น. ชื่อมาตราวัด เท่ากับ ๑, ๐๐๐ เมตร, อักษรย่อว่า กม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล.
น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า ซม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า เซ็นต์.
น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐ เมตร, อักษรย่อว่า ดคม.
น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของเมตร, อักษรย่อว่า ดม.
น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑, ๐๐๐ ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า มม.
(เมด) น. หน่วยวัดความยาวอย่างหนึ่งตามวิธีเมตริก กำหนดเทียบเท่ากับ ๑๐๐ เซนติเมตร หรือ ๒ ศอก.
(เมดตฺริก) น. ระบบการใช้หน่วยสำหรับวัดปริมาณต่าง ๆ โดยกำหนดใช้กรัมเป็นหน่วยของมวลสาร ใช้เซนติเมตรเป็นหน่วยของระยะห่าง และใช้วินาทีเป็นหน่วยของเวลา.
น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑, ๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๖๐ หาบ, อักษรย่อว่า ต.
น. เครื่องมือวัดความยาวทำด้วยไม้เป็นต้น ยาว ๑ เมตร.
น. หน่วยมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐๐ เมตร, อักษรย่อว่า ฮม.
เครื่องมือชนิดหนึ่งเป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สำหรับพัดด้าย.
น. หน่วยตวงเหล้าโรงเป็นต้นตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร.
น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Hemibagrus nemurus (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
น. ชื่อกบภูเขาขนาดใหญ่ที่สุดชนิด Rana blythii Boulenger ในวงศ์ Ranidae ปากค่อนข้างแหลมเมื่อเทียบกับชนิดอื่น กระดูกขากรรไกรบนยาวแหลมออกมาคล้ายเขี้ยว ขนาดลำตัวอาจยาวถึง ๓๐ เซนติเมตร อาศัยในป่าดงดิบชื้นตามลำธารบนภูเขา, พายัพเรียก เขียดแลว.
น. ส่วนใสของตา มีรูปกลมแบน สีใส พื้นหน้านูนออกพื้นหลังหวำ หนาประมาณ ๑ มิลลิเมตร ประกอบอยู่เบื้องหน้าของดวงตา.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tragulidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เล็กที่สุด กระเพาะมี ๓ ส่วน รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวบนที่แหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย [ Tragulus napu (Cuvier) ] สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก [ T. javanicus (Osbeck) ] สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้.
น. ชื่อปลานํ้ากร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri (Pallas) ในวงศ์ Gobiidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหว และความสามารถขึ้นมาพ้นนํ้าได้คล้ายปลาจุมพรวดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทำรูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวนํ้า ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้ ขนาดยาวได้ถึง ๒๗ เซนติเมตร, กะจัง ก็เรียก.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Abelmoschus esculentus (L.) Moench ในวงศ์ Malvaceae ผลสีเขียว ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ใช้เป็นผัก, กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย หรือ มะเขือมอญ ก็เรียก.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับนํ้าใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทำยา, กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง หรือ พญายา ก็เรียก.
น. ชื่อแมลงหลายชนิด ในวงศ์ Gryllotalpidae ลำตัวสีน้ำตาล ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ปีกสั้น บินได้ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นป้อมและแบนทางข้าง คล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนามแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Gryllotalpa orientalis Burmeister.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xanthium indicum K. Koenig ex Roxb. ในวงศ์ Compositae มักขึ้นเป็นวัชพืชในทุ่งนาและริมนํ้า ลำต้นและใบคาย ใบมนเว้า ขอบจัก โคนใบแหลม ดอกเล็กรวมเป็นกระจุกแน่น ผลรี ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีหนามปลายงอทั่วทั้งผล รากหอมอ่อน ๆ ใช้อบผ้าได้ บางส่วนของไม้นี้ใช้เป็นยาได้ แต่ทั้งต้นเป็นพิษต่อปศุสัตว์, ขี้ครอก หรือ ขี้อ้น ก็เรียก.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ในวงศ์ Zingiberaceae สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นหัวกลม ๆ มีรากสะสมอาหาร ซึ่งเรียวยาว อวบนํ้า ออกเป็นกระจุก ใช้เป็นผักและเป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร, พายัพเรียก กะแอน หรือ ละแอน.
น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Thenus orientalis (Lund) ในวงศ์ Scyllaridae ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร หัวและลำตัวหุ้มด้วยเปลือกแข็งสีนํ้าตาล ส่วนหัวและหนวดคู่ที่ ๒ แบน แพนหางแผ่ราบได้กว้าง งอพับเข้าใต้ท้องเมื่อดีดตัวถอยหลังหนีศัตรู อาศัยคืบคลานอยู่ตามพื้นทะเล พบทั่วไป มักเรียกกันว่า กั้งกระดาน.
น. ชื่อแมลงพวกด้วงชนิด Martianus dermestoides Chevrolat ในวงศ์ Tenebrionidae ลำตัวยาว ๖-๗ มิลลิเมตร กว้าง ๒-๓ มิลลิเมตร สีน้ำตาลเกือบดำตลอดทั้งลำตัว ขา และปีก กินของแห้งทั้งพืชและสัตว์โดยเฉพาะเมล็ดบัว นิยมนำมาเลี้ยงด้วยเมล็ดบัวแห้ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ โดยเชื่อว่าเมื่อนำมารับประทานจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ, ม่าเหมี่ยว ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros undulata Wall. ex G. Don var. cratericalyx (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ, จะเพลิง ชะเพลิง คำดีควาย ดูกค่าง ตะโกดำ พลับเขา ไหม้ หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก.
ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก
และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากเป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม ใบอ่อนใช้เป็นผัก เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก.
น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด Careya herbacea Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นตามที่ลุ่มดินทราย ลักษณะทั่วไปคล้ายกระโดน สูงไม่เกิน ๑ เมตร ผลมีขนาดย่อมกว่า, กระโดนเบี้ย ก็เรียก.
น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Sm. ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีนํ้าตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือ ใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีนํ้าตาลเข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีนํ้าตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทำหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลำคลองและที่ลุ่ม ที่พบทั่วไปในประเทศไทย เช่น ชนิด M. armatus (Lacepéde), M. favus Hora, และกระทิงไฟ ( M. erythrotaeniaBleeker) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิด ในวงศ์ Belonidae และ Hemiramphidae ลำตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemiramphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongyluraและ Zenarchopterusชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง [ Ablennes hians (Valenciennes) ] ซึ่งมีชุกชุมที่สุด บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง [ Xenentodon cancila (Hamilton) ] ขนาดยาวได้ถึง ๑.๒๕ เมตร, เข็ม ก็เรียก.
น. ชื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Noctuidae ลำตัวรูปทรงกระบอก ยาว ๓-๔ เซนติเมตร ผิวเป็นมัน มีขนตามลำตัวน้อย ส่วนใหญ่สีน้ำตาลคลํ้า ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมนํ้าตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลำตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทำให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์หรือหนอนกระทู้คอรวง [ Mythimna separate (Walker) ] ทำลายต้นข้าว, หนอนกระทู้ผัก [ Spodoptera litura (fabricius) ] ที่กัดกินพืชผัก.
น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ [ L. vaigiensi (Qnoy & Gaimard) ] กระบอกดำ [ L. parsia (Hamilton-Buchanan) ] กระบอกขาว [ V. seheli (Forsskål) ], กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก หมก หรือ มก.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cereus hexagonus (L.) Mill. ในวงศ์ Cactaceae ลำต้นสูง ๓-๕ เมตร ลำต้นและกิ่งกลม หยักเป็นร่องโดยรอบ มีหนามละเอียด ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอม บานกลางคืน มักปลูกเป็นรั้วบ้าน, ตะบองเพชร ก็เรียก, พายัพ เรียก เขียะ หรือ หนามเขียะ.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Anisoptera วงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลำต้นตรง สูง ๓๐-๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนัก โดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Excoecaria cochinchinensis Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๑-๒ เมตร ใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีแดงเลือดหมู ใช้ทำยาได้, ลิ้นกระบือ ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ใบท้องแดง.
น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด
น. ชื่อแมลงพวกด้วงชนิด Mesomorphus vitalisiChatanay ในวงศ์ Tenebrionidae ลำตัวสีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ ๖ มิลลิเมตร มักเกาะกินเชื้อราตามผนังบ้านหรือผนังโบสถ์ที่เก่าและชื้นเป็นจำนวนมาก เห็นเป็นปื้นสีดำคล้ายเอากระเบื้องสีดำมาปะไว้.
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นใหญ่แข็งและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลำตัวเป็นสีขาว ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เหลี่ยม ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa lucius (Cuvier) ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลำตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร.
น. ชื่อตัวอ่อนหิ่งห้อยและตัวเต็มวัยหิ่งห้อยเพศเมียที่ไม่มีปีกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Lampyridae เช่น สกุล Lamprigera, Pyrocoelia, Diaphanesยาวได้ถึง ๑๐ เซนติเมตร อยู่ตามพื้นดิน สามารถทำแสงจากอวัยวะทำแสงที่อยู่ปลายท้องได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิ่งห้อย ประกอบ).
น. ชื่อกิ้งกือในสกุล Sphaerotherium วงศ์ Sphaerotheriidae ยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร หัวแบนเล็ก ลำตัวโค้งนูน มี ๑๓ ปล้อง ผิวลำตัวเรียบมัน ด้านหลังสีน้ำตาล ดำ ครีม หรือเขียว เมื่อถูกกระทบจะม้วนเข้าสอดกับปล้องสุดท้ายจนกลมคล้ายลูกกระสุนดินปั้น พบชุกชุมช่วงต้นฤดูฝนตามพื้นที่สูงที่มีใบไม้ทับถมและชุ่มชื้น, ปักษ์ใต้เรียก มวนชิด.
น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า ชนิดแรกคือ กระสูบขาว [ Hampala macrolepidota (van Hasselt) ] มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดง ขอบบนและล่างสีดำ ยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด ( H. disparSmith) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่าและไม่มีแถบสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.
น. ปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus schwanefeldi (Bleeker) หรือ Puntius schwanefeldi (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้างคล้ายปลาตะเพียนขาว มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและขอบทั้งบนและล่างของครีบหางมีสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ.
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Catlocarpio siamensis Boulenger ในวงศ์ Cyprinidae หัวโตมากโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวด้านหลังสีเทาดำ หางและครีบสีแดงคลํ้าหรือส้ม พบในแม่นํ้าใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร จัดเป็นปลานํ้าจืดในกลุ่มปลาตะเพียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก.
น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน มี ๔ ด้าน ด้านหนึ่งโค้งสำหรับกระทบให้เกิดเสียง ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ขยับประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ประคองไว้ในอุ้งมือข้างละคู่ ขณะที่ขับเสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันให้สอดคล้องกับท่วงทำนองขับ, กรับขยับ ก็ว่า.
(กฺรำ) น. หน่วยมาตราชั่งนํ้าหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา = ๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑, ๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, อักษรย่อว่า ก.