แรงดึง, Example:แรงที่จะทำให้วัตถุแยกออกจากกัน [สิ่งแวดล้อม]
แรงดึงประลัย, Example:แรงดึงขนาดที่จะทำให้วัตถุนั้นแยกออกห่างจากกันเป็นส่วน[สิ่งแวดล้อม]
ยาง CR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน มีทั้งประเภทที่ใช้งานทั่วไปและประเภทใช้งานพิเศษ เช่น ทำกาวยาง ยางใช้เคลือบ และวัสดุอุดรอยรั่ว เป็นต้น เนื่องจากโมเลกุลของยาง CR สามารถจัดเรียงตัวได้อย่างเป็นระเบียบภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ยางชนิดนี้จึงสามารถตกผลึกได้เช่นเดียวกับยางธรรมชาติ มีค่าความทนต่อแรงดึงสูง มีค่าความทนต่อการฉีกขาดและความต้านทานต่อการขัดถูสูง ยาง CR มีสมบัติทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี และทนต่อความร้อน แสงแดด และโอโซนได้ค่อนข้างดี และยังมีสมบัติการหน่วงไฟ จึงนิยมนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานภายนอกอาคาร เช่น ยางขอบหน้าต่าง ยางรองคอสะพาน ยางปลอกสายเคเบิล เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางพอลิไอโซพรีนหรือยาง IR เป็นยางสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกับยางธรรมชาติ จึงมีสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกับยางธรรมชาติมาก และสามารถใช้แทนยางธรรมชาติในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติแล้ว ยาง IR มีสมบัติเชิงกล เช่น ความทนต่อแรงดึง และความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายางธรรมชาติเล็กน้อย เนื่องจากยาง IR มีสัดส่วนของโครงสร้างแบบ cis- ที่ต่ำกว่ายางธรรมชาติจึงมีแนวโน้มที่จะตกผลึกได้น้อยกว่า แต่มีข้อดีคือ ยางมีคุณภาพสม่ำเสมอมากกว่ายางธรรมชาติ มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และมีสีขาวสวย[เทคโนโลยียาง]
อัตราส่วนระหว่างความเค้นต่อความเครียดในช่วงเส้นตรงของกราฟจากการ ทดสอบแรงดึงหรือแรงอัด รู้จักกันในชื่อของ Young's modulus[เทคโนโลยียาง]
ยางพอลินอร์บอนีนเป็นยางที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงมาก สามารถเติมสารทำให้ยางนิ่มได้ถึง 150-300 phr ในขณะที่ยางยังคงรักษาสมบัติเชิงกลต่างๆ ได้ดี มีสมบัติเด่นคือ ทนต่อแรงดึงได้ดีแม้ว่ายางจะมีค่าความแข็งต่ำมาก เช่น 15 Shore A นิยมใช้ในการผลิตลูกกลิ้งป้อนกระดาษแบบอ่อนสำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางพอลิยูรีเทนได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่ไอโซไซยาเนต (isocyanate, -N-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl, -OH) เกิดเป็นพันธะยูรีเทน (-NH-CO-O-) ขึ้น ถ้าหมู่ R ในพอลิออลเป็นพอลิเอสเทอร์ จะเรียกว่า พอลิเอสเทอร์ยูรีเทน (AU) และถ้าหมู่ R เป็นพอลิอีเทอร์ จะเรียกว่า พอลิอีเทอร์ยูรีเทน (EU) สมบัติทั่วไปของยางพอลิยูรีเทน คือ มีความทนต่อแรงดึง ความทนต่อการฉีกขาด ความแข็ง ความต้านทานต่อการขัดถู รวมทั้งมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน ความร้อน และโอโซนดีมาก แต่จะเสื่อมสภาพได้ง่ายถ้าใช้งานในที่ร้อนชื้นหรือในสภาวะที่ต้องสัมผัสกับ น้ำร้อน ไอน้ำ กรด หรือด่าง (เกิดการไฮโดรไลซิส) สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ท่อยาง ข้อต่อยาง ปลอกหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง ล้อสเก็ต ยางพื้นรองเท้า ยางซีล ปะเก็น เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ความสามารถของสารตัวเติมในการเพิ่มประสิทธิภาพสมบัติเชิงกลเช่น มอดุลัส ความทนต่อแรงดึง ของยางให้สูงขึ้น โดยสารตัวเติมที่เติมลงไปนี้ไม่มีส่วนเข้าไปทำปฏิกิริยาในกระบวนการวัลคาไน ซ์[เทคโนโลยียาง]
สารตัวเติมเสริมแรง คือ สารตัวเติมที่เติมลงไปในยางแล้วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมบัติเชิงกล เช่น มอดุลัส ความทนต่อแรงดึง ของยางให้สูงขึ้น ตัวอย่างสารตัวเติมเสริมแรง ได้แก่ เขม่าดำ และซิลิกา[เทคโนโลยียาง]
ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
แรงที่กระทำต่อหน่วยพื้นที่ในเนื้อของสสารและวัสดุ มีหลายประเภท เช่น แรงดึง แรงกด แรงเฉือน เป็นต้น สามารถคำนวณได้จาก แรงที่ให้หารด้วยขนาดพื้นที่หน้าตัดที่รับแรง[เทคโนโลยียาง]
ยางเอสบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตโดยการเตรียมโคพอลิ เมอร์ระหว่างสไตรีนและบิวทาไดอีนด้วยวิธีพอลิเมอไรเซชั่นแบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization) มีชื่อเรียกว่า Buna-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1) และ GR-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นยางที่ใช้ในงานทั่วไป ราคาไม่แพง มีหลายเกรดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์ ยางเอสบีอาร์เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติจะมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่า มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และที่สำคัญคือ ไม่ต้องบดยางให้นิ่มก่อนทำการผสมเคมียางเนื่องจากยางชนิดนี้ถูกสังเคราะห์มา ให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่ไม่สูงมากนัก จึงมีความหนืดที่เหมาะสมทำให้สารเคมีกระจายตัวได้ดี ไหลได้ง่ายในระหว่างการขึ้นรูป มีแนวโน้มที่จะเกิดยางตายในระหว่างกระบวนการผลิตน้อยกว่า มีอัตราเร็วในการคงรูปช้ากว่าและถูกออกซิไดซ์ได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทำให้สามารถผสมยางในเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิสูงกว่าได้ แม้ว่ายางเอสบีอาร์จะมีค่าความทนต่อแรงดึงและความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายาง ธรรมชาติ เนื่องจากไม่สามารถเกิดการตกผลึกได้เมื่อถูกยืด แต่ถ้ามีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงลงไปก็สามารถทำให้ค่าดังกล่าวสูงใกล้ เคียงหรือต่ำกว่ายางธรรมชาติเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ และส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อยานพาหนะขนาดเล็กโดยใช้ผสมกับ ยางชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ ยางบิวทาไดอีน[เทคโนโลยียาง]
ความเค้นดึงสูงสุดที่ชิ้นงานทดสอบรับได้จนชิ้นงานเกิดการขาดในการทดสอบ แรงดึง[เทคโนโลยียาง]
แรงต่อหน่วยพื้นที่ที่ทำให้ชิ้นวัสดุหรือบางบริเวณของชิ้นวัสดุมีแนว โน้มที่จะยืดตัวออกตามแนวแรงดึง[เทคโนโลยียาง]
เป็นเครื่องมือวัดสมบัติความทนต่อแรงดึงของยางคงรูป ซึ่งสมบัติความทนต่อแรงดึงเป็นสมบัติเชิงกลพื้นฐานที่โรงงานอุตสาหกรรมยาง ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นตัวกำหนดคุณภาพหรือสเปคของผลิตภัณฑ์ วิธีการวัด คือ จะให้แรงดึงกับชิ้นงานตัวอย่างจนกระทั่งชิ้นงานขาด วัดความทนต่อแรงดึงสูงสุด ณ จุดขาด (tensile strength) และสามารถระบุได้ว่าชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยยืดไปกี่ เปอร์เซ็นต์ (elongation at break) วิธีการวัดและชิ้นงานที่ใช้จะต้องทำตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ISO 37 หรือ ASTM D412[เทคโนโลยียาง]
การยึดติด, แรงดึงดูดระหว่างอนุภาคของสารชนิดเดียวกัน, การเกาะติด, พังผืด, การติดกัน, เนื้อเยื่อเหนี่ยวรั้ง, เยื่อพังผืด, พังผืดยึด, การยึดด้วยพังผืด[การแพทย์]
ศูนย์การเจริญของกระดูกที่อยู่ภายใต้แรงดึง[การแพทย์]
ศูนย์การเจริญของกระดูกที่อยู่ภายใต้แรงดึงอักเสบ[การแพทย์]
หลุดหายไป, หลุด, แรงดึง[การแพทย์]
แรงดึงดูดไดโพลไดโพล[การแพทย์]
แรงดึงดูดระหว่างขั้ว[การแพทย์]
แรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตย์, แรงดึงดูดที่เกิดจากไฟฟ้าสถิต, แรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิต[การแพทย์]
แรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตอย่างเดียว[การแพทย์]
แรงดึงดูดทางไฟฟ้า[การแพทย์]
การบรรจุแบบอาศัยแรงดึงดูดของโลก[การแพทย์]
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลเดียวกัน[การแพทย์]
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลเดียวกัน, แรงเกาะกัน[การแพทย์]
แรงดึงดูดภายนอกโมเลกุล[การแพทย์]
กระดูกแตกที่ส่วนสร้างกระดูกที่มีแรงดึง[การแพทย์]
soil moisture tension, แรงดึงความชื้นในมวลดิน[เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ]
adhesive force, แรงดึงดูดของโมเลกุลต่างชนิดกัน[เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ]
แรงดึงจากการคายน้ำ, แรงดึงโมเลกุลของน้ำให้เคลื่อนที่ต่อเนื่องกันโดยตลอดจากปลายสุดของรากขึ้นสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ผ่านไซเลม อันเป็นผลมาจากการคายน้ำ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ของแข็ง, สถานะหนึ่งของสารซึ่งมีรูปทรงแน่นอนอันเป็นผลจากอะตอมของสารอยู่ใกล้ชิดกันและมีแรงดึงดูดระหว่างกันสูง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ค่าคงตัวโน้มถ่วงสากล, ค่าคงตัวของแรงดึงดูดระหว่างมวล เป็นค่าเดียวกันเสมอไม่ว่าวัตถุที่ดึงดูดกันจะเป็นวัตถุใดๆ ก็ตามในเอกภพซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.67 x 10-11 นิวตัน เมตร2 กิโลกรัม-2[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แรงโน้มถ่วง, แรงดึงดูด เนื่องจากมวล เช่น แรงดึงดูดระหว่างโลกกับวัตถุ แรงดึงดูดระหว่างโลกกับมวลทั้งสองและระยะทางระหว่างมวล[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แอดฮีชัน, การยึดติด, การเกาะติดด้วยแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของสารต่างชนิดกัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
โคฮีชัน, การยึดติดด้วยแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของสารชนิดเดียวกัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล, กฎเกี่ยวกับแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ซึ่งกล่าวว่า วัตถุทั้งหลายจะดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ เป็นสัดส่วนตรงกับมวลของวัตถุทั้งสอง และเป็นสัดส่วนกลับกับระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสองนั้นยกกำลังสอง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แรงดึงกลับ, แรงที่กระทำต่อวัตถุให้มีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมารอบตำแหน่งสมดุล เช่น เมื่อออกแรงดึงวัตถุที่ติดกับปลายข้างหนึ่งของสปริง อีกปลายหนึ่งของสปริงตรึงแน่น แล้วปล่อย สปริงจะออกแรงดึงกลับกระทำต่อวัตถุในทิศทางเข้าสู่ตำแหน่งสมดุล มีผลให้วัตถุเคลื่อนที่กลับไปกลับมาร[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
กฎของฮุก, กฎที่กล่าวว่า เมื่อมีแรงดึงหรือกดวัสดุ ความยาวที่ยืดออกหรือหดเข้าของวัสดุจะเป็นสัดส่วนกับแรง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ขีดจำกัดการแปรผันตรง, ตำแหน่งสุดท้ายของความยาวของวัสดุที่ยืดออกเป็นสัดส่วนกับขนาดของแรงดึง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ขีดจำกัดสภาพยืดหยุ่น, ตำแหน่งสุดท้ายของแรงดึงที่ทำให้วัสดุยืดแล้วยังสามารถคืนตัวกลับสู่สภาพเดิม โดยแรงดึงจะต้องไม่เป็นสัดส่วนกับความยาวของวัสดุที่ยืดออก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
จุดแตกหัก, ตำแหน่งที่เมื่อออกแรงดึงวัสดุ วัสดุเริ่มขาดออกจากกัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แรงดึงดูดของผิวโลก[การแพทย์]
การหักอันเกิดจากแรงดึง[การแพทย์]
การกระทำระหว่างกัน, แรงยึด, อันตรกิริยา, ปฏิกิริยากระทบ, กลไกของการติดต่อกัน, ปฏิกิริยาต่อกัน, ปฏิกิริยา, ปฏิสัมพันธ์, แรงดึงดูด, ปฏิกิริยาต่อกัน, การกระทำระหว่างกัน, ความสัมพันธ์อันมีต่อกัน, ปฏิกิริยาโต้ตอบ, อัตรกิริยา, การดึงดูดซึ่งกันและก[การแพทย์]
แรงดึงของกล้ามเนื้อ[การแพทย์]