น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะอย่างเดียวกับกลองแขก แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่า สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง ขึ้นหนัง ๒ หน้าด้วยหนังวัว ตีด้วยไม้งอน ใช้บรรเลงในวงบัวลอยในงานศพ และใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์นางหงส์.
(มะลาย) ก. แตก, ตาย, ทำลาย.
(มะ-) น. ชื่อชนชาติหนึ่ง อยู่ในประเทศมาเลเซียและเกาะต่าง ๆ ตอนใต้ของแหลมมลายู.
น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ไ.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคลํ้าเกือบดำ เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
(กฺริด) น. อาวุธชนิดหนึ่ง เป็นของชาวชวาและมลายู มีลักษณะด้ามโค้ง มักทำเป็นรูปหัวสัตว์ คล้ายมีด ๒ คม ปลายแหลม ใบมีดตรงก็มี คดไปคดมาก็มี.
(กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปยาวทรงกระบอก มี ๒ หน้า หน้าหนึ่งใหญ่ เรียกว่า หน้ารุ่ย อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า หน้าต่าน เดิมใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายหนังเหมือนกลองมลายู ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียกว่า ตัวเมีย, กลองชวา ก็เรียก.
น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างต่ำเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, เงาะ ก็เรียก.
น. บ่วงหวายสำหรับดักสัตว์อย่างเนื้อและกวาง. (ประพาสมลายู), กระหริ่ง ก็ว่า.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codiaeum variegatum (L.) A. Juss ในวงศ์ Euphorbiaceae ถิ่นกำเนิดในแหลมมลายูและแปซิฟิก มีหลายพันธุ์ ใบมีรูปร่างและสีต่าง ๆ กัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ, โกรต๋น ก็เรียก.
โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับของถวายกันขนาบมา (ประพาสมลายู).
น. คำเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร.
น. ฆ้องขนาดเขื่องและหนากว่าฆ้องกระแต มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สำหรับถือตีประกอบจังหวะร่วมกับวงปี่ชวา กลองมลายู หรือวงบัวลอยในงานศพ.
น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มีรูปร่างเช่นนั้น.
(ฉะหฺลาง) น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลมมลายู, ชาวนํ้า หรือ ชาวเล ก็เรียก. (ม. ว่า ซะลัง)
น. ชื่อกลองสองหน้า ลักษณะคล้ายกลองแขกหรือกลองมลายู ตีด้วยไม้ปลายงอ เป็นเครื่องประโคมของหลวง มีกลองชนะทอง เงิน เขียว หรือแดง ใช้ตีตามลำดับอิสริยยศและบรรดาศักดิ์.
น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลมมลายู, ฉลาง หรือ ชาวเล ก็เรียก.
น. ชาวชวามลายู เช่น กูนี้ปัติมโนโร นักเทศโทโอ- มสุชวาชาวี (สมุทรโฆษ).
น. พื้น, ฝ่า (ใช้แก่มือหรือเท้า) เช่น นางใดดาลไดบางอ่อนลอยด ลักษณลายลมยดมาลยศุข, นางใดดาลเชองแง่งามตายสุกษุมลายอ่อนเลอศนิ์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Caprimulgidae และในวงศ์ Eurostopodidae ขนนุ่มสีนํ้าตาลเทา มีลายกระขาว หากินในเวลากลางคืน กลางวันจะพรางตัวซ่อนอยู่ตามพื้นดิน กินแมลง เช่น ตบยุงหางยาว ( Caprimulgus macrurusHorsfield) ตบยุงเล็ก ( C. asiaticus Latham) ตบยุงภูเขา ( C. indicus Latham) ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Caprimulgidae, ตบยุงยักษ์ [ Eurostopodus macrotis (Vigors) ] ตบยุงพันธุ์มลายู [ E. temminckii (Gould) ] ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Eurostopdidae, กระบา กระบ่า หรือ กระบ้า ก็เรียก.
น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง บังคับให้มีคำที่ใช้ไม้ม้วนทุกวรรค ไม่ให้มีคำที่ใช้ไม้มลาย เช่น จักกล่าวถึงมเหษีที่อยู่ใน อรัญใหญ่องค์เดียวอนาถา อนาถใจถึงองค์พระภัศดา ให้โศกาถึงบุตรสุดอาวรณ์ (ศิริวิบุลกิตติ์).
น. ชื่อนกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Strigidae ตาสีเหลือง ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านล่าง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน กินปลาเป็นส่วนใหญ่ อาจกินหนูและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ บ้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ [ Ketupa zeylonensis (Gmelin) ] และทึดทือมลายู [ K. ketupa (Horsfield) ].
น. ชื่อวงปี่พาทย์ไทยที่ผสมวงอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยปี่ชวาและกลองมลายู สำหรับบรรเลงในงานศพ
น. คำเรียกชายผู้มีเชื้อสายแขกมลายูหรือแขกอินเดีย หมายถึง พี่ชาย, อาบัง ก็เรียก.
น. เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า บ้าบ๋า, คู่กับ ย่าหยา.
น. วงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงเฉพาะในงานอวมงคล เรียกชื่อตามเพลงซึ่งใช้เป็นหลักในการบรรเลง คือ เพลงเรื่องนางหงส์ อัตรา ๒ ชั้น การประสมเครื่องดนตรีเหมือนวงปี่พาทย์ธรรมดาประสมกับวงบัวลอย แต่ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนหรือกลองทัด.
น. ผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายตามที่มัดไว้, หมี่ ก็เรียก.
น. กรรมวิธีในการทอผ้าอย่างหนึ่ง เอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, เรียกผ้าที่ทอด้วยกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า ผ้ามัดหมี่, หมี่ ก็เรียก.
น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra Nutphand ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่ากระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน กินปลา, กริวลาย ม่อมลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก.
(-หฺงิด) น. ชื่อชนชาติชวามลายูในเกาะเซลีเบส, เรียกเพี้ยนเสียงเป็น ยุหงิด ก็มี.
น. ชื่อเครื่องหมายกำกับตัวอักษร เพื่อบอกระดับเสียง เช่น ๋ เรียกว่า ไม้จัตวา, เพื่อบอกชนิดสระ เช่น ไ เรียกว่า ไม้มลาย, เพื่อให้อ่านซํ้า คือ ๆ เรียกว่า ไม้ยมก, หรือเพื่อไม่ให้ออกเสียงอ่าน คือเรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต.
(-หฺยา) น. เรียกหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซียว่า ย่าหยา, คู่กับ บ้าบ๋า.
น. คนชาติข่าพวกหนึ่ง ในตระกูลชวา–มลายู อยู่ทางฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง.
น. เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ, เช่น รุ่นลายคราม.
น. การแสดงชนิดหนึ่งมาจากชาวมลายู, เรียก ยี่เก ก็มี.
ก. ตาย เช่น นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ (กฤษณา), วายวาง ก็ว่า.
ก. ค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้ผล เช่น สืบค้นหาสมบัติตามลายแทง.
(สะโหฺร่ง) น. ผ้านุ่งเป็นถุงมีลวดลายต่าง ๆ อย่างชาวชวามลายูนุ่งเป็นต้น.
น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, ผ้ามัดหมี่ ก็เรียก.