ก. ตีความว่า, แปลความว่า.
ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้.
ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียน.
ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี
ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.
ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง (เห่กล่อม).
(กฺรอบ) น. สิ่งที่ประกอบตามริมวัตถุมีรูปภาพเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ขอบเขตกำหนด เช่น ทำงานอยู่ในกรอบ.
(กฺร่อย) ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย.
ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระชากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระชาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระชากเสียง, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
น. คนมั่งมี, พ่อเรือน, มักนิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี หมายความว่า ชนชั้นต่ำ.
ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่กระต้วมกระเตี้ยมอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็ไม่ทันรถไฟหรอก, ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี.
ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วทันที เช่น กระตุกเชือก, ดึงเข้ามาโดยเร็วทันทีแล้วผ่อนออก เช่น กระตุกสายป่านว่าว, โดยปริยายหมายความว่า สะดุด, ไม่ราบรื่น, เช่น เครื่องยนต์กระตุก
ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว เช่น กระตุ้นม้า, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทำงาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป.
ก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยายหมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง.
ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทก เช่น เอาสามเกลอกระทุ้งดิน เอาศอกกระทุ้งสีข้าง, ทุ้ง ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทำหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง.
โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง (แช่งน้ำ).
ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลำเอียงมาก.
ก. มีอาการสั่นไหวเพราะถูกกระทบ เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า เป็นทุกข์กังวล เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
ว. โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร.
(-แหฺย่ง) ก. ขะเย้อแขย่ง, เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม.
(กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
(กฺรํ่า) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมาเหล้าว่า เมากรํ่า หมายความว่า เมามากตลอดเวลา.
โดยปริยายหมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ.
(กฺรึ่ม) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมาเหล้าว่า เมากรึ่ม หมายความว่า เมาเหล้าตลอดทั้งวัน.
(กฺรุ่น) ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น
โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน (นิ. เดือน)
โดยปริยายหมายความว่า เปิดทางให้สะดวก.
(กน-) น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสำเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง
(กฺลบ) ก. เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เช่น เอาขี้เถ้าไปกลบขี้แมว, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ทดแทน เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย (กฎ. ราชบุรี).
ว. กลมทีเดียว, กลิ้งไปได้รอบตัว, โดยปริยายหมายความว่า กลิ้งกลอก.
น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น นํ้าหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น (ขุนช้างขุนแผน).
(-เกฺลา) ก. ทำให้เรียบร้อย, ทำให้ดี, โดยปริยายหมายความว่า อบรมให้มีนิสัยไปในทางดี.
(กฺล่อม) ก. ร้องเป็นทำนองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมายความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือทำให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.
พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป
(กฺลั่น) ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า เรียกน้ำที่ได้จากกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า น้ำกลั่น, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.
(กฺลาง) น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน กลางทาง
โดยปริยายหมายความว่า พลิกแพลงเอาตัวรอด, จับไม่ติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว.
(กฺลิ่น) น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น แกงหม้อนี้เริ่มมีกลิ่น, โดยปริยายหมายความว่า ลักษณะไม่น่าไว้วางใจ เช่น เรื่องนี้ชักมีกลิ่น การประมูลครั้งนี้เริ่มส่งกลิ่น.
(กฺวาด) ก. ทำให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น โจรกวาดทรัพย์สิน คลื่นสึนามิกวาดคนและสิ่งของลงทะเล
ว. ใช้บอกลำดับเวลา หมายความว่า เดิม เช่น แต่ก่อนที่ผ่านมา วันก่อน เดือนก่อน, ลำดับแรก เช่น ก่อนอื่น หยุดก่อน รอก่อน.
บ. ใช้นำหน้าคำนามบอกเวลาหรือสถานที่ หมายความว่า ยังไม่ถึงเวลานั้นหรือสถานที่นั้น เช่น คุณต้องมาก่อนเที่ยง บ้านเขาอยู่ก่อนบ้านผม.
สัน. ใช้นำหน้าประโยคเพื่อบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่ถึงเวลานั้น เช่น คุณต้องเอารถไปคืนก่อนเขาตื่น.
โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักตํ่าสูง ในความว่า ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ.
ว. เสียงดังอย่างเสียงรถจักรไอน้ำเวลาจะเริ่มเคลื่อนที่, โดยปริยายหมายความว่า ติด ๆ ขัด ๆ, ไปไม่สะดวก.
ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่เก่งหรือดีเด่นเป็นพิเศษ เรียกว่า หัวกะทิ.
(-ปฺริบ) ก. กะพริบ, มักใช้ซํ้าคำว่า กะปริบ ๆ หมายความว่า กะพริบถี่ ๆ เช่น ทำตากะปริบ ๆ, ปริบ ๆ ก็ว่า.
(-ผฺลุบ-โผฺล่) ก. อาการที่ผลุบลงแล้วโผล่ขึ้น เช่น ปลากะผลุบกะโผล่ขึ้นมาหายใจ, อาการที่ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา เช่น มากะผลุบกะโผล่อยู่หลังเวทีทำไม, จม ๆ ลอย ๆ เช่น ขอนลอยน้ำกะผลุบกะโผล่, โดยปริยายหมายความว่า ไปหรือมาไม่สม่ำเสมอ เช่น ถ้าจะมาช่วยงานก็ขอให้มาสม่ำเสมอ อย่ากะผลุบกะโผล่ มาบ้างไม่มาบ้าง, ผลุบโผล่ ๆ หรือ ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ก็ว่า.
(-หฺรัด) น. ปริมาณทองคำแท้ที่ประสมอยู่กับธาตุอื่น โดยกำหนดทองคำและโลหะที่ประสมกันนั้นรวมเป็น ๒๔ ส่วน เช่น ทองคำ ๑๔ กะรัต หมายความว่า มีเนื้อทองคำ ๑๔ ส่วน นอกนั้นอีก ๑๐ ส่วนเป็นธาตุอื่นประสม.
พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป