(กำมะ-) น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง.
(กินนะริน, กินนะรี) น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง พักตราแพ่งมานุษย์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
น. ส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เป็นช่องที่ต่อมาจากปากมดลูก และเป็นทางที่ทารกคลอดออกมา.
(ดะบัดสะ-) น. ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี, เพศหญิงว่า ดบัสวินี, เขียนเป็น ดบัศวี ก็มี เช่น รอยมึงบยำชีหน้าหนวด นักบวชด้วยดบัศวี แต่ก่อนฤๅ (ม. คำหลวง ชูชก).
ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, ดีฉัน ก็ว่า.
ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, ดิฉัน ก็ว่า, โบราณผู้ชายใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
(ตะรุน, ตะรุนะ) ว. ดรุณ, หนุ่ม, อ่อน, รุ่น, เพศหญิงใช้ว่า ตรุณี.
(-ยก) น. ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า ทายิกา.
(นอระ-) น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์.
น. คำประกอบหน้าคำเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบำเรอ นางละคร นางพระกำนัล
(ปะริ-) น. นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย, เพศหญิงใช้ว่า ปริพาชิกา.
ก. เปลี่ยนเพศชายให้เป็นเพศหญิงหรือเปลี่ยนเพศหญิงให้เป็นเพศชาย.
น. ผู้แบ่ง, เพศหญิงใช้ว่า ภาชินี.
น. ผู้สวด, ผู้กล่าว, ผู้บอก, คนช่างพูด, เพศหญิง ใช้ว่า ภาณินี.
(มะ-) คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนามในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระ อิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง.
น. ผู้หญิง, เพศหญิง, (เป็นคำที่พระใช้เรียกผู้หญิง).
ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้ (เฉพาะเพศหญิง).
น. ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้, เพศหญิงใช้ว่า มาลินี.
คำใช้นำหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน
ประเภทคำในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคำนั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง
ประเภทคำในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคำนั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุลลึงค์ คือ เพศชาย สตรีลึงค์ คือ เพศหญิง
คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลักไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว.
(สัดตฺรี, สะตฺรี) น. ผู้หญิง, เพศหญิง, คู่กับ บุรุษ, (ใช้ในลักษณะที่สุภาพ).
น. เพศหญิง, คู่กับ บุรุษเพศ.
น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์ เรียกว่า ศากยวงศ์ หรือ สากิยวงศ์, เรียกกษัตริย์ในวงศ์นี้ ว่า ศากยะ หรือ สากิยะ, ถ้าเพศหญิง ใช้ว่า สากิยา หรือ สากิยานี.
ก. สืบพันธุ์โดยการผสมของเซลล์สืบพันธุ์ เช่น การผสมของเชื้ออสุจิกับไข่ของเพศหญิง.
ว. มีสีหน้าผุดผ่องเป็นน้ำเป็นนวล, คนโบราณเชื่อว่า หญิงที่มีครรภ์ถ้ามีหน้านวลอยู่เสมอ แสดงว่า บุตรในครรภ์จะเป็นเพศหญิง.
ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สำหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้งบุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
น. เพศของคำที่ไม่ปรากฏชัดลงไปว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เช่น คน ครู นักเรียน ข้าราชการ สุนัข แมว.
ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, อีฉัน ก็ว่า, (แบบ) ผู้ชายใช้ว่า ดิฉัน หรือ ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อิฉัน หรือ อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
น. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คำประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้นไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คำนำหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชนทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน (สามดวง), ถ้าใช้ในทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาว มักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวดอยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว (สามดวง).
ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, อิฉัน ก็ว่า, (แบบ) ผู้ชายใช้ว่า ดิฉัน หรือ ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อิฉัน หรือ อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.