แปลศัพท์
PopThai
dropdown
US
premium
109 ผลลัพธ์ สำหรับ 

*บอกกล่าว*

 ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น: บอกกล่าว, -บอกกล่าว-
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
(v)notifySee Also:apprise, inform, announce toSyn.บอก, แจ้งExample:ก่อนอื่นต้องขอบอกกล่าวกันว่าหนังสือเล่มนี้มิใช่เรื่องที่เขียนขึ้นเองโดยที่ไม่ได้รู้ข้อเท็จจริงThai Definition:บอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้
(n)giving informationSee Also:notification, telling, advising, informingSyn.การบอก, การแจ้ง, การแจ้งให้ทราบAnt.การรับฟัง, การฟัง, การสดับ, การสดับรับฟังExample:โปรแกรมควรที่จะมีการบอกกล่าวให้กับผู้ใช้ได้ทราบด้วยว่ามันได้ทำอะไรให้กับผู้ใช้ไปบ้างThai Definition:การร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจา ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนองในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับจำนอง.
ก. ร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้.
ก. ทำโดยพลการไม่บอกกล่าวหรือปรึกษาหารือผู้ที่ควรบอกกล่าวหรือควรปรึกษาหารือ.
น. คำบอกเล่าเรื่องราวซึ่งโดยปรกติมักเป็นเรื่องเกิดใหม่หรือเป็นที่สนใจ, คำบอกกล่าว, คำเล่าลือ.
น. คำบอกกล่าวอย่างเด็ดขาดครั้งที่สุดให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่มีการผ่อนผัน เช่น ยื่นคำขาดให้ผู้เช่าออกไปจากบ้านเช่าภายใน ๓ วัน, ข้อเสนอเด็ดขาด, ข้อเสนอที่ยื่นให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามโดยเด็ดขาด เช่น เขายื่นคำขาดให้เธอปฏิบัติตาม.
คำร้องบอกกล่าว.
ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคำอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทำอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ทำมาหากินอะไร
คำบอกกล่าวให้รับรู้ไว้.
ก. ยื่นคำร้องหรือคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงความประสงค์ว่าจะไม่ดำเนินคดีที่ยื่นฟ้องไว้อีกต่อไป ในคดีแพ่งและคดีปกครองเรียกว่า ถอนคำฟ้อง ในคดีอาญาเรียกว่า ถอนฟ้อง.
น. รูปแบบของการแจ้ง หรือบอกกล่าวข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่ทางราชการประสงค์จะให้ประชาชนได้ทราบเป็นการทั่วไป.
ก. บอกกล่าวให้รู้.
(วินยัดติ) น. การขอร้อง, การบอกกล่าว, การชี้แจง, รายงาน.
ก. ชี้แจง, สั่ง, บอกกล่าว, ประกาศ.
ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น เอะอะก็ไป เอะอะก็ด่า, อึกอัก ก็ว่า.
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
คำบอกกล่าวที่ให้เวลาพอสมควร[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คำบอกกล่าวระงับ (การจดทะเบียนโอนหุ้น)[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
๑. หนังสือบอกกล่าวให้ออกจากสถานที่๒. หนังสือบอกกล่าวว่าจะออกจากสถานที่[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
บอกกล่าว[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
การบอกกล่าวโดยทันที[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
๑. หนังสือบอกกล่าว, คำบอกกล่าว๒. แจ้งความ, ประกาศ[รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
หนังสือบอกกล่าว, คำบอกกล่าว, แจ้งความ, ประกาศ[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คำบอกกล่าวขอยุติคดี[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คำบอกกล่าวว่าตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
๑. บอกกล่าว๒. แจ้งความ[รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
บอกกล่าว, แจ้งความ[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คำบอกกล่าวว่าจะฟ้องคดี[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
หนังสือบอกกล่าวว่าเอกสารสิทธิ์มีภาระติดพัน[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คำบอกกล่าวว่าจะเสนอคดีให้ศาลพิจารณาต่อไป[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คำบอกกล่าวให้ยอมรับความถูกต้องของเอกสาร[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คำบอกกล่าวให้แสดงเอกสาร[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
๑. หนังสือบอกกล่าวให้ออกจากสถานที่๒. หนังสือบอกกล่าวว่าจะออกจากสถานที่[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
โดยไม่ต้องบอกกล่าว[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว (กฎหมายการแพทย์)[TU Subject Heading]
หนังสือบอกกล่าว (กฎหมาย)[TU Subject Heading]
การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน[การทูต]
เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น[การทูต]
ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน?[การทูต]
การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน[การทูต]
คือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้"[การทูต]
หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน?[การทูต]
เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้?[การทูต]
การยุติลงของการหน้าที่ทางการกงสุล กล่าวคือ หน้าที่ของหัวหน้าคณะในสถานที่ทำการทางกงสุลจะยุติลงเนื่องจาก 1. วายชนม์2. รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับ3. รัฐผู้รับเพิกถอนอนุมัติบัตร (Exequatur)4. การหน้าที่ของผู้นั้นได้ถึงกำหนดครบวาระหรือยุติลง5. เกิดสงครามระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับไม่เหมือนกับกรณีคณะผู้แทนทางการทูต สถานที่ทำการทางกงสุลนั้น ภาระหน้าที่จะไม่ยุติลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนกษัตริย์หรือประธานาธิบดีของ รัฐผู้ส่งหรือรัฐผู้รับ ข้อ 25 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ?การหน้าที่ของบุคคลในสถานที่ทำการกงสุลจะยุติลงก) เมื่อรัฐผู้ส่งได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้รับว่า การหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้ยุติลงแล้วข) เมื่อมีการเพิกถอนอนุมัติบัตรค) เมื่อรัฐผู้รับได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้ส่งว่า รัฐผู้รับได้เลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล[การทูต]
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
หลังจากหายไปโดยไม่บอกกล่าว ตั้งสองปีWuthering Heights (1992)
หากคอข้าขาด ข้าคงไม่อาจบอกกล่าวข้อเสนอแก่เจ้าได้The Chronicles of Riddick (2004)
ขอโทษที่ผมมา โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าSpygirl (2004)
เค้าออกไปแบบไม่บอกกล่าวเมื่อคืนนี้... ...แล้วเค้าก็ไม่กลับมาอีกเลยMonster House (2006)
และมาตรการอื่นๆที่จะบอกกล่าวในเรื่องนี้An Inconvenient Truth (2006)
การแยกแยะความจริงออกจากนิยาย และการบอกกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ออกจากความเข้าใจคลาดเคลื่อน คือสิ่งที่ได้เรียนรู้กันAn Inconvenient Truth (2006)
คุณเองก็หายตัวไปโดยไม่บอกกล่าวSmile Again (2006)
แค่สงสัยว่าถ้าผมต้องยิงใครสักคน ที่เดินผ่านประตูเข้าโดยไม่บอกกล่าว กลัวจะเป็นคุณหรือแฟนคูณ ก็เลยอยากรู้ไว้Shooter (2007)
ฉันคิดว่าคุณไปบ้านเธอไม่บอกกล่าวGo Your Own Way (2008)
ผมขอโทษที่โผล่มาไม่บอกกล่าวGo Your Own Way (2008)
ฉันหมายถึงว่าเธอหายตัวไปโดยไม่บอกกล่าวThe Secret of Moonacre (2008)
มาได้อย่างไรไม่บอกกล่าวThe Curious Case of Benjamin Button (2008)
ผมมาที่นี่ด้วยสาส์นจะบอกกล่าว..Invictus (2009)
คุณได้บอกกล่าวว่า เค้าเปนเพื่อนที่ดีที่สุดกับtakuaThe Good Wound (2009)
ฮ้อยของฉันไม่มีวันหนีไปดัลลัสโดยไม่บอกกล่าวหรอก มีคดีฆาตกรรมให้เกร่อI Will Rise Up (2009)
ฉันได้รับคำบอกกล่าวมาว่า คุณสามารถรักษาฉันได้Dream Logic (2009)
คุณแค่ปรากฏตัวโดยไม่บอกกล่าวYou're Undead to Me (2009)
มาร์คบอกผมว่าเธอขาดงาน โดยไม่บอกกล่าวBlack Swan (2009)
เยี่ยมพ่อแบบไม่บอกกล่าว ไม่ได้รึ?Chapter Three 'Acceptance' (2009)
ท่านวุฒิฯ ดอด โปรดอภัยที่ข้ามาโดยไม่ได้บอกกล่าวSenate Spy (2009)
ตอนที่ฉัน เห็นคุณ ฉัน... คิดว่าคุณกำลัง มาบอกกล่าวลาThe Turning Point (2009)
ฉันก็แค่บอกเขาว่า มันไม่ค่อยเหมาะ ที่ชวนแฟนคนอื่น ไปดูงานทดลองเขา โดยไม่บอกกล่าว เท่านั้นเองThe Gorilla Experiment (2009)
ขอโทษนะที่มาหาโดยไม่บอกกล่าวChuck Versus the Role Models (2010)
"เศร้าชอกช้ำ ระกำเกิน จักบอกกล่าว"The Bones That Weren't (2010)
ขอโทษที่มาไม่บอกกล่าว แต่ฉันมีเรื่องต้องพูดEpisode #1.3 (2010)
พาซึงยอนไปนั่นไปนี่เป็นอาทิตย์โดยไม่บอกกล่าว นี่เขาเป็นใครเนี่ย?Episode #1.6 (2010)
แต่ผมขอบอกกล่าวกับพลเมืองทั้งหลายของเราHarry Potter and the Deathly Hallows: Part 1 (2010)
เขาย้ายคุณออกจากโรงพยาบาลโดยไม่บอกกล่าวWelcome to the Occupation (2011)
นายจะมาจะไปไม่มีการบอกกล่าวเลยนะFermentation Family (2011)
เขามาโดยไม่ได้บอกกล่าวและเขาก็หิวGuilt (2011)
ถ้าฉันเจอเหล่าสตรี ฉันจะบอกกล่าวให้Authority Always Wins (2012)
เจคยังคงหายตัวไปโดยไม่บอกกล่าว แล้วไปหยุดที่ตรงนั้นอยู่เรื่อยZone of Exclusion (2012)
พวกเธอทุกคนเป็นคนบาป และคงจะดีกว่านี้ถ้าได้รับการบอกกล่าวที่ถูกต้องจากพระเจ้า ด่วนจี๋เลย เพราะพระเยซู เพิ่งจะเข้าเว็บออร์บิตซ์ แล้วตีตั๋วเครื่องบิน ดิ่งกลับลงมาบนโลกThe Break-Up (2012)
ใช่ครับ ผมขอโทษด้วยที่ ผมมาโดยไม่ได้บอกกล่าวไว้ก่อนRevelations (2012)
และหากท่านบอกกล่าวกับ คนแม้เพียงคนเดียว--Valar Dohaeris (2013)
ไม่รู้ หายไปโดยไม่บอกกล่าวเลยTo'hajiilee (2013)
ขออภัยที่หยุดโดยไม่ได้บอกกล่าวPower (2013)
คุณสามารถแสดงความขอบคุณฉันได้โดยการบอกกล่าวเรื่องโรค NF บางทีอาจจะเป็นการบริจาค เข้ามูลนิธิ ผู้ป่วยเด็กที่เป็นเนื้องอกThe Doll in the Derby (2013)
เราถ่อมาไกลขนาดนี้ แล้วคุณก็ทิ้งฉันไว้คนเดียว โดยไม่มีส่งข้อความบอกกล่าวกันเลยเหรอ?Conventions of Space and Time (2013)
เขาไม่มีทางจากไปโดยไม่บอกกล่าวThe Desert Rose (2013)
ไม่บอกกล่าวอะไรสักคำFlying Home (2014)
ท่านประธานาธิบดีควรได้รับการบอกกล่าว ประธานาธิบดีมีเรื่องให้คิดมากมายแล้ว11:00 a.m.-12:00 p.m. (2014)
คุณออกไปโดยไม่บอกกล่าวเลยJehoshaphat (2015)
ฉันขอโทษทีที่มาโดไม่บอกกล่าวก่อน.The Visitor (2007)
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
[bøkklāo] (v) EN: let on ; give notice ; tell ; notify ; apprise ; inform ; announce to  FR: informer ; aviser
[kān bøkklāo] (n) EN: giving information ; notification ; telling ; advising ; informing  FR: information [ f ] ; allégation [ f ] ; énonciation [ f ]
[khambøkklāo] (n) EN: notice
[nangseū bøkklāo] (n, exp) EN: notice
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
(phrv)ได้รับแจ้งเรื่องเกี่ยวกับ (ปกติใช้ passive voice)See Also:ได้รับการบอกกล่าวเรื่อง
(phrv)ได้รับการบอกกล่าวอย่างถูกต้องSyn.get wrong
(vt)แจ้งความSee Also:บอกกล่าว, บอก, ประกาศSyn.edify, inform
(vt)บอกกล่าวSee Also:แถลง, กล่าว
Hope Dictionary
(อะไพล') vt., vi. ใช้, ใช้เป็นประโยชน์, ประยุกต์, แผ่บน, สมัคร, ขอ, ร้องเรียน, บอกกล่าว,
(อะไพรซ') vt. แจ้งข่าว แนะนำ, บอกกล่าวSyn.inform, notify, tell
(อะไพรซ') vt. แจ้งข่าว แนะนำ, บอกกล่าวSyn.inform, notify, tell
(ฟอร์'รัน) { foreran, forerun, foreruns } vt. วิ่งนำ, ไปก่อน, นำหน้า, บอกกล่าวล่วงหน้า, คาดคะเน, ทำนาย, ซึ่งไปก่อน, ดักหน้า
(ฟอร์'รันเนอะ) n. บรรพบุรุษ, ผู้นำหน้า, ผู้บอกกล่าวล่วงหน้า, ลางสังหรณ์, เครื่องนำทาง, ผู้เบิกทางSyn.herald
(ฟอร์โช') vt. แสดงให้เห็นล่วงหน้า, บอกกล่าวล่วงหน้า, เป็นลาง, ส่อให้เห็นล่วงหน้า.See Also:forshowing n.
(โก'ไบ) n. การไปโดยไม่มีการบอกกล่าว, การบอกบัด
Nontri Dictionary
(vi)สมัครงาน, ร้องเรียน, ขอ, ร้องขอ, บอกกล่าว
(vi, vt)ประกาศ, แถลง, เปิดเผย, บอกกล่าว, แจ้ง
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ