เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ[เศรษฐศาสตร์]
ความมั่นคงในการทำงาน[เศรษฐศาสตร์]
ความมั่นคงปลอดภัย, Example:การป้องกันไม่ให้ผู้อื่นอ่าน หรือก๊อปปี้แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมไป วิธีการป้องกันมีได้หลายอย่าง เช่น ป้องกันไม่ให้คนอื่นเข้าไปถึงตัวเครื่องด้วยการล็อกประตูห้อง ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คอมพิวเตอร์ได้ด้วยการกำหนดว่าผู้ใช้จะต้องระบุรหัสผ่าน ป้งอกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงแฟ้มข้อมูลที่มีความลับด้วยการใช้รหัสผ่าน หรือนำข้อมูลนั้นมาเข้ารหัสลับก่อน[คอมพิวเตอร์]
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ, ไอเออีเอ, หน่วยงานสากลด้านความร่วมมือทางนิวเคลียร์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 ภายใต้องค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพของโลก ป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษยชาติ[นิวเคลียร์]
ความมั่นคงชายแดน[TU Subject Heading]
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ[TU Subject Heading]
ความมั่นคงในการทำงาน[TU Subject Heading]
ความมั่นคงแห่งชาติ[TU Subject Heading]
ความมั่นคงระหว่างประเทศ[TU Subject Heading]
สหประชาชาติ. คณะมนตรีความมั่นคง[TU Subject Heading]
การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก[การทูต]
ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market)[การทูต]
การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่[การทูต]
แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียน เป็นเอกสารที่รวบรวมรายการกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะทำร่วมกันเพื่อสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียนภายในปี 2558 แผนงานฯ ได้รับการรับรองโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยแผนงาน มีวิสัยทัศน์ 3 ประการ ให้อาเซียนเป็น(1) ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน (2)เป็นประชาคมที่สงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับ ประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน และ (3)เป็นประชาคมที่มีพลวัตรและร่วมมือปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอก[การทูต]
การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) "[การทูต]
แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน[การทูต]
ประชาคมอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนตุลาคม 2547 เกาะบาหลี ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในสามด้านหลักภายในปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน[การทูต]
เวทีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายทหารในกรอบ การประชุม อาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก[การทูต]
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก เพื่อติดตามและเสนอนโยบายด้านการเมือง ความมั่นคง และเรื่องอื่น ๆ ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน[การทูต]
คณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน เป็นกลไกประสานด้านการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงของภูมิภาค จัดตั้งขึ้นตามหลักการของปฏิญญาความสมานฉันท์แห่งอาเซียน 2514[การทูต]
มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นมาตรการเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง และการทหาร เพื่อลดความหวาดระแวง ลดความขัดแย้ง และสร้างความมั่นใจระหว่างสองฝ่ายหรือหลาย ๆ ฝ่าย อันจะเป็นการส่งเสริมการทูตเชิงป้องกัน ทั้งนี้ CBMs เป็นกระบวนการที่สำคัญในกรอบการประชุม ARF[การทูต]
นโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (ของสหภาพยุโรป) " ผู้ที่ได้รับการมอบหมายให้ดูแลในเรื่องนี้ คือ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (High Representative) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Mr. CFSP "[การทูต]
การประชุมว่าด้วยการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (ด้านความมั่นคง) ในเอเชีย " CICA ได้รับการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยความริเริ่มของคาซัคสถาน และมีสมาชิกเข้าร่วม 16 ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน อินเดีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ รัสเซีย ตุรกี จีน อิสราเอล อิหร่าน อัฟกานิสถาน อียิปต์ อาเซอร์ไบจาน มองโกเลีย คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน และประเทศผู้สังเกตการณ์อีก 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ยูเครน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และเลบานอน "[การทูต]
ความมั่นคงโดยการร่วมมือกัน[การทูต]
ชมรมด้านความมั่นคงและความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก เป็นสถาบันเอกชนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2536 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Security and International Studies : ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันก่อตั้งร่วมกับสถาบันอื่น ๆ จากประเทศอาเซียนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก CSCAP เป็นกลไกที่ไม่ใช่เป็นทางการ เพื่อให้นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในฐานะส่วนตัวและบุคคลอื่นได้อภิปรายปัญหาทางการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก[การทูต]
ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ[การทูต]
ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการอาเซียนว่า ด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก[การทูต]
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2488 มีหน้าที่บรรเทาความอดอยากและหิวโหยของ ประชากรโลกด้วยการส่งเสริม และพัฒนาเกษตรกรรม การปรับปรุงโภชนาการ และแสวงหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ปัจจุบันมีสมาชิก 171 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี "[การทูต]
ความมั่นคงทางด้านอาหาร หมายถึง การที่ประชากรโลกมีอาหารเพียงพอกับความต้องการ (availibility) มีเสถียรภาพ (stability) และสามารถเข้าถึงได้ (accessibility) แนวความคิดเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรับรองปฏิญญากรุงโรม ของที่ประชุมสุดยอด อาหารโลก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2539 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะขจัดความหิวโหย และลดปัญหาทุโภชนาการของประชากรโลก โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดจำนวนประชากรที่ขาดอาหารให้เหลือครึ่งหนึ่งจากที่มี อยู่ในปัจจุบัน ภายในปี พ.ศ. 2558[การทูต]
เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทน ทางการทูต โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่ม ประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการ ทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน?[การทูต]
เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของบุคคลในสถานที่ทำการทาง กงสุล เรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ในข้อ 34 ว่า?ภายในบังคับแห่งกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตซึ่งเป็นที่หวงห้าม หรือที่ได้กำหนดระเบียบไว้ เพราะเหตุผลในทางความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน แก่บุคคลทั้งปวงในสถานที่ทำการทางกงสุล?[การทูต]
คณะกรรมการชายแดนทั่วไป เป็นกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคง ชายแดน ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นประธานร่วม กัน ทำหน้าที่กกำหนดแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือ รักษาความสงบเรียบร้อยและเสถียรภาพในพื้นที่บริเวณชายแดน ซึ่งกลไกนี้ไทยมีกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันทั้ง 4 ประเทศ[การทูต]
รายการยกเว้นทั่วไป สำหรับสินค้าบางรายการที่ไม่ต้องนำมาอยู่ในรายการลดอัตราภาษีศุลกากรของเขต การค้าเสรีอาเซียนตลอดไป ได้แก่ สินค้าที่มีผลต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์และพืช ศิลปะและโบราณวัตถุ[การทูต]
ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่[การทูต]
เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์[การทูต]
ความมั่นคงของมนุษย์ " หมายถึง การสร้างสภาพที่มั่นคงให้แก่มนุษย์โดยครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านการเมือง (เช่น การปลอดจากภัยสงคราม) ด้านเศรษฐกิจ (เช่น การกินดีอยู่ดี การมีสุขอนามัย) และด้านสังคม (เช่น การมีสิทธิพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด) "[การทูต]
เรื่องสืบราชการลับ กล่าวอย่างกว้าง ๆ คือ เรื่องลับไม่ว่าชนิดใด โดยเฉพาะที่จะมีประโยชน์แก่ผู้กำหนดนโยบาย หรือฝ่ายทหารที่มีหน้าที่ว่างนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ ถือว่าเป็น Intelligence ทั้งสิ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกามีองค์กรสืบราชการลับอยู่หลายแห่ง เช่น CIA (สำนักงานสืบราชการลับกลาง) The NSA (National Security Agency หรือองค์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ) G-2 (ฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพบก) FBI (Federal Bureau of Investigation หรือหน่วยสืบสวนของรัฐบาลกลาง) Bureau of Intelligence and Research of the State Department หรือหน่วยสืบราชการลับและวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รวมทั้งฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ ส่วนในโซเวียตรัสเซีย (ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่ารัสเซีย) แต่เดิมมีองค์การสืบราชการลับอยู่จำนวนหนึ่ง ที่สำคัญๆ ได้แก่ ฝ่ายสืบราชการลับทางทหารของกระทรวงกลาโหม หรือที่เรียกว่า YRU (Ylavnoe Razdevyvatelnoe Uptavlenie) และ KGB (Kommissariat Gosudatstvennoie Bezopastnotsi หรือ Commisariat of State Security) ในประเทศอังกฤษ มีฝ่ายสืบราชการลับเรียกว่า M15 (British Counter Intelligence) M16 เป็นหน่วยสาขาซึ่งทำงานด้านจารกรรมในต่างประเทศ และ M18 เป็นฝ่ายสืบราชการฝ่ายทหาร (Cryptographic Bureau of Military Intelligence)[การทูต]
กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 มีภารกิจหลัก 3 ประการ คือ ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออก ป้องกันและสนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กองกำลังนานาชาติปฏิบัติหน้าที่ในติมอร์ตะวันออกจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543[การทูต]
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น[การทูต]
คณะกรรมาธิการร่วม " เป็นกลไกความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก JC มีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม และสังคม โดยแต่ละฝ่ายจะสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งอาจมีขึ้นปีละครั้งหรือ 2-3 ปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของทั้งสองฝ่าย JC อาจมีกลไกย่อยหรือคณะกรรมการภายใต้ JC เพื่อกำกับดูแลเฉพาะเรื่องหรือมีคณะกรรมการในระดับส่วน ภูมิภาค เช่น ไทยกับมาเลเซียมีคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) มีบทบาทในการดูแลความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงบริเวณชายแดน และมีคณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Land Boundary Committee - LBC) เพื่อดูแลการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee - JTC) ระหว่างไทยกับบางประเทศ เป็นกลไกเพื่อส่งเสริมการค้าและขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน "[การทูต]
องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[การทูต]
ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง[การทูต]
ประเด็นความมั่นคงในรูปแบบใหม่[การทูต]
คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา[การทูต]
โครงการน้ำมันเพื่ออาหาร " เป็นโครงการภายใต้ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 986 (พ.ศ. 2538) ซึ่งอนุญาตให้อิรักนำรายได้จากการขายน้ำมันดิบไปซื้อสินค้าทางด้านมนุษยธรรม เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนอิรัก "[การทูต]
องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความมั่นคงในลักษณะรอบด้าน กล่าวคือ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม โดยดำเนินนโยบายป้องกันทางการทูต (preventive diplomacy) มีประเทศสมาชิกจำนวน 55 ประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 ไทยได้สมัครเข้าเป็นหุ้นส่วนทางความร่วมมือของ OSCE ในปี พ.ศ. 2543[การทูต]
หมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น?[การทูต]
ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน[การทูต]
การบังคับให้เกิดสันติภาพ " เป็นมาตรการใช้กำลังบังคับผู้ที่กำลังดำเนินการที่เป็นการละเมิด สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศให้ยุติการกระทำดังกล่าว "[การทูต]