ก. เริ่มคิดเริ่มทำเป็นคนแรก (มักใช้ในทางดี) เช่น นายเลื่อน พงษ์โสภณ ริเริ่มทำรถจักรยานสามล้อ.
ก. ตั้งต้นมี เป็น หรือลงมือกระทำ.
ก. ตั้งต้น, ขึ้นต้น, เช่น เขาเริ่มต้นถักเสื้อตัวใหม่แล้ว ครูเริ่มต้นแต่งคำประพันธ์.
ว. แรกเกิดขึ้น, ตั้งแต่ต้น, เช่น งานเริ่มแรกของเขาคือรับราชการ เริ่มแรกที่สร้างหมู่บ้านยังไม่มีวัด, แรกเริ่ม ก็ว่า.
ว. สั่นไปทั้งตัว เช่น ตัวสั่นเริ้ม, เทิ้ม ก็ว่า.
ว. แรกเกิดขึ้น, ตั้งแต่ต้น, เช่น งานแรกเริ่มของเขาคือรับราชการ แรกเริ่มที่สร้างหมู่บ้านยังไม่มีวัด, เริ่มแรก ก็ว่า.
(กะระกะ-, กะรักกะ-) น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า.
ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
(กะละละ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้นน้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้ (ไตรภูมิ).
(กฺลิ่น) น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น แกงหม้อนี้เริ่มมีกลิ่น, โดยปริยายหมายความว่า ลักษณะไม่น่าไว้วางใจ เช่น เรื่องนี้ชักมีกลิ่น การประมูลครั้งนี้เริ่มส่งกลิ่น.
น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๘ ปี (กลียุคศักราชลบด้วย ๒๕๕๘ เท่ากับพุทธศักราช).
ก.จัดตั้งขึ้น, ริเริ่มตั้งขึ้น.
ก. ทำพิธีเริ่มก่อสร้าง เช่น วางอิฐวางหิน.
ก. เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ.
ก. อาการที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อน เป็นต้น พ่นฟองน้ำไว้สำหรับเก็บไข่, โดยปริยายหมายถึงอาการที่เริ่มจับกลุ่มเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ว. เสียงดังอย่างเสียงรถจักรไอน้ำเวลาจะเริ่มเคลื่อนที่, โดยปริยายหมายความว่า ติด ๆ ขัด ๆ, ไปไม่สะดวก.
ว. เริ่มมีเนื้อมีหนังขึ้น (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้แก้มกะติ๊กริก.
น. ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
น. ชื่อเดือนที่ ๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาว ว่า วัยขบเผาะ.
เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่
เริ่มเดินหมากตัวนั้น ๆ เป็นครั้งแรก ใช้ในการเล่นหมากรุกเป็นต้น เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน
ก. เริ่มการใช้สมุดเขียนอ่าน หลังจากฝึกเขียนอ่านบนกระดานชนวนมาแล้ว.
น. การแข่งกรีฑาชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันวิ่งจากต้นทางทีละคนจนถึงเส้นเริ่มที่มีกระดานรองรับ เขย่งเท้าข้างหนึ่งพร้อมกับยันตัวขึ้นแล้วก้าวด้วยเท้าอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงกระโดด ใครกระโดดได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ.
เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทำงาน เช่น โรงเรียนเข้า, เริ่มอยู่ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทำงาน.
ว. เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ, พลบ, ใช้ว่า เวลาเข้าไต้เข้าไฟ.
น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา.
หมดกำลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่มไขลานแล้ว.
ก. เริ่มส่องแสง เช่น พระอาทิตย์ไขแสง.
น. คดีหมายเลขดำ ซึ่งหมายถึง คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียนคดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ศาลจะให้หมายเลขคดีใหม่เรียกว่าคดีหมายเลขแดง ควบคู่ไปกับคดีหมายเลขดำที่ให้ไว้เดิม เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๕๑ หรือกล่าวโดยสรุป คดีดำ หมายถึง คดีที่ศาลยังมิได้ตัดสินหรือจำหน่ายคดี ส่วนคดีแดง คือ คดีที่ศาลได้ตัดสินหรือจำหน่ายคดีแล้ว.
น. คดีหมายเลขแดง ซึ่งหมายถึง คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เป็นลำดับไปจนสิ้นปี เรียกย่อ ๆ ว่า “คดีแดง” เช่น คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๕๐ หรือคดีแดงที่ ๑/๒๕๕๐. (ดู คดีดำ ประกอบ).
(คฺริดสักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช).
การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี (กามนิต).
น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปากลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง.
ก. ไม่พอใจและเริ่มรู้สึกโกรธ
น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีสถานที่สอนความรู้วิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิชาช่างไฟฟ้า วิชาช่างเครื่องยนต์ วิชาช่างวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัด เพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยครูที่มีความรู้และยินดีอาสาสมัครสอนให้เป็นวิทยาทาน เปรียบเสมือนพระดาบสในสมัยโบราณที่มีกุศลศรัทธาที่จะถ่ายทอดศิลปศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส และจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการพระดาบส และกิจการของโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส.
ลมชนิดหนึ่ง เมื่อเริ่มเกิดจะเห็นเป็นลำยื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกำลังแรงมาก ลำนี้จะยาวลงมามาก เรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก
น. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย.
น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่ บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็ง ส่วนใหญ่ภายในโหนกแข็งกลวง ยกเว้นบางชนิดมีโหนกแข็งตัน เช่น นกชนหิน ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์อยู่รวมกันเป็นฝูง ขณะบินมีเสียงดัง ระยะเริ่มตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหาร ดิน และมูลปิดปากโพรงด้านใน ตัวผู้ใช้วัสดุเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะที่ตัวเมียฟักไข่และเลี้ยงลูกได้ ร้องเสียงดังมาก กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เงือกกรามช้าง [ Rhyticeros undulatus (Shaw) ] เงือกหัวแรด ( Buceros rhinoceros Linn.) เงือกสีน้ำตาล [ Ptilolaemus tickelli (Blyth) ] เงือกดำ [ Anthracoceros malayanus (Raffles) ].
(จะตุรงคะ-) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง (ชุมนุมตำรากลอน).
ก. ใช้กรรไกรขริบปอยผมเล็กน้อย เป็นการเริ่มในพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์.
น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น นิยมใช้เป็นเพลงเริ่มฝึกการหัดเรียนดนตรีประเภทเครื่องสายและขับร้อง
ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูดจ๊ะจ๋าแล้ว.
เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป
ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวาของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ.