น. ข้าราชการผู้น้อยชั้นประทวนซึ่งเสนาบดีแต่งตั้งให้เป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง มีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐.
ว. จำนวนนับเท่ากับ ๑๐ พัน.
น. ชื่อบรรดาศักดิ์ในราชการ เหนือพันขึ้นไป.
น. ตำแหน่งข้าราชการในกรมมหาดเล็ก มี ๔ ตำแหน่ง เดิมเรียกว่า หมื่น เจ้าหมื่น และจมื่น เช่น หมื่นสรรเพธภักดี เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ตำแหน่งหัวหมื่นทั้งสี่อยู่ภายใต้การดูแลของจางวางกรมมหาดเล็ก
เจ้าพนักงานระดับหนึ่งในกรมมหาดไทยและกรมพระกลาโหม รองจากขุนสูงกว่าหัวพัน เช่น หัวหมื่นทลวงฟัน หัวหมื่นเครื่องต้น (สามดวง).
(กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น.
ลำดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน (สามดวง)
ว. ทะมึน, มีลักษณะดำมืดสูงใหญ่น่าเกรงขาม, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน หรือ ตระมื่น ก็ใช้, โดยมากใช้ว่า ทะมื่น.
(-หน) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน.
น. ผู้ป้องกัน, ผู้รักษา, ผู้ดูแล, เช่น หัวหมื่นกับกำนันพระแสง
น. คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสามหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา.
น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงกว่าเจ้ากรมที่มิใช่กรมเสนาบดี ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา กำกับดูแลกรมนั้น ๆ, ตำแหน่งในสังกัดของเจ้านายที่ทรงกรม ทำหน้าที่กำกับดูแลกรมเจ้านาย, ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๔ มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวหมื่นมหาดเล็ก
ก. แล่น, ไปถึง เช่น ทัพถึงหมื่นถึงแสนแด่นถึงล้าน (ม. คำหลวง มหาราช).
(ตฺระซวง) น. กระทรวง เช่น ให้ตราพระราชบันหญัตคำนับประเดียงโฆษนาแก่หมื่นขุนมุนนายทุกตระทรวงทบวงการ (สามดวง).
ก. ไป เช่น คร้นนเช้ากหิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปตามชาย (ม. คำหลวง มัทรี), มา เช่น แต่นี้จักเปล่งถ้อย แถลงนาม หัวหมื่นพันพลเหนือ แต่เต้า (ยวนพ่าย).
น. จำนวนจริงในรูปเลขฐานสิบ โดยกำหนดจุดจุดหนึ่งให้ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าจุดแสดงจำนวนเต็ม ตัวเลขที่อยู่ข้างหลังจุดแสดงจำนวนที่เป็นส่วนของสิบ ร้อย พัน ไปเรื่อย ๆ เช่น ๘๕๖.๑๒๘ ล้านบาท หมายความว่า แปดร้อยห้าสิบหกล้านหนึ่งแสนสองหมื่นแปดพันบาท.
ว. ทั้ง, ทั่ว, ตลอด, เช่น อันว่าแผ่นดินกว้างท้างทุกแดน อนนหนาได้หยิบแสนสี่หมื่นโยชนประมาณ (ม. คำหลวง กุมาร).
(บันดา-) น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช พระยาพลเทพ.
ว. อาการที่ตี ฟัน หรือทุบเป็นต้นแต่เบา ๆ เช่น ตีเบาะ ๆ, อย่างน้อย เช่น กระเป๋ายี่ห้อนี้เบาะ ๆ ก็เหยียบหมื่น.
ตำแหน่งข้าราชการชั้นขุนหมื่นพวกหนึ่ง, คู่กับ ประแดง.
น. คำเรียกหัวหมื่นมหาดเล็ก เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เรียกว่า พระนายไวยวรนาถ.
น. ตำแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณสูงกว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตำแหน่งหัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้นสัญญาบัตรรองจากนายพล.
จำนวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน
ก. รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหวคนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย รู้สึกสลดใจ.
(หฺยิบ) ว. ญิบ, สอง, เช่น ถ้วนหญิบหมื่นเป็นบริพาร (ม. คำหลวง ทศพร).
น. ตำแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจำนวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จำนวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จำนวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจำนวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.
น. ตำแหน่งข้าราชการรองจากหมื่น เป็นหัวหน้าข้าราชการชั้นหัวปากในกรมแต่ละกรม.
ว. แย่แล้ว เช่น เอะกูอยู่แล้วนะเสนี เห็นไพรีจะมากมายหลายหมื่น (สังข์ทอง).