ว. ประเดี๋ยว, บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย (สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้.
ก. ฉ้อโกง เช่น กระบัดสิน, ตระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
(ตฺระ-) ว. ประเดี๋ยว, บัดใจ, ทันใด, เช่น พลิกไปมาฟื้นตื่นองค์ ในรถมาศผจง ก็ตื่นตรบัดบัดใจ (อนิรุทธ์), กระบัด ก็ใช้.
(ตฺระ-) ก. ฉ้อโกง เช่น บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์ (เสือโค), กระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
ก. ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก.
ก. ฉ้อโกง เช่น ท่านว่าหญิงร้าย จะแกล้งประบัดสินท่าน (สามดวง), กระบัด ตระบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
ก. ลัด, ผลิ, แตกใบอ่อน, เช่น ไม้ระบัดใบ.
ว. เพิ่งลัด, เพิ่งผลิ, อ่อน, เช่น หญ้าระบัด.
ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวารพระกุฎีกูดังนี้ (ม. คำหลวง กุมาร), ตระบัดก็ให้เท้ง กระทุ่มเภรียครืนเครง กึกก้องบันลือเลวง (อนิรุทธ์).
น. ชื่อกวางชนิด Cervus porcinus Zimmermann ในวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดกลาง ขนลำตัวสีนํ้าตาลเข้มแต่ตอนล่างสีจางกว่า ตามลำตัวมีจุดขาวจาง ๆ กระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะลูกที่เกิดใหม่จุดขาวนี้จะเห็นชัดเจนเช่นเดียวกับลูกกวางดาว ตัวผู้มีเขา ผลัดเขาปีละครั้ง อยู่เป็นฝูงตามทุ่งหญ้า กินหญ้าระบัด ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย, กวางแขม กวางทราย หรือ ตามะแน ก็เรียก.
ก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ (อิเหนา)
ก. ดำนํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดำนํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน (สมุทรโฆษ).
ก. ฉ้อโกง, กระบัด ตระบัด หรือ ประบัด ก็ใช้.