกระเบื้องมุงหลังคา เกาะอยู่ตามโขดหินชายทะเล เช่น ชนิด Chitonsp., Acanthopleura spinosa (Brugiere), หอยแปดเกล็ด ก็เรียก.
(สะไหฺล, ไสละ-) น. เขาหิน เช่น โขดเขินเนินไศล.
น. ชื่อปูทะเล มีหลายสกุลหลายวงศ์ ต่างจากปูทั่วไปที่มีท้องอ่อนนิ่ม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเปลือกหอยกาบเดี่ยว พบตามชายฝั่งหรือน้ำลึก เช่น ในสกุล Clibanariusวงศ์ Paguridae อยู่ตามโขดหินชายทะเล, ในสกุล Coenobitaวงศ์ Coenobitidae อยู่บนบกริมทะเล, ในสกุล Parapagurusวงศ์ Parapaguridae อยู่ในน้ำลึกระหว่าง ๘๐-๒๐๐ เมตร.
(โสโคฺรก) น. เรียกแนวพืดหินหรือโขดหินใต้นํ้าใกล้ ๆ ผิวพื้นน้ำทะเล อาจมีบางส่วนโผล่พ้นน้ำหรือปริ่มน้ำก็ได้ เป็นอันตรายแก่การเดินเรือ ว่า หินโสโครก.
น. แนวพืดหินหรือโขดหินใต้น้ำใกล้ ๆ ผิวพื้นน้ำทะเล อาจมีบางส่วนโผล่พ้นน้ำหรือปริ่มน้ำก็ได้ เป็นอันตรายแก่การเดินเรือ.