(อุปะสมบด, อุบปะสมบด) ก. บวชเป็นภิกษุ.
(-บดทะกำ) น. การบวชเป็นภิกษุ.
(-กะถิน) ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทำตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่า . (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน).
ก. ขอฝากตัวอยู่ในความปกครองของพระอุปัชฌาย์ (ใช้แก่กุลบุตรในเวลาอุปสมบท).
ว. ที่มีอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถือว่าอุปสมบทเป็นภิกษุได้.
น. พระ ๒ รูปที่ทำหน้าที่สวดญัตติในการอุปสมบทหรือการกรานกฐินเป็นต้น.
น. คำเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุแต่ไม่ยอมอุปสมบท ว่า เณรโค่ง.
ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ.
น. ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นต้น เป็นตาโปร่ง มีหูรูด สำหรับหุ้มถลกบาตร (ใช้เฉพาะในพิธีอุปสมบท).
ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท.
(บันพะ-, บับพะ) น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ อุปสมบท เป็น บรรพชาอุปสมบท บรรพชา หมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ.
น. วรรคทั้ง ๕ ได้แก่ พยัญชนะตั้งแต่วรรค ก ถึงวรรค ป คือพยัญชนะตั้งแต่ ก ถึง ม, พระสงฆ์ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์เบญจวรรคหรือสงฆ์ปัญจวรรค ซึ่งสามารถทำสังฆกรรมบางอย่างได้เช่นรับกฐินหรืออุปสมบทพระภิกษุในถิ่นที่หาภิกษุได้ยาก.
น. สถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทำสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคำว่า อุโบสถ).
น. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์ คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท.
ก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท (ใช้แก่นาค).
น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธีอุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา.
ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้.
ก. กล่าวคำทำขวัญนาคเพื่อสอนกุลบุตรที่จะอุปสมบทให้รู้สึกซาบซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ และให้เห็นว่าการบวชนั้นเป็นการตอบสนองพระคุณพ่อแม่อย่างหนึ่ง.
น. คำเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น.
น. สามเณรีที่มีอายุครบ ๑๘ ปี ก่อนอุปสมบทเป็นภิกษุณีจะต้องรักษาสิกขาบท ๖ ประการ เป็นเวลา ๒ ปี.
(-ยิกะทำ) น. “ธรรมที่ทำอันตราย” หมายถึง เหตุขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น.
(อุโบสด) น. เรียกสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมเช่นสวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท ว่า โรงอุโบสถ หรือ อุโบสถ, เรียกย่อว่า โบสถ์
(อุปะ-, อุบปะ-) น. ผู้อุปสมบทแล้ว, ภิกษุ, คู่กับ อนุปสัมบัน ได้แก่ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท คือ สามเณรและคฤหัสถ์.
(อุปะสำปะทาเปก, อุบปะสำปะทาเปก) น. “ผู้เพ่งอุปสมบท” คือ นาคที่บรรพชาเป็นสามเณรแล้วและจะขอบวชเป็นภิกษุต่อไป.