น. ผู้รอบรู้, ผู้มีปัญญา.
น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ (สามดวง).
(ทิบพะยาน) น. กลพยานประเภทหนึ่ง เป็นพยานที่เชื่อถือได้ เช่น ภิกษุผู้ทรงธรรม พราหมณาจารย์ผู้ทรงศีลพรต นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงธรรม ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์, ในสามดวงเขียนเป็น ทิพญาณ หรือ ทิพพญาณ, ทิพยพยาน ก็ว่า.
น. กลพยานประเภทหนึ่ง เป็นพยานที่เชื่อถือได้ เช่น ภิกษุผู้ทรงธรรม พราหมณาจารย์ผู้ทรงศีลพรต นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงธรรม ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์, ทิพพยาน ก็ว่า.
(บันดิด) น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกำเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี.
น. นักปราชญ์, คนมีความรู้สูง.
น.ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
น. นักปราชญ์, ฤษี, พระสงฆ์.
น. จอมนักปราชญ์, พระพุทธเจ้า.
(-ไน) น. ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์.
(-บันดิด) น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี
น. ผู้รู้แจ้ง, นักปราชญ์.
(วิดทะวัด) น. ผู้รู้, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา.
น. ผู้รู้แจ้งชัด, นักปราชญ์.
น. ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็นนักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้
(สะมา-) ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.
(-เมด) น. คนมีปัญญาดี, นักปราชญ์.
อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกำหนดจำได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจอริยสัจ ว่า “ทุ. ส. นิ. ม.” หัวใจนักปราชญ์ ว่า “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” หัวใจเศรษฐี ว่า “อุ. อา. ก. ส.”.