(กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
น. ชื่อกบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Hoplobatrachus rugulosus (Wiegmann) หรือ Rana rugulosus (Wiegmann) ก็มีใช้กัน ในวงศ์ Ranidae หลังสีน้ำตาลอมเขียวมีจุดสีน้ำตาลเข้มถึงดำกระจายทั่วไป ท้องสีขาวนวล กินแมลง เป็นชนิดที่มีแพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย.
น. ชื่อกระรอกชนิด Menetes berdmorei (Blyth) ในวงศ์ Sciuridae ขนสีนํ้าตาล มีลายสีดำและนํ้าตาลอ่อนตามยาวข้าง ๆ ตัว หางเป็นพวง มักวิ่งหากินตามพื้นดิน, จ้อน ก็เรียก.
ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับน้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง.
น. ชื่องูพิษขนาดเล็กชนิด Calloselasma rhodostoma (Boie) ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร สีน้ำตาลอมแดงลายสีนํ้าตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีนํ้าตาลแก่เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และมีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคลํ้าเรียก งูปะบุก.
น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อม หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน อาจหากินร่วมกับนกชนิดอื่น ๆ พวกที่อยู่ในวงศ์ Sylviidae มีปากหนาสั้นสีดำปลายแหลม เช่น กะรางหัวหงอก [ Garrulax leucolophus (Hardwicke) ] กะรางคอดำ [ G. chinensis (Scopoli) ] กะรางสร้อยคอเล็ก [ G. monileqer (Hodgson) ] พวกที่อยู่ในวงศ์ Upupidae ได้แก่ กะรางหัวขวาน ( Upupa epops Linn.) ปากยาวแหลมโค้งสีดำ หงอนขนสีส้มขอบดำ ลักษณะหงอนขนเหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลำตัวสีนํ้าตาลอมเหลือง มีแถบดำขาวสลับกัน, ชนิดนี้ การางหัวขวาน หรือ หงอนชบา ก็เรียก.
น. ชื่อลิงชนิด Macaca nemestrina (Linn.) ในวงศ์ Cercopithecidae ขนลำตัวสีน้ำตาลอมเทา หางสั้นงอโค้งขึ้นไปทางด้านหลัง ทางปักษ์ใต้ใช้เก็บมะพร้าว, กะบุด ก็เรียก.
น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Turdidae ปากยาวปานกลางปลายแหลม หางยาวกว่าลำตัวมาก เช่น กางเขนบ้าน [ Copsychus saularis (Linn.) ] ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่อกลงไปสีขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ กินแมลง, ภาคกลางเรียก กางเขน, พายัพเรียก จีแจ๊บ, อีสานเรียก จี่จู้, ปักษ์ใต้เรียก บินหลา, กางเขนดง [ C. malabaricus (Scopoli) ] ปาก หัว หลัง อก และปีกของตัวผู้สีดำเหลือบ หลังส่วนล่างติดโคนหางสีขาว อกส่วนล่างไปจนถึงหางสีน้ำตาลแดง หางยาว ด้านบนสีดำ ใต้หางและขอบหางสีขาว ขาสีน้ำตาลอมชมพู ตัวเมียสีจางไม่สดใสเท่าตัวผู้และหางสั้นกว่า.
น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Amblemidae ส่วนใหญ่มีเปลือกหนา สีเขียวคลํ้าหรือนํ้าตาลอมดำ ด้านในเป็นมุก เช่น ชนิด Chamberlainia hainesiana (Lea), กาบนํ้าจืด ก็เรียก.
น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด วงศ์ย่อย Nectariniidae ในวงศ์ Nectariniidae ขนคลุมลำตัวสีเหลือบเป็นมัน ตัวผู้สีเข้มกว่าตัวเมีย ซึ่งส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลอมเขียว ปากยาวเรียวโค้งลงเหมาะสำหรับดูดน้ำต้อยจากปลีกล้วย ดอกไม้ และจับแมลงกิน เช่น กินปลีอกเหลือง [ Nectarinia jugularis (Linn.) ] กินปลีหางยาวเขียว [ Aethopyga nipalensis (Hodgson) ] กินปลีท้ายทอยสีน้ำเงิน [ Hypogramma hypogrammicumMüller ].
น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus semisulcatus De Haan ในวงศ์ Penaeidae รูปร่างและขนาดคล้ายกุ้งกุลาดำ ลำตัวสีน้ำตาลอมแดง แต่มีลายน้อยกว่ากุ้งกุลาดำ หนวดมีลายสลับเป็นปล้อง.
(-ปฺรี) น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli Urbain ในวงศ์ Bovidae เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้สีดำ มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ใช้เขาขุดดินและแทงต้นไม้ทำให้ปลายแตกเป็นเส้น ๆ ร่นลงไปมองเห็นเป็นพู่ ตัวเมียสีน้ำตาลอมเทาหรือน้ำตาลเข้ม เขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณอีสานใต้ตามชายแดนไทย–กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทยที่ใกล้จะสูญพันธุ์, โคไพร ก็เรียก.
น. ชื่อกวางในสกุล Muntiacusวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาลอมเหลืองจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ อีเก้งหรือฟาน [ M. muntjak (Zimmermann) ] และเก้งหม้อ เก้งดำ ฟานดำ หรือกวางจุก [ M. Feae (Tomas & Doria) ] ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Castanea mollissima Blume ในวงศ์ Fagaceae ขอบใบจักแหลม ดอกเล็ก สีน้ำตาลอ่อน เปลือกหุ้มผลหนามีหนามแหลม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง เปลือกแข็ง สีนํ้าตาลแกมแดง เนื้อในสีขาว กินได้.
น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Pentatomidae ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอ่อน ยาว ๒.๕-๓.๐ เซนติเมตร เมื่อถูกตัวจะปล่อยของเหลว มีกลิ่นฉุน ชนิดที่พบทั่วไป เช่น ชนิด T essaratoma javamicaThunberg, T. papillosa (Drury) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบลิ้นจี่หรือลำไย, แมลงแคง ก็เรียก.
น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม เนื่องจากการคัดและผสมพันธุ์ทำให้มีสายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร.
น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาว อาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว [ G. g. gallus (Linn.) ] และไก่ป่าติ่งหูแดง [ G. g. spadiceus (Bonaterre) ] ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.
(ขะหฺมวน) น. ชื่อหนอนแมลงพวกด้วงที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา ตัวหนอนมักมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน มีขนปกคลุม ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dermestes maculatus De Geer ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาว ๗-๙ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำพาดตามขวาง.
น. ข้าวเกรียบใส่นํ้าตาลอ้อย มีรสหวานอย่างข้าวเกรียบว่าว.
น. ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลำตัวอ้วนสั้น หัวโต คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาลซึ่งมีทั้งสีน้ำตาลอ่อนและน้ำตาลไหม้ ทุกชนิดออกหากินเวลากลางคืน มักมีนิสัยดุ มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้ท้องเขียว ( Trimeresurus popeorum Smith) ปาล์ม ( T. wiroti Trutnau).
น. ชื่องูขนาดเล็กในสกุล Oligodonวงศ์ Colubridae ลำตัวขนาดไล่เลี่ยกับดินสอดำ ยาว ๓๐-๘๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลอมเทา มีลายรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ลายเส้น ลายประ หรือลายจุดสีดำกระจายทั่วตัว ท้องบริเวณหางสีแดง ส่วนใหญ่หากินเวลากลางคืน อาศัยตามพื้นดิน กินแมลง แมงมุม จิ้งจก เขียด ไส้เดือน ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลาน ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งอดท้องแดงหรืองอดไทย [ O. taeniatus (Günther) ] งอดด่างหรือปี่แก้วลายกระ [ O. cinereus (Günther) ].
น. ชื่อปูชนิด Varuna litterata (Fabricius) ในวงศ์ Grapsidae ลำตัวแบน สีน้ำตาลอมเหลือง อาศัยอยู่ตามป่าจากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Albizia lebbeck (L.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae ดอก (เกสร) อ่อนมีสีเขียวและขาว เมื่อดอก (เกสร) แก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแสด ฝักแบนยาวกว้าง ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีนํ้าตาลอ่อน ไม่มีรส, พฤกษ์ ซึก หรือ ซิก ก็เรียก, มักเรียกต้นก้ามปูหรือต้นจามจุรีแดง [ Samanea saman (Jacq.) Merr. ] ซึ่งเป็นไม้ต่างชนิดกันว่า ต้นจามจุรี.
น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Cymbiola nobilis (Lightfoot) ในวงศ์ Volutidae เปลือกหนา พื้นผิวด้านนอกเรียบสีน้ำตาลอ่อนมีลายเส้นหยักสีนํ้าตาลไหม้เข้ม เปลือกม้วนเป็นวงซ้อนกันปลายยอดเป็นจุกเหมือนมวยผมของพราหมณ์.
น. เรียกเนื้อในตาลอ่อนที่เฉาะออกมาจากเต้าตาล ว่า ตาลเฉาะ.
น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium pulchellum Roxb. ex Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ สีนํ้าตาลอมชมพูหรือนวล มีแต้มสีเลือดหมูที่กลีบกระเป๋า ๒ แต้ม.
ชื่อปลาทะเลในสกุล Sillagoวงศ์ Sillaginidae หัวหลิมแหลม ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางเป็นแฉกตื้นหรือเว้าเพียงเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ลำตัวสีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา บางชนิดมีแต้มสีน้ำตาลเข้มกว่าเรียงเป็นแถวอยู่ข้างลำตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง บ้างมีจุดบนครีบหลัง อยู่เป็นฝูง ไซ้ทรายหากุ้ง ปู หอย หรือหนอนขนาดเล็กอยู่ตามเขตน้ำตื้นบริเวณชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร, เห็ดโคน หรือ บุรุด ก็เรียก.
น. ชื่อแมลงพวกมวน Lethocerus indicus (Lepeletier & Serville) ในวงศ์ Belostomatidae ปากสั้นแหลมคม ลำตัวกว้าง รูปไข่ แบนลง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖-๘ เซนติเมตร ปีกสีน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลอมเขียว ขาคู่หน้าแข็งแรงใช้จับเหยื่อ เจาะดูดกินของเหลวจากเหยื่อเป็นอาหาร ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมักบินเข้าหาแสงไฟ ตัวผู้มีต่อมกลิ่นนิยมนำไปผสมอาหาร, แมลงดา หรือ แมลงดานา ก็เรียก.
น. ชื่อกวางชนิด Axis axis (Erxleben) ในวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดกลาง ขนละเอียดอ่อนและนุ่มกว่ากวางป่า สีนํ้าตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองมีจุดสีขาวกระจายทั่วตัว อยู่รวมกันเป็นฝูง กินพืช มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและศรีลังกา.
ชื่อเห็ดหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Boletaceae ขึ้นตามพื้นดินใต้พุ่มไม้ยืนต้นหลายชนิด ดอกเห็ดใหญ่ สีนํ้าตาลเข้ม ด้านล่างมีรูสีเหลืองอมเขียวหม่นไปจนถึงสีนํ้าตาลอมเขียวหม่น โคนก้านใหญ่ กินได้.
น. ชื่อปาล์มชนิด Arenga pinnata (Wurmb) Merr. ในวงศ์ Palmae ใบคล้ายใบมะพร้าว ด้านล่างมีนวลขาว จั่นเป็นพวงห้อย ให้นํ้าตาลอย่างมะพร้าว ออกผลเป็นทะลาย เนื้อในเมล็ดอ่อนเรียกว่า ลูกชิด เชื่อมกินได้.
น. ชื่อกกชนิด Schoenoplectus mucronatus (L.) Palla ในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นเป็นกอ สีนํ้าตาลอ่อน ลำต้นเป็นสามเหลี่ยม, กกกลม ก็เรียก.
น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้.
น. เรียกหมวกที่มีรูปทรงคล้ายหม้อตาลอย่างหมวกที่พลทหารเรือและจ่าทหารเรือเป็นต้นสวม ว่า หมวกทรงหม้อตาล.
น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus (Linn.) ในวงศ์ Muridae ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือดำพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดำยาวไล่เลี่ยกับความยาวของส่วนหัวและลำตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Gryllus bimaculatus (De Geer) ในวงศ์ Gryllidae ลำตัวยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร โดยทั่วไปสีดำตลอดทั้งตัว โคนปีกคู่หน้ามีแต้มสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ๒ แต้ม.
น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Teleogryllus mitratus (Burmeister) ในวงศ์ Gryllidae ตัวยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร โดยทั่วไปสีนํ้าตาลทั้งตัว โดยเฉพาะด้านล่างของหัว อก ท้อง และขา ส่วนทางด้านหลังสีนํ้าตาลอมแดง.
น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Elaphe radiata (Schlegel) ในวงศ์ Colubridae หัวสีน้ำตาลอมแดงด้านข้างมีลายสีดำจากตามาถึงปาก จากหัวถึงครึ่งลำตัวมีลายตามยาวหรือเป็นดวงสีดำสลับขาว เป็นรัศมีคล้ายแสงอาทิตย์ ส่วนที่เหลือถึงหางสีแดงอมน้ำตาล น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลอมเหลือง ไม่มีพิษ, ก้านมะพร้าว ก็เรียก.
น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Rauwenhoffia siamensis Scheff. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีนํ้าตาลอ่อนเกือบนวล ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ บานเวลาเย็น กลิ่นหอม ผลสุกกินได้.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลำตัวสีนํ้าตาลอมเทา มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมีแผ่นพังผืดคล้ายตีนเป็ด หางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่าขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด ที่มีจำนวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata Geoffroy) และนากเล็กเล็บสั้น [ Aonyx cinerea (Illiger) ].
น. นํ้าฝนที่ตกชะดินไหลลงมา มีสีน้ำตาลอ่อน.
น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าอมเทา เช่น ชนิด S. forsteri Cuvier หรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata Cuvier & Valenciennes บ้างมีบั้งทอดขวางลำตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello Cuvier & Valenciennes บ้างก็มีจุดหรือแต้มดำ เช่น ชนิด S. barracuda (Walbaum) ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐-๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก.
น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus abalonusY.H. Han, K.M. Chen et S. Cheng ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่ม โคนก้านดอกติดกัน ดอกเห็ดเนื้อหนา มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์สีเทาดำ และ พันธุ์สีนํ้าตาลอ่อน กินได้.
(โปฺร่ง-) น. ชื่อไม้เถามีรากสะสมอาหารชนิด Asparagus setaceus (Kunth) Jessop ในวงศ์ Asparagaceae กิ่งเป็นเส้นเล็กละเอียดโปร่ง ออกเป็นแผงคล้ายใบ ใบเป็นเกล็ดเล็กสีน้ำตาลอ่อน ปลูกเป็นไม้ประดับ.
น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายวงศ์ หลายอันดับ มีปากชนิดเจาะดูด หรือชนิดเขี่ยดูด ทำลายพืชต่าง ๆ ส่วนใหญ่ไม่มีปีก พวกที่อยู่ในวงศ์ Cicadellidae มีรูปร่างคล้ายจักจั่น เรียก เพลี้ยจักจั่น เช่น ชนิด Nephotetix virescens (Distant) ทำลายข้าว, พวกที่อยู่ในวงศ์ Aphididae มีลำตัวบอบบางและอ่อนนิ่ม เรียก เพลี้ยอ่อน เช่น ชนิด Rhopalosiphum maidis (Fitch) ทำลายข้าวโพด, พวกที่อยู่ในวงศ์ Thripidae ทำลายพืชทำให้มีลักษณะเหมือนไฟไหม้ เรียก เพลี้ยไฟ, เช่น ชนิด Thrips palmiKarny ทำลายฝ้ายและดอกกล้วยไม้, พวกที่อยู่ในวงศ์ Pseudococcidae ที่สามารถผลิตสารสีขาวคล้ายแป้งออกมาหุ้มลำตัว เรียก เพลี้ยแป้ง เช่น ชนิด Planococcus minor (Maskell) ทำลายผลทุเรียน และพวกที่อยู่ในวงศ์ Diaspididae ที่ผลิตสารสีนํ้าตาลออกมาหุ้มลำตัวคล้ายฝาหอย เรียก เพลี้ยหอย เช่น ชนิด Aonidiella aurantii (Maskell) ทำลายผลส้ม.
น. ยางหอมสีแดงอมเหลืองหรือนํ้าตาลอมแดงได้จากรอยแตกของเปลือกไม้หรือจากการกรีดเปลือกไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Commiphora วงศ์ Burseraceae เช่น ชนิด C. habessinica Co. (Berg) Engl., C. myrrha (Nees) Engl. ใช้ทำยา แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง และใช้ในพิธีทางศาสนา.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib ในวงศ์ Leguminosae ใบคล้ายใบประดู่ ฝักแบน หนา แข็ง เนื้อไม้สีนํ้าตาลอมแดง ใช้ในการก่อสร้าง, มะค่าโมง หรือ มะค่าใหญ่ ก็เรียก.
น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra Nutphand ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่ากระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน กินปลา, กริวลาย ม่อมลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก.