(อะแดพ' เทอะ) n. บุคคลหรือสิ่งที่ปรับตัว, เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เชื่อมส่วนที่มีขนาด่หรือแบบแตกต่างกันให้เข้ากันได้, อุปกรณ์. ตัวปรับต่อตัวปรับแผงวงจร (card) ที่มีสายไฟเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้าผิดขนาด ผิดรุ่นกัน จะต้องมี "ตัวปรับต่อ" เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ บางทีอาจเสียบไว้ในช่องเสียบ (expansion slot) เลยก็ได้
โปรแกรมเสริมหมายถึง โปรแกรมที่เขียนเพิ่มขึ้น เพื่อให้โปรแกรมเดิมเพิ่มประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น โปรแกรมสำเร็จทุกโปรแกรมที่ออกสู่ตลาดแล้ว จะต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา และจะมีโปรแกรมเสริมออกมาเสนอให้ลูกค้าอยู่เสมอ ๆ (add-on อาจหมายถึงอุปกรณ์ที่เสริมเข้าไปภายหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง เช่น แผ่นวงจรโมเด็ม เป็นต้น)
(แอล' กะริธธึม) n. ระบบกฏเกณฑ์ในการแก้ปัญหาของจำนวนที่แน่นอนทางคณิตศาสตร์เช่นในการหาค่าของตัวหารร่วมที่สุด., Syn.algorism, -algorithmic adj. ขั้นตอนวิธีอัลกอริทึมหมายถึง การวิเคราะห์แยกแยะวิธีการทำงานให้เป็นขั้นเป็นตอนโดยกำหนดให้เรียงกันไปตามลำดับ การเขียนโปรแกรมในยุคแรก ๆ นั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องมองเห็นขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างแจ่มชัดเสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมได้
รุ่นทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีข้อความบ่งบอกไว้ว่าเป็นรุ่นทดสอบรอบแรก มีความหมายเหมือน alpha testดู beta version ประกอบ
(แอน' นะลอก) n. = analogue อะนาล็อก เชิงอุปมานหมายถึง วิธีการเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดในลักษณะต่อเนื่อง เช่น วัดความเร็วของรถยนต์จากการหมุนของวงล้อ ตรงข้ามกับ ดิจิตอล (digital) ซึ่งหมายถึง การเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลข นาฬิกามีใช้ทั้งสองแบบ ซึ่งจะบอกความแตกต่างระหว่างอะนาล็อกและดิจิตอลได้ชัดเจน กล่าวคือ แบบหนึ่งจะแสดงเวลาเป็นตัวเลข ส่วนอีกแบบหนึ่งใช้เข็มสั้นและเข็มยาวเป็นตัวบอกเวลา เรียกว่าแบบอะนาล็อก คอมพิวเตอร์นั้นมีสองชนิด คือชนิดอะนาล็อกและชนิดดิจิตอล แต่คอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันนั้นจะเก็บเฉพาะข้อมูลที่เป็นดิจิตอล "เสียง" เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นอะนาล็อก เมื่อจะนำเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ จะต้องถูกนำไปเปลี่ยนเป็นดิจิตอลก่อน โดยให้ผ่านอุปกรณ์ชนิดหนึ่งเรียกว่า "โมเด็ม" ดู digital เปรียบเทียบ
(เอพีไอ) ย่อมาจาก application program interface หมายถึงวิธีการอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิม เช่น เอพีไอจะกำหนดขั้นตอนมาตรฐานให้โปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ ทำงาน โดยวิธีให้ผู้ใช้เลือกจากรายการคำสั่ง (menu) หรือตอบคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) แทนที่จะต้องจำคำสั่งอย่างแต่ก่อน การใช้ระบบวินโดว์บนเครื่องพีซีก็ดี OS/2 ก็ดี หรือระบบของแมคอินทอช ก็ดี ล้วนเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการนำเอพีไอมาใช้
(อาร์ค) 1. n. ส่วนโค้ง, ความโค้ง, สะพานเรืองแสงที่อยู่ระหว่างปลายหรือ conductors ทั้งสอง, สิ่งที่มีรูปคล้ายคันศร -S...curve, arch, bend 2. เป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการหลอมรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แฟ้มเข้าเป็นแฟ้มเดียวกัน เพื่อให้ใช้เนื้อที่ในการเก็บน้อยลง โปรแกรมนี้เคยได้รับความนิยมอย่างสูงมาก่อน ต่อมาความนิยมได้ลดลงเพราะมีโปรแกรมใหม่กว่า มีผู้นิยมใช้มากกว่า มีชื่อเรียกว่า ZIP โปรแกรมประเภทนี้จะสามารถอัด (compress) ข้อมูลจำนวนมาก ๆ ให้เก็บได้ในเนื้อที่น้อย ๆ เช่นในจานบันทึก (floppy disk) แต่เมื่อจะใช้ จะต้องนำมาขยายเป็นขนาดปกติก่อน เรียกว่า decompress (ดู compress)
ภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU)
การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้
เลขฐานหมายถึง จำนวนสัญลักษณ์ที่ ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอ
การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ
(บีบีเอส) ย่อมาจาก bulletin board system หรือที่แปลว่า ระบบแผงข่าว เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น บีบีเอสของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย)
รูปโค้งเบซิเอร์หมายถึง รูปเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์รูปหนึ่ง เป็นโค้งที่ไม่มีรูปลักษณ์ที่มีกฏเกณฑ์เป็นสูตรกำหนด การสร้างเส้นโค้งในโปรแกรมบางโปรแกรม จะต้องเริ่มด้วยการลากเส้นตรงขึ้นมาเส้นหนึ่งก่อน แล้วสร้างจุดสองจุดบนเส้นตรงนั้น ใช้เมาส์ดึงแต่ละจุดขึ้นไป ในทิศทางที่ต่างกัน ก็จะได้โค้งแบบเบซีเอร์ ขึ้นมา
การค้นหาแบบทวิภาคหมายถึง วิธีการค้นหาโดยใช้ระบบแบ่งครึ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นสองส่วน การค้นหาตัวที่ต้องการจะต้องเลือกหาจากข้อมูลทีละส่วน โดยใช้วิธีเดิมคือแบ่งเป็นสองส่วนย่อย หากพบในส่วนที่หนึ่ง ก็ไม่ต้องเสียเวลาหาในอีกส่วนหนึ่งอีกต่อไป
(บิท) 1. n. ดอกสว่าน, สิ่งค้ำ, ของเล็ก ๆ น้อย ๆ , ครู่เดียว, การกระทำ, บทบาทเล็กน้อย, เหรียญเล็ก ๆ , หน่วย, กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ
ตัวเสียบบีเอ็นซี <คำแปล>หมายถึง ส่วนปลายของสายเคเบิลที่เป็นโลหะที่จะต้องเสียบเข้าทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์
(บูท) { booted, booting, boots } n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า, รองเท้าบู๊ท, เครื่องหุ้มคล้ายปลอก, ฝาครอบป้องกัน, ปลอกหุ้มเบาะ, โครงรถ, เครื่องรัดทรมานข้อเท้า, การเตะ, การถีบ, การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท, เตะ, ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot"
(บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn.cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง
ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย)
(ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม
(แค?) { cached, caching, caches } n. ที่ซ่อน, ที่เก็บ, สิ่งที่ซ่อนไว้ vt. ซ่อน, เก็บ หน่วยความจำแคชหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ (memory) ที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูลที่จะต้องการใช้เป็นการชั่วคราว การเข้าถึงหน่วยความจำส่วนนี้จะทำได้เร็วกว่าธรรมดามาก ในการโฆษณาขายเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะมีบ่งบอกไว้ด้วยเสมอว่า หน่วยความจำแคชนี้มีขนาดความจุเท่าใด เช่น 256 K cache เป็นต้น เพราะเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องอย่างหนึ่ง บางทีเรียก cache memory
1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM
(ซีเอไอ) ย่อมาจาก computer-aided instruction หรือ computer assissted instruction (การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน
(แคพ'เชอะ) n. การจับได้, การยืดได้, สิ่งที่ถูกยึด, คนที่ถูกจับ, เชลย vt. จับได้, ยืดได้, เข้ายึดได้, ตีได้, ทำให้สนใจ, ทำให้หลงไหล, See Also:capturer n. ดูcapture, Syn.take เก็บภาพจับภาพ ข้อมูล หมายถึง การสั่งเก็บภาพที่แสดงอยู่บนจอภาพทั้งหมด หรือ เฉพาะบางส่วนเอาไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช ใช้วิธีกดแป้น Command + Shift + 3 ภาพที่เกิดจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลชื่อ Picture 1, Picture 2.... เรียงไปตามลำดับ ส่วนพีซี ใช้วิธีกดแป้น Print Screen ภาพที่อยู่บนจอจะถูกนำไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ด clipboard เราอาจสั่งเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลได้โดยกำหนดชื่อให้เป็น ภาพ ๆ ไป แฟ้มเหล่านี้จะเรียกมาดูได้ในหลายโปรแกรม เป็นต้นว่า PageMaker, Microsoft Word อย่างไรก็ตาม หากจะเลือกเก็บเฉพาะบางส่วนของภาพที่ปรากฏบนจอ จะต้องใช้โปรแกรมพิเศษ
เครื่องอ่านอักขระหมายถึง เครื่องอ่านอักขระจากตัวพิมพ์ซึ่งจะต้องมีลักษณะพิเศษที่เป็นมาตรฐาน การอ่านใช้วิธีให้แสงผ่านช่องว่างของตัวอักขระนั้น ๆ แล้วแปลเป็นรหัสบันทึกลงไว้ในแถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk)
หมายถึง ตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้ว สื่อความหมายบางอย่าง และสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อ (media) ชนิดต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้น จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกออกว่าไม่ใช่คำสั่งในภาษามีความหมายเหมือน alphabetic string หรือ string
ผลรวมตรวจสอบหมายถึง ผลการคำนวณเพื่อยืนยันในความแม่นตรงของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางโมเด็ม ส่วนมากจะเป็น XModem โดยปกติ ในการส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะต้องจัดการแยกข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน ฉะนั้นเมื่อส่งเรียบร้อยแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบผลรวม ถ้าตรงกัน ก็แปลว่า ข้อมูลที่ส่งออกไปถูกต้องครบถ้วน
1. Pref. อยู่ทางด้านใกล้ 2. (สิส) ย่อมาจาก CompuServe Information Services หมายถึง งานบริการข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) การใช้บริการดังกล่าว กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะสะดวก รวดเร็วกว่าการหาข้อมูลด้วยตนเอง (ว่ากันว่า การที่ใช้เครื่องหมาย $ แทนตัว s ธรรมดา อาจจะเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่า รายการนี้ขอฟรี ๆ กันไม่ได้ จะต้องมีการจ่ายค่าบริการ) ดู CompuServe ประกอบ
โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ
1. Pref. รวมกัน, ด้วยกัน, อย่างสมบูรณ์, Syn.co-, 2. คอม 1. ย่อมาจาก COMmunication port หมายถึงช่องที่ใช้สำหรับต่อออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อจะหมุนเลขหมายโทรศัพท์บนคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็ม คอมพิวเตอร์ก็จะต้องรับรู้กันให้ได้ว่า ช่องที่ติดต่อกับโมเด็มนั้นคือช่องไหน กำหนดได้หลายช่องเรียกว่า COM1, COM2 2. ใช้เป็นนามสกุล file type ของแฟ้มข้อมูลในดอสและโอเอสทูว่า .COM เพื่อแสดงว่าเป็นแฟ้มข้อมูลกระทำการ executive program หรือโปรแกรมประเภทเดียวกับ .EXE เช่น FORMAT.COM COMMAND.COM 3. ย่อมาจาก computer output on microfilm ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโคร ฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโคร ฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที
(คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn.compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ
คอมพิวเซิร์ฟเป็นบริการที่นำคอมพิวเตอร์ของเราไปต่อสายเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ เพื่อจะได้ขอใช้ข้อมูลบางอย่างได้ โดยปกติ การทำเช่นนี้จะต้องจ่ายค่าบริการค่อนข้างแพง นอกจากนั้น บริการ CompuServe ยังมีโปรแกรมเก่า ๆ ที่ยอมให้มีการคัดลอกมาใช้ได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีก มีเกมให้เรียกมาเล่นได้ พร้อมทั้งให้บริการอย่างอื่นอีกมาก เช่น จะจองตั๋วเครื่องบินเองก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ใช้จะขอดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งกีฬา ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ ฯ
การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์
การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อมผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน
ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า COM (อ่านว่า ซีโอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโครฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ 48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที
นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย (สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้
ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส
ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer assissted instruction
ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer aided instruction
แฟ้มโครงแบบย่อมาจาก configuration system เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบดอสและโอเอสทูซึ่งจะมีข้อความที่กำหนดในเรื่องการใช้แป้นพิมพ์ จำนวนของบัฟเฟอร์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนั้นจะใช้ ฯ พอเริ่มใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไปสักพัก ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างแฟ้มข้อมูลนี้ คอมพิวเตอร์จะแฟ้มข้อมูลนี้เฉพาะเมื่อมีการเริ่มเครื่องใหม่เท่านั้น
การป้องกันการคัดลอกหมายถึง วิธีการป้องกันไม่ให้ผู้ใดสามารถคัดลอกได้ ผู้เขียนโปรแกรมมักพยายามทำทุกวิถีทางที่จะกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด มาคัดลอกโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่เขาสร้างขึ้นไว้ เช่นใช้อุปกรณ์ปิดกั้น หรือซ่อนแฟ้มข้อมูลบางแฟ้มไม่ให้มองเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎหมายในเรื่องของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ออกมาแล้ว ผู้ที่จะคัดลอกก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องการคัดลอกนี้มากขึ้น
เครื่องหมายสำหรับเจียน <คำแปล>โปรแกรมบางโปรแกรม โดยเฉพาะโปรแกรมจัดพิมพ์เอกสาร (desktop publishing) จะทำเครื่องหมายไว้ให้สำหรับตัดหรือเจียนกระดาษให้ได้ขนาดที่ต้องการ การสั่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้น มักต้องใช้กระดาษตามขนาดที่เครื่องพิมพ์กำหนดไว้ เช่น A4 B5 ฯ ในขณะที่เราต้องการให้หน้ากระดาษของเรามีขนาดพิเศษ โปรแกรมก็จะช่วยให้เราสามารถพิมพ์งานของเราออกมาบนกระดาษขนาดมาตรฐานนั้น แต่มีเครื่องหมายบอกตำแหน่งที่จะต้องเจียนออกไว้ให้ด้วย เครื่องหมายนี้ออกจะเป็นสากลสำหรับบุคคลในวงการพิมพ์
บัตรข้อมูลหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เจาะเป็นรหัสแสดงถึงตัวอักขระต่าง ๆ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ เพื่อให้คอมพิวเตอร์อ่านเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ บัตรข้อมูลนั้น เราสามารถใช้ได้ทั้ง 80 คอลัมน์ของบัตร (แต่บัตรที่เป็นบัตรชุดคำสั่ง ที่เรียกว่า program card นั้น ใช้ได้เฉพาะคอลัมน์ 7 ถึง 70) เมื่อส่งเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ บัตรข้อมูลจะต้องส่งตามหลังบัตรชุดคำสั่งเสมอดู card code ประกอบ
ส่วนข้อมูลแฟ้มข้อมูลที่ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุก ๆ แฟ้มจะประกอบด้วยสองส่วน ส่วนที่หนึ่งนั้น เรียกว่า ส่วนข้อมูล (data fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อมูลจริง ๆ ที่โปรแกรมนั้น ๆ จะต้องใช้ ส่วนที่สองเรียกว่า ส่วนทรัพยากร (resource fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อคำสั่งต่าง ๆ ที่เรียกว่าโปรแกรม ซึ่งจะเป็นตัวทำงานให้ หรือไม่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีไว้ เพื่อให้ใช้โปรแกรมนั้น ๆ ได้ครบถ้วน เช่น การกำหนดแบบอักษร (font) สัญรูป (icon) รายการเลือก (menu) เป็นต้น
นำ (แฟ้มข้อมูล) มาต่อกันในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึกข้อมูลลงไปแล้วมาสั่งลบภายหลัง จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการแบ่งข้อมูลใหม่นี้ให้ได้สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน ทำให้แฟ้มข้อมูลเดียวถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการกระจาย (fragmentation) โปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จึงมีคำสั่ง "defrag" ซึ่งจะช่วยจัดการนำแฟ้มข้อมูลเดียวกันมาเรียงให้ติดต่อกัน เพื่อให้การค้นคืนแฟ้มทำได้รวดเร็วขึ้น ในระบบวินโดว์ ก็จะต้องสั่งให้มีการนำแฟ้มมาต่อกันนี้เป็นครั้งคราวเสมอ
โปรแกรมขับอุปกรณ์หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถสั่งให้ทำงานด้วยคำสั่งที่ผ่านทางคอมพิวเตอร์ ได้ เช่น หากจะใช้เครื่องพิมพ์ยี่ห้ออะไรก็จะต้องติดตั้ง "driver" สำหรับเครื่องพิมพ์ยี่ห้อนั้นด้วย
การเจาะตัวเลขหมายถึง การเจาะตัวเลขลงในบัตรคอมพิวเตอร์ โดยเจาะรูในช่องของแถวใดแถวหนึ่ง ตั้งแต่แถวที่ 0-9 โดยเจาะ 1 รูต่อ 1 คอลัมน์ เช่นถ้าจะเจาะเลข 7 ก็เจาะที่แถวที่มีเลข 7 ส่วนการเจาะตัวอักษรหรืออักขระพิเศษต่าง ๆ จะต้องเจาะ 2-3 รูในหนึ่งคอลัมน์ รูหนึ่งที่แถวบนเหนือแถวตัวเลข (zone punch) และอีกรูหนึ่งหรือสองรูที่แถวที่มีตัวเลข (digit punch) เรียกว่า รหัสฮอลเลอริทมีความหมายเหมือน numeric punchดู zone punch เปรียบเทียบ
ลากแล้วปล่อยลากไปวางหมายถึง การใช้เมาส์ลากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ภาพหรือข้อความทั้งบล็อก) บนจอภาพ ไปวางไว้ยังตำแหน่งใหม่ โดยต้องกำหนด (select) ให้คอมพิวเตอร์รู้ก่อน แล้วจึงใช้เมาส์ลากไป การลากด้วยเมาส์นั้น จะต้องกดนิ้วชี้บนปุ่มซ้ายของเมาส์แช่ไว้ ในขณะที่ลากเมาส์เพื่อนำไปวางในที่ ๆ ต้องการ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะยกนิ้วออกจากเมาส์ได้ ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) อาจลากไปได้ทั้งแถวหรือทั้งคอลัมน์
(ดีแรม) ย่อมาจาก dynamic random access memory (แปลว่าแรมแบบพลวัต) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็น ระยะ ๆ มิฉะนั้น อาจจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ
(ดรัม) { drummed, drumming, drums } n. กลอง, เสียงกลอง, เยื่อแก้วหู vt., vi. ตีกลอง, เคาะจังหวะ. ดรัม <คำอ่าน>หมายถึงสื่อเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นวัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอกฉาบด้วยสารแม่เหล็ก การบันทึกข้อความลงเก็บ จะต้องบันทึกลงบนผิวดรัม ผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) จึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สูงกว่าเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) แต่ยังช้ากว่าจานแม่เหล็ก (magnetic disk) โดยปกติจะต้องเรียกเต็ม ๆ ว่า magnetic drum