ก. ทำให้ผู้มีอิทธิพลไม่พอใจ.
ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อยแต่กังวลจนนอนไม่หลับ.
(หฺนวด) น. ขนที่ขึ้นเหนือริมฝีปากบนของคน, สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ ขึ้นตามบริเวณปากของสัตว์บางชนิด เช่น หนวดกุ้ง หนวดปลาหมึก หนวดแมว.
(หฺนวดนากคะราด) น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง.
(หฺนวดพฺราม) น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นจามจุรี แต่ไม่มีกลิ่นหอม.
ชื่อกล้วยไม้ชนิด Seidenfadenia mitrata (Rchb. f.) Garay ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีม่วงแดง กลิ่นหอม, เอื้องหนวดพราหมณ์ ก็เรียก.
(หฺนวดพฺราม) น. ชื่อปลานํ้าจืดหรือน้ำกร่อยในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ลำตัวยาว แบนข้าง หัวแหลม ปากอยู่ตํ่ามาก ตาเล็ก เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สำคัญก้านครีบส่วนล่างของครีบอกแยกกันและยื่นเป็นเส้นคล้ายหนวดหลายเส้นยาวเลยครีบหาง ลำตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า.
(หฺนวดพฺราม) น. เชือกหลาย ๆ เส้นที่ผูกโยงปลายเสาหรือที่โยงเอาของขึ้นไปในที่สูง.
(หฺนวดพฺราม) น. ปลายสายของซอสามสายที่พาดผ่านหย่องลงมาสอดเข้าที่รูหน้าของทวนล่างไปออกทางด้านหลัง แล้วขมวดเข้าด้วยกัน ทิ้งชายซึ่งเรียกว่าหนวดพราหมณ์ไว้.
(หฺนวด–) น. หญ้าหนวดแมว. (ดู พยับเมฆ ๒).
น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดงหรือกดหัวโม่ง ( A. caelatusValencienne s) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเลหรือริวกิว [ A. thalassinus (Rüppell) ], ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต ( K. typusBleeker), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ [ H. borneensis (Bleeker) ].
น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Hemibagrus nemurus (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
น. ชื่องูนํ้าขนาดเล็กชนิด Erpeton tentaculatum Lacepède ในวงศ์ Colubridae ลำตัวสีนํ้าตาลหรือดำ มีเส้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ ๒ เส้นคล้ายหนวด อาศัยตามแหล่งนํ้าจืดทั่วไป มีพิษอ่อนมาก ปรกติมีนิสัยทำตัวแข็งทื่อ จึงเรียกว่า งูกระด้าง.
น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Thenus orientalis (Lund) ในวงศ์ Scyllaridae ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร หัวและลำตัวหุ้มด้วยเปลือกแข็งสีนํ้าตาล ส่วนหัวและหนวดคู่ที่ ๒ แบน แพนหางแผ่ราบได้กว้าง งอพับเข้าใต้ท้องเมื่อดีดตัวถอยหลังหนีศัตรู อาศัยคืบคลานอยู่ตามพื้นทะเล พบทั่วไป มักเรียกกันว่า กั้งกระดาน.
(-แหฺนบ) ก. แหนบ, ถอน, เช่น แนบนิทรลวดแลบ ก็กระแหนบที่หนวดเครา (บุณโณวาท).
น. ชื่อแมลงพวกแมลงปอ แมลงปอเข็ม และแมลงช้างตัวเต็มวัยซึ่งมีลักษณะคล้ายแมลงปอ แต่มีหนวดยาว, ในบางจังหวัด เช่น นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เรียก กระทุน กระชุน หรือ ปะทุน.
ก. โกนให้เป็นแนวเสมอกัน เช่น กันคิ้ว กันหนวด.
น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus semisulcatus De Haan ในวงศ์ Penaeidae รูปร่างและขนาดคล้ายกุ้งกุลาดำ ลำตัวสีน้ำตาลอมแดง แต่มีลายน้อยกว่ากุ้งกุลาดำ หนวดมีลายสลับเป็นปล้อง.
น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Thynnichthys thynnoides (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
(แกฺลบ) น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ อันดับ Blattodea ลักษณะคล้ายแมลงสาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาว ๑.๐-๒.๕ เซนติเมตร ลำตัวแบน รูปไข่ ขอบหน้าด้านหลังของปล้องอกยื่นออกไปคลุมหัว หนวดยาว ขายาวปกคลุมด้วยหนาม บางชนิดอาศัยอยู่ตามขี้เลื่อย หรือกองแกลบที่ผุพัง เช่น ชนิด Pycnoscelus surinamensis (Linn.) ในวงศ์ Blaberidae บางชนิดอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ตามกองกระดาษหรือเศษขยะมูลฝอย เช่น ชนิด Blattella germanica (Linn.), Supella supellectilium (Serville) ในวงศ์ Blattellidae.
(ขะหฺยุย) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Akysis macronemus (Bleeker) ในวงศ์ Akysidae รูปร่างคล้ายปลาแขยง ยาวไม่เกิน ๔ เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวด, สามเขี้ยว ก็เรียก.
(ขะแหฺยง) น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ส่วนหน้าสุดของครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบแข็ง ๑ ก้าน หยักเป็นหนามคม ถัดไปเป็นก้านครีบอ่อน ส่วนครีบท้องตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหินหรือกดหิน ( Pseudomystus siamensis Regan) แขยงใบข้าว [ Mystus cavasius (Hamilton-Buchanan) ] แขยงธงหรือแขยงหมู ( M. bocourti Bleeker) แขยงวังหรือแขยงหนู ( Bagrichthys obscures Bleeker).
(คฺรั่ง) น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Kerria lacca (Kerr) ในวงศ์ Kerriidae เพศเมียไม่มีปีก ขณะเป็นตัวอ่อนระยะแรกมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา เกาะอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นไม้ เช่น จามจุรี และผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นำไปใช้ทำประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เชลแล็ก สีย้อมผ้า.
(คฺราว) ว. เรียกแมวตัวผู้ที่แก่ รูปร่างใหญ่ หน้าตาดุน่ากลัว และมีหนวดยาว ว่า แมวคราว.
น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๒ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว [ Wallago attu (Bloch) ] และ ค้าวดำ คูน ทุก อีชุก อีทุก หรือ อีทุบ ( W. micropogon Vailant) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.
ก. งอกงออยู่ภายในไม่โผล่ออกมาตามปรกติ เช่น หนวดคุด รากคุด, ขดงอ เช่น คุดขาเข้ามา.
(เคย) น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ใน ๒ วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Mysidae เช่น เคยตาดำ [ Mesopodopsis orientalis (Tattersall) ] อันดับ Mysidacea และวงศ์ Sergestidae เช่น เคยตาแดง (Acetes erythraeus Nobill ) อันดับ Decapoda ขนาดยาวไม่เกิน ๓.๔ เซนติเมตร มีหนวด ๒ แฉก ลำตัวแบนข้าง เปลือกบาง ใส เนื้อยุ่ย เหมาะสำหรับใช้หมักเกลือทำกะปิและน้ำเคย.
น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวดเพียงหลังเคา (ม. คำหลวง กุมาร).
น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก.
ว. โค้งเข้าหากัน เช่น ควายเขาโง้ง, โค้งขึ้น เช่น หนวดโง้ง.
น. ชื่อแมลงในวงศ์ Gryllidae หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน หนวดยาว ปากเป็นชนิดกัดกิน ลำตัวยาว ๑-๓ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับเก็บอยู่ใต้ปีกคู่หน้า เพศผู้ปีกคู่หน้ามีลวดลายเป็นสัน ทำเสียงได้โดยใช้ปีกคู่หน้าสีกัน กินใบพืช เช่น ทองดำ [ Gryllus bimaculatus (De Geer) ] ทองแดง [ Teleogryllus mitratus (Burmeister) ], จังหรีด ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Ctenopharyngodon idellus (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สำคัญคือ ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลำตัวสีเงิน อาศัยหากินพืชนํ้าอยู่ใกล้ผิวนํ้า มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mylopharyngodon aethiops (Basilewski) ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มีแผงฟันในบริเวณลำคอเพียงแถวเดียว ทั้งลำตัวและครีบสีคล้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
น. ชื่อแมลงในอันดับ Ephemeroptera ลำตัวอ่อนนิ่มบอบบางสีขาว หนวดสั้นมากมองเกือบไม่เห็น ปีกบางใสรูปสามเหลี่ยม มีเส้นปีกมากมาย เมื่อเกาะปีกจะตั้งตรง ที่ปลายท้องมีหางยาวคล้ายเส้นด้าย ๒-๓ เส้น เมื่อถูกรบกวนจะปล่อยของเหลวเหนียวสีขาวขุ่น เช่น ชนิด Ephemeraspp . ในวงศ์ Ephemeridae, ชีผ้าขาว ชีผะขาว หรือ สับปะขาว ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys nobilis (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร.
น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae มีขนาดเล็ก ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต เกล็ดโตหลุดง่าย อาศัยใกล้ผิวนํ้า เมื่อถูกจับขึ้นพ้นน้ำแล้วจะตายได้ง่าย ที่รู้จักกันทั่วไปและพบทั่วประเทศ ได้แก่ ซิวหนวดยาว ( Esomus metallicus Ahl) ซิวอ้าว อ้ายอ้าว อ้าว หรือ ซิวควาย ในสกุล Luciosoma, ซิวใบไผ่ ในสกุล Danio, ซิวหัวตะกั่ว ในสกุล Chela และ ซิว ในสกุล Rasbora
(ดะบัดสะ-) น. ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี, เพศหญิงว่า ดบัสวินี, เขียนเป็น ดบัศวี ก็มี เช่น รอยมึงบยำชีหน้าหนวด นักบวชด้วยดบัศวี แต่ก่อนฤๅ (ม. คำหลวง ชูชก).
น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในอันดับ Actininaria ลำตัวอ่อนนุ่ม รูปทรงกระบอก ยืดหดได้ ด้านหนึ่งเป็นฐานสำหรับยึด ด้านตรงข้ามเป็นช่องปาก มีหนวดมาก เมื่อยืดตัวออกคล้ายดอกไม้บาน เมื่อหดตัว เรียก สะดือทะเล, ดากทะเล หรือ เห็ดหลุบ ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Pterocryptis วงศ์ Siluridae ปากอยู่ต่ำเล็กน้อย หนวดยาวถึงโคนครีบอก ไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาเนื้ออ่อนพวกที่มีครีบหลัง เว้นแต่มีครีบก้นต่อเนื่องกับครีบหางที่มีขอบกลม ครีบอกมีก้านแข็งคล้ายเงี่ยง ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร เป็นปลาหายาก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Amblyceps mucronatum Ng & Kottelat ในวงศ์ Amblycipitidae ตาเล็กมาก มีหนวดอยู่ระหว่างรูจมูก ๔ คู่ ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้าง ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง มีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้าของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ คอดหางกว้าง ครีบหางเป็นแฉก พบอาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลำธาร ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร.
น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีหลายชนิด ในสกุล Hypsibarbusวงศ์ Cyprinidae ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน บางชนิดสีเหลืองทอง บางชนิดสีเงินอมเขียว มีหนวด ๔ เส้น เกล็ดด้านข้างและด้านบนหลังมีฐานเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ครีบอกและครีบท้องมักมีสีเหลืองปลายครีบสีส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด H. malcolmi (H.M. Smith) ลำตัวสีเหลืองทอง, ชนิด H. wetmorei (H.M. Smith) ลำตัวสีเงินอมเขียว, ชนิด H. pierrei (Sauvage) ลำตัวสีเทาเงิน, กระพาก ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวแบนข้าง มีทั้งลำตัวสั้นกว้าง และลำตัวเรียวยาว เกล็ดมีสีขาวเงินหรือเหลืองทอง ขอบเรียบ มักมีหนวดสั้น ๒-๔ เส้น ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร ชนิดที่มีลำตัวสั้นกว้าง เช่น ตะเพียนขาว [ Barbonymus gonionotus (Bleeker) ] ตะเพียนทอง [ B. altus (Günther) ] ตะเพียนหางแดงหรือกระแห [ B. schwanenfeldi (Bleeker) ] ส่วนชนิดที่มีลำตัวเรียวยาว เช่น ตะเพียนทราย [ Puntius leiacanthus (Bleeker) ].
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius bulu (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ไม่มีหนวด กระโดงครีบหลังแข็งและหยักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีลายพาดสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร เคยพบชุกชุมมากในเขตทะเลสาบสงขลาตอนในที่เรียกทะเลน้อย.
ก. โกน เช่น แถขน แถหัว แถหนวด.
น. ชื่อปลากดทะเลชนิด Arius leiotetocephalus Bleeker ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรีใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อยโดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cirrhinus microlepis Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ตํ่าที่ปลายหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะในแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ ๖๐ เกล็ด ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาลเทา ข้างท้องสีขาว ปลายครีบหลังและครีบท้องสีชมพู อาศัยตามลำนํ้าในเขตที่ลุ่มภาคกลางไปจนถึงแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, นวลจันทร์น้ำจืด ก็เรียก, อีสานเรียก โพง, เขมรเรียก พรวน.
น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดพวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker) หรือ Micronema apogon (Bleeker) ในวงศ์ Siluridae ปากเชิดขึ้น หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือกคล้ายปลาแดง แต่ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง หรือมีเป็นเพียงตุ่มขนาดเล็กมาก และมีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบรูปโค้ง ลำตัวมีสีเงินคล้ายตะกั่ว ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นมักมีขอบสีดำคล้ำ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น ขนาดยาวได้ถึง ๗๗ เซนติเมตร, เนื้ออ่อน นาง หรือ ชะโอน ก็เรียก.