ความต้านทานดิน[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ค่าออกเทน, ค่าออกเทน หมายถึงหน่วยการวัดความสามารถในการต้านทานการน๊อคของเครื่องยนต์[ปิโตรเลี่ยม]
การออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ความต้านทานไฟฟ้า[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
อาร์ไอเอ, เทคนิคการหาปริมาณสารต่างๆ ในสิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ โดยใช้สารประกอบติดฉลากรังสีเป็นตัวติดตามผลของปฏิกิริยาจำเพาะระหว่างสารก่อภูมิต้านทาน(antigen) และสารภูมิต้านทาน(antibody)[นิวเคลียร์]
สารภูมิต้านทาน[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การต้านทานโรคและศัตรูพืช[TU Subject Heading]
ความต้านทานไฟฟ้า[TU Subject Heading]
ความต้านทานการลื่นไถล[TU Subject Heading]
ค่าออกเทนเป็นตัวเลขที่บอกถึงคุณภาพการต้านทานการน็อค หรือความสามารถของน้ำมันเบนซินที่จะเผาไหม้โดยปราศจากการน็อคในเครื่องยนต์ ทดสอบได้หลายวิธี อาทิ <br>Research Octane Number (RON) เป็นการวัดโดยใช้เครื่องยนต์มาตรฐาน CFR F-1 วัดที่รอบเครื่องยนต์ต่ำ 600 รอบต่อนาที และอุณหภูมิไอน้ำมันผสมต่ำประมาณ 125 องศาฟาเรนไฮต์ <br>Motor Octane Number (MON) เป็นการวัดโดยใช้เครื่องยนต์มาตรฐาน CFR F-2 วัดที่รอบเครื่องยนต์รอบสูง 900 รอบต่อนาทีและอุณหภูมิไอน้ำมันผสม 300 องศาฟาเรนไฮต์ <br>Road Octane Number ทำการวัดโดยใช้รถยนต์จริงๆ วิ่งบนถนนซึ่งความเร็วและภาระเปลี่ยแนปลงไปต่างๆ กัน เพือ่ให้ได้ใกล้เคียงกับควาเมป็นจริงมากที่สุด วิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก[ปิโตรเลี่ยม]
ความสามารถของพื้นผิววัสดุในการต้านทานต่อการสึกหรอเนื่องจากการสัมผัส เสียดสีกัน[เทคโนโลยียาง]
ยาง CR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน มีทั้งประเภทที่ใช้งานทั่วไปและประเภทใช้งานพิเศษ เช่น ทำกาวยาง ยางใช้เคลือบ และวัสดุอุดรอยรั่ว เป็นต้น เนื่องจากโมเลกุลของยาง CR สามารถจัดเรียงตัวได้อย่างเป็นระเบียบภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ยางชนิดนี้จึงสามารถตกผลึกได้เช่นเดียวกับยางธรรมชาติ มีค่าความทนต่อแรงดึงสูง มีค่าความทนต่อการฉีกขาดและความต้านทานต่อการขัดถูสูง ยาง CR มีสมบัติทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี และทนต่อความร้อน แสงแดด และโอโซนได้ค่อนข้างดี และยังมีสมบัติการหน่วงไฟ จึงนิยมนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานภายนอกอาคาร เช่น ยางขอบหน้าต่าง ยางรองคอสะพาน ยางปลอกสายเคเบิล เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยาง XIIR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน (Halogenation) ของยาง IIR กับก๊าซคลอรีน (Cl 2) หรือก๊าซโบรมีน (Br 2) ได้เป็นยางคลอโรบิวไทล์ (CIIR) หรือยางโบรโมบิวไทล์ (BIIR) ตามลำดับ ยางฮาโลบิวไทล์นี้มีปริมาณฮาโลเจนอยู่น้อยมากจึงไม่จัดอยู่ในพวกยางที่มี ขั้ว แต่ยางชนิดนี้คงรูปได้เร็ว มีระดับการคงรูปสูง และมีความต้านทานต่อการเกิด reversion ในระหว่างการคงรูปได้ดี ดังนั้นยางฮาโลบิวไทล์จึงสามารถใช้ผสมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติได้ดีและยังสามารถเกิดการคงรูปร่วมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ ได้ สมบัติของยางชนิดนี้โดยทั่วไปดีกว่ายาง IIR เล็กน้อย คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำกว่า มีความทนทานต่อโอโซน ความร้อน สภาพอากาศ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีกว่า แต่มี hysteresis สูงกว่า การใช้งานนิยมใช้ผลิตยางโอริงหรือปะเก็นยางชนิดที่ต้องทนต่อสารเคมี ท่อไอน้ำ ยางบุด้านในของยางล้อแบบไม่มียางใน สายพาน ยางบุต่างๆ และจุกปิดขวดยา เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเฉพาะที่บริเวณพื้นผิว สามารถวัดได้โดยนำหัวกด (indentor) กดลงบนชิ้นทดสอบภายใต้สภาวะที่กำหนด ความลึกของการทะลุทะลวงของหัวกดจะสะท้อนถึงค่าความแข็ง สำหรับยางนิยมทดสอบด้วยเครื่อง Durometer แบบ Shore A ซึ่งมีหน่วยความแข็งเป็น Shore A (ISO 7619-1, ASTM D2240) หรือการทดสอบแบบ IRHD มีหน่วยความแข็งเป็น IRHD (ISO 48)[เทคโนโลยียาง]
ยางไนไทรล์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นโคพอลิเมอร์ของอะไค รโลไนไทรล์และบิวทาไดอีน ประกอบด้วยอะไครโลไนไทรล์ตั้งแต่ร้อยละ 18-51 ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน ยางไนไทรล์เป็นยางที่มีความเป็นขั้วสูงมีสมบัติเด่น คือ ทนต่อน้ำมันปิโตรเลียมและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อความร้อนและต้านทานต่อการขัดถูได้ดี จึงนิยมนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับน้ำมัน เช่น ปะเก็นน้ำมัน ยางโอริง ยางซีล ยางเชื่อมข้อต่อ เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
อัตราส่วนของค่าพลาสติซิตี้หลังจากการให้ความร้อนในตู้อบอากาศร้อนเป็น เวลา 30 นาที ที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส ต่อค่าพลาสติซิตี้ก่อนการให้ความร้อนในตู้อบ ซึ่งค่านี้จะบอกถึงความต้านทานต่อการเกิดออกซิเดชันของยางดิบ[เทคโนโลยียาง]
ยางพอลิยูรีเทนได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่ไอโซไซยาเนต (isocyanate, -N-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl, -OH) เกิดเป็นพันธะยูรีเทน (-NH-CO-O-) ขึ้น ถ้าหมู่ R ในพอลิออลเป็นพอลิเอสเทอร์ จะเรียกว่า พอลิเอสเทอร์ยูรีเทน (AU) และถ้าหมู่ R เป็นพอลิอีเทอร์ จะเรียกว่า พอลิอีเทอร์ยูรีเทน (EU) สมบัติทั่วไปของยางพอลิยูรีเทน คือ มีความทนต่อแรงดึง ความทนต่อการฉีกขาด ความแข็ง ความต้านทานต่อการขัดถู รวมทั้งมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน ความร้อน และโอโซนดีมาก แต่จะเสื่อมสภาพได้ง่ายถ้าใช้งานในที่ร้อนชื้นหรือในสภาวะที่ต้องสัมผัสกับ น้ำร้อน ไอน้ำ กรด หรือด่าง (เกิดการไฮโดรไลซิส) สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ท่อยาง ข้อต่อยาง ปลอกหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง ล้อสเก็ต ยางพื้นรองเท้า ยางซีล ปะเก็น เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ความต้านทานการไหลของวัสดุภายใต้ความเค้น หาได้จากความเค้นเฉือนหารด้วยอัตราการเฉือน (Shear stress/shear rate)[เทคโนโลยียาง]
กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม, โรคภูมิต้านทานบกพร่อง, ภูมิคุ้มกันบกพร่องภายหลัง, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง, เอดส์, โรคเอดส์, โรคภูมิต้านทานเสื่อม[การแพทย์]
ความต้านทานต่อการฉีดเลือด, เลือดที่ออกจากหัวใจ, ลดความต้านทาน[การแพทย์]
ความต้านทานในทางเดินหายใจ, ความต้านทานในท่อทางเดินหายใจ, ความต้านทานในหลอดลม[การแพทย์]
ความต้านทานสำหรับใช้งาน[การแพทย์]
แอนติบอดีย์จำเพาะ, อิมมูนแอนติบอดี้, แอนตี้บอดี้, แอนติบอดีย์ที่ไม่คงตัว, สิ่งต่อต้าน, ภูมิต่อต้านโรค, ภูมิคุ้มกัน, แอนติบอดี, แอนติบอดี้, ภูมิต้านทาน, สารต่อต้านโรค, แอนติบอดีย์, สารแอนติบอดีย์, แอนติโบดี, แอนตีบอดี, ความต้านทาน, แอนติบอดี้, แอนตี้โบดี้, สารต่อต้าน, ภูมิคุ้มกันโรค, แอนติบอดี, ภูมิคุ้มกันร่างกาย, ภูมิคุ้มกันโรค[การแพทย์]
ภูมิคุ้มกันอสุจิ, ภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิ[การแพทย์]
แอนติเจน, สารกระตุ้น, สิ่งกระตุ้น, แอนตีเจน, สารแอนติเจน, ความต้านทาน, สารมาตรฐาน[การแพทย์]
ออโตอิมมูน, โรค; โรคภูมิต้านทานต่อตนเอง; โรคภูมิคุ้มต้านตนเอง; โรคต้านเนื้อเยื่อของตัวเอง; โรคภูมิแพ้ต่อตนเอง; โรคออโตอิมมูน; โรคต้านเนื้อเยื่อของตัวเอง; โรคออโตอิมมูน; โรคทางภูมิคุ้มกัน[การแพทย์]
การเกิดภูมิต้านทานในตนเอง, ภูมิแพ้ต่อเนื้อเยื่อของตนเอง, ภูมิต้านตนเอง, ภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง, การเกิดภูมิต้านทานต่อเนื่อเยื่อของตนเอง[การแพทย์]
ร่างกายมีความต้านทานต่ำ[การแพทย์]
ความต้านทานการหายใจ[การแพทย์]
ความต้านทานของเซลล์[การแพทย์]
ความต้านทานทางเคมี[การแพทย์]
ต้านกับแรงยืดหยุ่น, ความต้านทานจากความยืดหยุ่น[การแพทย์]
ความต้านทานไฟฟ้า[การแพทย์]
ออกกำลังแบบการเขยิบขั้นแรงต้านทานในด้านนอน[การแพทย์]
การออกกำลังเอาชนะต้านทานชนิดก้าวหน้า, แรงต้านการทำงานของกล้ามเนื้อ[การแพทย์]
งานจากความต้านทานในช่องทางผ่านอากาศหายใจ[การแพทย์]
เทอร์มอมิเตอร์ระบบ ความต้านทาน[อุตุนิยมวิทยา]
resistivity survey, การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์โดยวิธีวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ[เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ]
ทอกซอยด์, สารที่ได้จากการนำเอาทอกซินมาทำให้หมดฤทธิ์ แต่ยังคงมีสมบัติของแอนติเจนอยู่ เช่น ทอกซินของเชื้อบาดทะยัก เมื่อทำให้หมดฤทธิ์แล้วนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกาย ก็จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต้านทานโรคบาดทะยักได้[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
โรคเบาหวาน, โรคที่เกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน อาการของโรคคือ ปัสสาวะบ่อย มีน้ำตาลในปัสสาวะ ร่างกายอ่อนแอ มีความต้านทานโรคต่ำ เมื่อเป็นแผลจะรักษาหายยาก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เหล็กกล้าไร้สนิม, โลหะผสมระหว่างเหล็ก โครเมียม และธาตุบางชนิด เช่น นิกเกิล มีความต้านทานสูงต่อการเกิดสนิมโดยปกติจะมีโครเมียมผสมอยู่เกิน 12%[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การต่อแบบขนาน, การต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า(เช่นตัวต้านทาน)เข้ากับวงจรโดยที่ปลายทั้งสองของอุปกรณ์ต่อกับจุด 2 จุดร่วมกัน เพื่อแบ่งกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์คร่อมอุปกรณ์แต่ละอันมีค่าเท่ากัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การต่อแบบอนุกรม, การต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า (เช่นตัวต้านทาน) หลาย ๆ อันเข้ากับวงจร โดยต่อปลายของอุปกรณ์เรียงกันไป กระแสไฟฟ้าที่ผ่านอุปกรณ์แต่ละอันจะมีค่าเท่ากัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความต้านทาน, สมบัติของตัวนำในการต้านการไหลกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำนั้น มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ที่ปลายทั้งสองของตัวนำกับกระแสไฟฟ้าที่ผ่าน ใช้สัญลักษณ์ R แทนความต้านทาน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความนำไฟฟ้า, สมบัติในการนำไฟฟ้าของตัวนำ มีค่าเป็นส่วนกลับของความต้านทานไฟฟ้า หน่วยเป็น โอห์ม-1 หรือ ซีเมนส์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ชันต์, ตัวต้านทานที่มีความต้านทานต่ำ ใช้ต่อขนานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าเพื่อให้กระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งผ่าน เช่น ต่อขนานกับแกลแวนอมิเตอร์ ชันต์จะให้กระแสส่วนเกินกระแสสูงสุดของแกลแวนอมิเตอร์ผ่าน และแกลแวนอมิเตอร์นี้จะเป็นแอมมิเตอร์ที่วัดกระแสไฟฟ้าได้มากกว่ากระแสส[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ซีเมนส์, หน่วยวัดความนำไฟฟ้าของตัวนำ ใช้สัญลักษณ์ S โดยกำหนดว่า 1 ซีเมนส์ คือ ความนำไฟฟ้าของตัวนำซึ่งมีความต้านทาน 1 โอห์ม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ตัวควบคุมกระแสไฟฟ้า, อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมกระแสไฟฟ้าในวงจรให้อยู่ในช่วงที่ต้องการและเป็นตัวต้านทานที่ปรับค่าได้[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]