ปริมาณน้ำมันดิบในแหล่งกักเก็บใต้ดิน, ปริมาณน้ำมันดิบในแหล่งกักเก็บใต้ดินที่คาดว่าจะสามารถผลิตขึ้นมาได้และคุ้มค่าต่อการลงทุน[ปิโตรเลี่ยม]
ปริมาณก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบที่คาดว่าจะผลิตขึ้นมาได้จากหลุมเจาะ, Example:ปริมาณทั้งหมดของก๊าซธรรมชาต ิหรือน้ำมันดิบที่คาดว่าจะผลิตขึ้นมาได้จากหลุมเจาะ หรือจากแอ่งภายใต้สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและสภาพทางวิศวกรรม Ultimate recovery อาจจะเป็นการผลิตขั้นปฐมภูมิอย่างเดียว หรือรวมทั้งการผลิตขั้นทุติยภูมิด้วย เช่น การทำ water flood (ดูคำ Water Flood) เมื่อพิจารณาว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน[ปิโตรเลี่ยม]
อนุกรมแอกทิเนียม, กลุ่มนิวไคลด์ที่เกิดขึ้นตามลำดับจากการสลายของยูเรเนียม-235 นิวไคลด์สุดท้ายของอนุกรมนี้คือ ตะกั่ว-207 นิวไคลด์หลายชนิดที่มนุษย์ผลิตขึ้นก็มีการสลายตามอนุกรมนี้[นิวเคลียร์]
อนุกรมแอกทิเนียม, กลุ่มนิวไคลด์ที่เกิดขึ้นตามลำดับจากการสลายของยูเรเนียม-235 นิวไคลด์สุดท้ายของอนุกรมนี้คือ ตะกั่ว-207 นิวไคลด์หลายชนิดที่มนุษย์ผลิตขึ้นก็มีการสลายตามอนุกรมนี้[นิวเคลียร์]
ธาตุหลังยูเรเนียม, ธาตุในตารางพีริออดิกที่อยู่หลังธาตุยูเรเนียม มีเลขเชิงอะตอมมากกว่า 92 เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เนปทูเนียม พลูโทเนียม อะเมริเซียม คูเรียม เบอร์คีเลียม แคลิฟอร์เนียม ไอน์สไตเนียม เฟอร์เมียม เมนเดลีเวียม โนเบเลียม และลอว์เรนเซียม[นิวเคลียร์]
ธาตุหลังยูเรเนียม, ธาตุในตารางพีริออดิกที่อยู่หลังธาตุยูเรเนียม มีเลขเชิงอะตอมมากกว่า 92 เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เนปทูเนียม พลูโทเนียม อะเมริเซียม คูเรียม เบอร์คีเลียม แคลิฟอร์เนียม ไอน์สไตเนียม เฟอร์เมียม เมนเดลีเวียม โนเบเลียม และลอว์เรนเซียม[นิวเคลียร์]
สารเภสัชรังสี, เภสัชภัณฑ์รังสี, ผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรูปของสารประกอบหรือสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสารกัมมันตรังสีเกาะอยู่ในโมเลกุล ซึ่งผลิตขึ้นตามมาตรฐานสากลเภสัชรังสี ใช้ตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา การให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วยกระทำโดยการฉีดหรือกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเภสัชรังสีดังกล่าวจะไปกระจายตัวอยู่ในอวัยวะที่ต้องการตรวจหรือรักษา (target organ) โดยแสดงพยาธิสภาพตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะนั้นๆ สารเภสัชรังสีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น <br><sup>99m</sup>Tc-MDP ใช้ตรวจกระดูก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAA ใช้ตรวจปอด</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MIBI ใช้ตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ, tumor ทรวงอก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DISIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-BROMIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-HMPAO ใช้ตรวจสมอง</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DTPA ใช้ตรวจสมองและไต</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAG3 ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-Hippuran ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-MIBG ใช้ตรวจต่อมหมวกไต</br> <br>Na13<sup>1</sup>I ใช้ตรวจและรักษาโรคไทรอยด์</br> <br><sup>153</sup>Sm-EDTMP ใช้บรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก[นิวเคลียร์]
สารเภสัชรังสี, เภสัชภัณฑ์รังสี, ผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรูปของสารประกอบหรือสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสารกัมมันตรังสีเกาะอยู่ในโมเลกุล ซึ่งผลิตขึ้นตามมาตรฐานสากลเภสัชรังสี ใช้ตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา การให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วยกระทำโดยการฉีดหรือกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเภสัชรังสีดังกล่าวจะไปกระจายตัวอยู่ในอวัยวะที่ต้องการตรวจหรือรักษา (target organ) โดยแสดงพยาธิสภาพตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะนั้นๆ สารเภสัชรังสีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น <br><sup>99m</sup>Tc-MDP ใช้ตรวจกระดูก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAA ใช้ตรวจปอด</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MIBI ใช้ตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ, tumor ทรวงอก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DISIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-BROMIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-HMPAO ใช้ตรวจสมอง</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DTPA ใช้ตรวจสมองและไต</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAG3 ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-Hippuran ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-MIBG ใช้ตรวจต่อมหมวกไต</br> <br>Na13<sup>1</sup>I ใช้ตรวจและรักษาโรคไทรอยด์</br> <br><sup>153</sup>Sm-EDTMP ใช้บรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก[นิวเคลียร์]
นิวไคลด์กัมมันตรังสี, นิวไคลด์ที่ไม่เสถียร มีการสลายเพื่อลดระดับพลังงานโดยการปลดปล่อยรังสี เช่น แอลฟา บีตา แกมมา ออกมา นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ และที่มาจากการผลิตของมนุษย์มีมากกว่า 1, 300 ชนิด ตัวอย่างนิวไคลด์กัมตรังสีที่มีในธรรมชาติ เช่น $ _{ 92 }^{ 235 } $U $ _{ 92 }^{ 238 } $U $ _{ 19 }^{ 40 } $K และที่มนุษย์ผลิตขึ้นเช่น $ _{ 27 }^{ 60 } $Co $ _{ 43 }^{ 99 } $Tc $ _{ 95 }^{ 241 } $AM[นิวเคลียร์]
พลูโทเนียม, ธาตุหนักที่เป็นโลหะและเป็นธาตุกัมมันตรังสี มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 94 ซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไอโซโทปสำคัญ คือ พลูโทเนียม-239 มีครึ่งชีวิต 24, 000 ปีสามารถแบ่งแยกนิวเคลียสได้ จึงใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือทำอาวุธนิวเคลียร์[นิวเคลียร์]
อนุกรมเนปทูเนียม, อนุกรมกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ที่มนุษย์ผลิตขึ้น โดยเริ่มต้นจากพลูโทเนียม-241 และได้ผลผลิตสุดท้ายเป็นบิสมัท-209 ในอนุกรมนี้มี เนปทูเนียม-237 เป็นนิวไคลด์ที่มีครึ่งชีวิตยาวที่สุด เท่ากับ 2.14 x 10<sup>6</sup> ปี <br>(ดู decay, radioactive และ radioactive series ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
ไฮโดรเจน, ธาตุที่เบาที่สุดและเป็นธาตุลำดับที่ 1 ในตารางพีริออดิก ประกอบด้วยไอโซโทป 3 ชนิด โดย 2 ชนิด พบในธรรมชาติ ได้แก่ ไฮโดรเจนหรือไฮโดรเจนมวลเบาซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 1 และดิวเทอเรียมหรือไฮโดรเจนมวลหนักซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 2 ส่วนชนิดที่ 3 ได้แก่ ทริเทียม มีเลขมวลเท่ากับ 3 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น[นิวเคลียร์]
ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้น, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้นมีเลขมวลเท่ากับ 3 และครึ่งชีวิตเท่ากับ 12.32 ปี ทริเทียมสลายให้อนุภาคบีตาพลังงาน 18 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ใช้เป็นสารกัมมันตรังสีตามรอยในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม (ดู hydrogen, H และ deuterium, $^2$H, D ประกอบ)[นิวเคลียร์]
นิวไคลด์กัมมันตรังสี, นิวไคลด์ที่ไม่เสถียร มีการสลายเพื่อลดระดับพลังงานโดยการปลดปล่อยรังสี เช่น แอลฟา บีตา แกมมา ออกมา นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ และที่มาจากการผลิตของมนุษย์มีมากกว่า 1, 300 ชนิด ตัวอย่างนิวไคลด์กัมตรังสีที่มีในธรรมชาติ เช่น $ _{ 92 }^{ 235 } $U $ _{ 92 }^{ 238 } $U $ _{ 19 }^{ 40 } $K และที่มนุษย์ผลิตขึ้นเช่น $ _{ 27 }^{ 60 } $Co $ _{ 43 }^{ 99 } $Tc $ _{ 95 }^{ 241 } $AM[นิวเคลียร์]
เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ[พลังงาน]
สารเภสัชรังสี เภสัชภัณฑ์รังสี, หมายถึง ยาที่อยู่ในรูปของสารประกอบ หรือสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสารกัมมันตรังสีเกาะอยู่ในโมเลกุล ซึ่งผลิตขึ้นตามมาตรฐานสากล สารเภสัชรังสี ใช้ในการตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา การให้สารเภสัชรังสีกับผู้ป่วยกระทำโดยการฉีดหรือกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเภสัชรังสีดังกล่าว จะไปกระจายตัวอยู่ในอวัยวะที่ต้องการตรวจหรือรักษา (target organ) โดยแสดง "พยาธิสภาพ" ตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะนั้นๆ[พลังงาน]
ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เป็นต้นกำเนิดนิวตรอนรุ่นใหม่ จัดเป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูงชนิดหนึ่ง มีหลักการทำงานคือ เมื่อยิงโปรตรอนพลังงานสูง (มากกว่า 100 ล้าน อิเล็กตรอนโวลต์) เข้าไปในเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน และยูเรเนียม จะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบสปอลเลชั่น และมีการปลดปล่อยนิวตรอน พร้อมทั้งอนุภาคชนิดอื่นๆ เช่นโปรตรอน และเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องหลั่นกันไป (cascade) ต้นกำเนิดนิวตรอนชนิดนี้ ให้นิวตรอนพลังงานเฉลี่ยประ มาณ 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ จำนวนประมาณ 10-30 เท่าของการยิงโปรตรอน 1 อนุภาค นิวตรอนที่ผลิตขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยด้านต่างๆ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบ สปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENSตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (National Laboratory for High Energy Physics) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ.2523 สำหรับต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน ที่ให้นิวตรอนเข้มข้นสูงสุดในปัจจุบันคือ ISIS ของ Rutherford Appleton Laboratory ประเทศอังกฤษ เริ่มเดินเครื่องในปี พ.ศ. 2527 และให้นิวตรอนฟลักซ์เฉลี่ยประมาณ 1015นิวตรอน/ ตร.ซม.-วินาที และมีฟลักซ์สูงสุดมากกว่า 40 เท่าของฟลักซ์เฉลี่ย[พลังงาน]
ปริมาณสำรองปิโตรเลียม, ปริมาณที่ค้นพบแล้วและจะสามารถผลิตขึ้นมาใช้ให้คุ้มค่าได้ค่อนข้างแน่นอน ประกอบด้วยปริมาณที่พิสูจน์แล้วและปริมาณที่ยังไม่ได้พิสูจน์[ปิโตรเลี่ยม]
พลังงานหมุนเวียน, พลังงานหมุนเวียน พลังงานที่ใช้แล้วสามารถผลิตขึ้นมาใหม่ได้ในระยะเวลาที่ไม่นานมาก เช่น พลังงานทีได้จากไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย เอทานอล ไบโอดีเซล น้ำ แสง อาทิตย์ ความร้อนใต้พิภาพ ลมและคลื่น[ปิโตรเลี่ยม]
ยางเครพเป็นยางที่ผลิตขึ้นจากน้ำยางธรรมชาติ หรือยางซึ่งจับตัวเป็นก้อน เช่น ยางก้นถ้วย ยางติดเปลือกไม้ เป็นต้น นำไปรีดในเครื่องเครพ (creping machine) พร้อมทั้งใช้น้ำทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากยางระหว่างการรีด นำยางแผ่นที่ได้ไปผึ่งลมให้แห้ง ยางเครพที่ผลิตจากน้ำยางเป็นยางเครพที่มีคุณภาพดี ได้แก่ ยางเครพขาว (white crepe) หรือยางเครพสีจาง (pale crepe) เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางสี ได้แก่ ยางกระเป๋าน้ำร้อน ยางรัดของ เป็นต้น ส่วนยางเครพที่ผลิตจากก้อนยางจับตัว เป็นยางเครพที่มีคุณภาพต่ำ ได้แก่ ยางเครพสีน้ำตาล (brown crepe) ยางเครฟแฟลตบาร์ก (flat bark crepe) และยางเครฟแบลงเค็ต (blanket crepe) เป็นต้น ซึ่งยางเครฟเหล่านี้มีสีค่อนข้างเข้มและมีความบริสุทธิ์แตกต่างกันมากขึ้น อยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต เหมาะสำหรับทำผลิตภัณฑ์ยางที่ไม่คำนึงถึงสี ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนักและราคาต้นทุนต่ำ ได้แก่ ยางปูพื้น ยางกันโคลน เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางผงเป็นยางธรรมชาติที่ผลิตขึ้นให้อยู่ในรูปผง สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง จุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง[เทคโนโลยียาง]
ยางที่ผลิตขึ้นใข้แทนยางธรรมชาติ โดยสังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม มีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังรวมถึงยางชนิดต่างๆ ที่สังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาเคมีอีกด้วย เช่น ยางสไตรีนบิวทาไดอีน ยางไนไทรล์ เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
อะมิโนเพปทิเดส, เอนไซม์ที่ลำไส้เล็กผลิตขึ้นมาใช้สำหรับย่อยเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แอนติบอดี, สารจำพวกโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นในกระแสเลือดมีสมบัติต่อต้านทำลายเชื้อโรคหรือแอนติเจนที่เข้ามาในร่างกาย แอนติบอดีแต่ละชนิดที่ร่างกายผลิตขึ้นมานั้นจะมีผลทำลายเชื้อโรคหรือแอนติเจนเฉพาะอย่าง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ยางเทียม, ยางสังเคราะห์, ยางที่ผลิตขึ้นใช้แทนยางธรรมชาติ โดยสังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียมมีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไวไฟ, เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย ตามมาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ไวไฟเกิดจากการรวมกลุ่มกันของผู้ผลิตอุปกรณ์ เพื่อทดสอบว่าอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นทำงานได้ตามมาตรฐานของ IEEE 802.11 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ท[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]