ก. ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์, ประพฤติไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา.
ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคำลงท้ายจดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.
ปรนนิบัติรับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์.
ก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มีอุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.
(สิดสะยะ-, สิด) น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้วนับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน.
(-กุติ) น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก, โดยปริยายหมายถึงศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย.
น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้างครูบาอาจารย์.
น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา.
น. ศิษย์ที่ครูบาอาจารย์รักใคร่เอ็นดูมาก.
ก. รู้สึกซาบซึ้ง เช่น สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สำนึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์.
ว. สมํ่าเสมอ, คงเส้นคงวา, ไม่เปลี่ยนแปลง, มักใช้ในทางดี เช่น แม้เขาจะมีอำนาจวาสนา เขาก็ยังไปเยี่ยมเยียนครูบาอาจารย์เสมอต้นเสมอปลาย.
น. ผู้ที่ปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์หรือแบบแผนที่นิยมกันมา.
ก. ทำพิธีแสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความสำนึกในพระคุณของท่าน.