ว. ร่องแร่ง, อาการที่ห้อยติดอยู่จวนจะหลุด.
(ชะระ-) ก. แบ่ง, แยก, เช่น ฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู (แช่งนํ้า).
ก. แสดงอาการดีอกดีใจหรือสนุกสนานด้วยการกระโดดโลดเต้น.
ว. อาการที่ห้อยติดอยู่จวนจะหลุด เช่น เขาถูกฟันแขนห้อยร่องแร่ง แมวคาบหนูห้อยร่องแร่ง, กะร่องกะแร่ง.
น. เครื่องร่อนของละเอียด.
ก. กิริยาที่ใช้แร่งร่อนของละเอียด เช่น แร่งแป้ง.
น. ที่วางศพหามศพรูปอย่างแคร่.
น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae หัวเล็ก ลำคอไม่มีขนหรือเป็นขนอุยห่าง ๆ ปีกกว้าง หางสั้น ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง กินซากสัตว์ ไม่ล่าเหยื่อเหมือนเหยี่ยวและอินทรีทั่วไป เช่น แร้งเทาหลังขาว [ <i>Gyps</i> <i>bengalensis</i> (Gmelin) ] แร้งดำหิมาลัย [ <i>Aegypius monachus</i> (Linn.) ] พญาแร้ง [ <i>Sarcogyps calvus</i> (Scopoli) ], อีแร้ง ก็เรียก.
น. ชิ้นฉีก, สิ่งที่ฉีกเป็นชิ้น ๆ.
<i>ดู กระต่ายจาม (๑)</i>.
น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Compositae ใบมีขน กลิ่นฉุน คือ ชนิด <i>Ageratum conyzoides</i> L. ดอกสีฟ้าอ่อน และชนิด <i>Blumea aurita</i> (L. f.) DC. ดอกสีขาว ต้นสูงกว่าชนิดแรก.
ว. ที่ทำได้ง่ายมาก, ที่ทำได้สะดวกมาก, คล่องมาก.
น. เหล็กที่ปลายมีลักษณะคล้ายหัวของนกแร้ง ใช้เผาไฟให้ร้อนจัดแล้วจี้ตะกั่วบัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ติดกัน, เครื่องมือไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เมื่อทำให้ปลายร้อนจัดด้วยกระแสไฟฟ้า ใช้จี้ตะกั่วบัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ติดกัน เรียกว่า หัวแร้งไฟฟ้า.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Centipeda minima</i> (L.) A. Braun et Asch. ในวงศ์ Compositae ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มตํ่า แฉะ ต้นเตี้ยติดดินคล้ายต้นผักเบี้ย ใบเล็กเว้าข้างทั้ง ๒ ด้าน ปลายใบแหลมคล้ายสามง่าม ใบมีกลิ่นเหม็น ใช้ทำยาได้ แต่เป็นพิษต่อปศุสัตว์, กระต่ายจันทร์ สาบแร้ง หญ้ากระจาม หญ้าจาม หรือ เหมือดโลด ก็เรียก.
น. ขนมทำด้วยข้าวเหนียวแช่แล้วตำละเอียด ทำให้เป็นก้อน ขูดบนแร่งลงกระทะ เมื่อแป้งจับเป็นแผ่นแล้ว ใส่ไส้มะพร้าวขูดผัดกับน้ำตาล พับเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม แล้วอบให้หอม.
(คฺรึทฺระ) น. แร้ง, ในบทประพันธ์ใช้ว่า คฤธร ก็มี เช่น เกิดเป็นภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อนก็ร้อง (สมุทรโฆษ).
ก. พยายามดึงของเหนียวหรือสิ่งที่ติดอยู่แน่นโดยแรง เช่น ทึ้งผม, แย่งกัน เช่น แร้งทึ้งศพ ทึ้งสมบัติของชาติ.
น. เครื่องสำหรับขีดเขียนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตัวปากและด้าม ตัวปากมักทำด้วยโลหะ เช่น ปากกาคอแร้ง ปากกาเบอร์ ๕ ใช้เสียบที่ด้ามจุ้มหมึกหรือน้ำสีอื่นเขียน.
แยกเอาของละเอียดออกจากของหยาบ โดยใช้เครื่องแยกมีแร่งเป็นต้นแกว่งยักไปย้ายมา ให้ของที่ละเอียดหลุดลงไป เช่น ร่อนข้าว, แกว่งวนเวียนไปรอบตัว เช่น ร่อนดาบ