น. นิ้วต้นของมือ, (ปาก) นิ้วโป้, นิ้วโป้ง.
ก. สับไพ่ป๊อกโดยวิธีแยกไพ่ออกเป็น ๒ ส่วน ใช้มือแต่ละข้างจับไพ่แต่ละส่วนไว้ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือระไพ่แต่ละใบให้ล้มทับสลับกันอย่างรวดเร็วจนหมดแล้วผลักรวมเข้าด้วยกัน.
น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยนิ้วชี้กับนิ้วกลางตั้งขึ้น หักข้อมือขึ้น ส่วนนิ้วหัวแม่มือกดทับปลายนิ้วนางกับนิ้วก้อย
(กฺวาง-) น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาวคล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป.
โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักตํ่าสูง ในความว่า ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ.
(เกฺรียก) น. ระยะยาวชั่วนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้กางออก เช่น ยาวแค่เกรียก.
ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือ ว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ
น. เรียกขนมปังกรอบค่อนข้างแข็ง ขนาดโตเท่านิ้วหัวแม่มือ ยาวประมาณ ๘ นิ้ว ว่า ขนมปังขาไก่.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดำ กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทำยาได้.
(คน-) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ในวงศ์ Simaroubaceae มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าโปร่ง สูงได้ถึง ๘ เมตร มีหนามทั่วต้น ใบคล้ายมะขวิดแต่เขื่องกว่า ดอกสีขาว ผลกลมแป้นขนาดราวหัวแม่มือ ทุกส่วนมีรสขม ใช้ทำยาได้ กิ่งใช้ทำไม้สีฟัน, สีฟันคนทา หรือ กะลันทา ก็เรียก, พายัพเรียก จี้ หรือ หนามจี้.
น. ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วก้อยเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙ นิ้ว (มาตราชั่ง ตวง วัด), ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วกลางเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙-๑๐ นิ้ว (ปรัดเล, แมคฟาแลนด์)
น. ช่วงโค้งระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้.
ก. จดนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้เข้าด้วยกัน และกางนิ้วอื่น ๆ ออก ใช้ในท่ารำไทยเป็นต้น.
น. เรียกนิ้วที่ ๒ นับแต่หัวแม่มือว่า นิ้วชี้.
(ดัดชะนี) น. นิ้วชี้, นิ้วที่อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลาง, ราชาศัพท์ว่า พระดรรชนี, ดัชนี ก็ใช้.
(ดัดชะนี) น. นิ้วชี้, นิ้วที่อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลาง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดัชนี, ดรรชนี ก็ใช้.
ก. เอานิ้วหัวแม่มือกดกับนิ้วกลางให้แน่นแล้วสลัดนิ้วกลางเข้ามายังอุ้งมือให้เกิดเสียงดัง.
ก. กิริยาที่ผู้รำหักนิ้วหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือ นิ้วที่เหลือทั้ง ๔ เรียงชิดติดกัน หักข้อมือขึ้น.
น. ส่วนสุดของมือหรือเท้าแต่ละข้าง แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลำดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ
ก. พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือเพื่อเป็นหลักฐานเมื่อนำของไปจำนำ, (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ซื้อเชื่อ.
ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็นหลักฐาน โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง.
ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและปิดทอง แล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.
น. ลักษณะของเสียงที่กังวานและใสดุจแก้ว โดยเฉพาะในการตีระนาดเอก มโหรีจะต้องจับไม้ตีให้หัวแม่มือเน้นที่ปลายก้านไม้ตีให้แน่นและตีทั้งแขนหรือทั้งตัว เสียงจึงจะแข็งเป็นกังวานออกมาเป็นเสียงแก้ว.
ก. ใช้เล็บ ๒ เล็บตามปรกติเป็นเล็บนิ้วหัวแม่มือกับเล็บนิ้วชี้จิกลงไปที่เนื้อแล้วบิด, ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้หนีบเนื้อแล้วบิด.
ก. ใช้เล็บหัวแม่มือกดลงบนดินเหนียวหรือขี้ผึ้งเป็นต้นเพื่อทำเครื่องหมายไว้.