32 ผลลัพธ์ สำหรับ 

*ขาหลัง*

 ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น: ขาหลัง, -ขาหลัง-
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
น. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย.
น. ชื่อช้างชนิด Loxodonta africana (Blumenbach) รูปร่างสูงเพรียวกว่าช้างเอเชีย หัวเล็กลาดลงไปข้างหน้าถึงโคนงวง ปลายงวงทั้งด้านบนและด้านล่างมีจะงอยด้านละ ๑ จะงอย ใบหูใหญ่รูปคล้ายพัด มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หนังหยาบแข็ง มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง และมุมปาก ท้องป่อง หลังแอ่น นูนสูงขึ้นบริเวณท้ายลำตัว หางสั้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๓ เล็บ แต่บางตัวมี ๔ เล็บ.
น. ชื่อปูทะเลชนิด Scylla serrata (Forskål) ในวงศ์ Portunidae กระดองมีสีดำ ขาหลังคู่สุดท้ายแบนคล้ายใบพายใช้ว่ายน้ำ, ปูทะเล ก็เรียก.
น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.
(ตั๊กกะ-) น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ในอันดับ Orthoptera ลำตัวยาว มีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีปีกหรือไม่มีก็ได้ พวกที่มีปีกจะมี ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างหนา ยาวและแคบ คู่หลังบางและกว้างพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน ส่วนอกมีลักษณะต่างกันมาก อาจกว้างใหญ่ แคบ ยาว หรือสั้น ขาอาจเหมือนกันหมด หรือมีขาหน้าหรือขาหลังใหญ่กว่าคู่อื่น ๆ เช่น ตั๊กแตนผี [ Aularches miliaris (Linn.) ] ในวงศ์ Acrididae ตั๊กแตนตำข้าว เช่น ชนิด Hierodula membranaceusBurmeister ในวงศ์ Mantidae ตั๊กแตนใบไม้ เช่น ชนิด Phyllium pulcherifolium Serville ในวงศ์ Phasmidae และตั๊กแตนกิ่งไม้ เช่น ชนิด Eurycnema versirubra (Serville) ในวงศ์ Phasmidae.
น. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria impressa (Günther) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมข้างละ ๑ เดือย ลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาจากผิวหนัง กระดองสีเหลืองส้มปนน้ำตาล มีแผ่นเกล็ดบางส่วนโปร่งใส ตัวเต็มวัยมีความยาวกระดองหลัง ๒๕-๓๐ เซนติเมตร จัดเป็นเต่าบกที่สวยงามชนิดหนึ่ง กินเห็ดป่านานาชนิด อาศัยอยู่ตามเขาสูงที่เป็นป่าดิบเขา พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันตก และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ควะ ก็เรียก.
น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้.
น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลำตัวสีนํ้าตาลอมเทา มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมีแผ่นพังผืดคล้ายตีนเป็ด หางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่าขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด ที่มีจำนวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata Geoffroy) และนากเล็กเล็บสั้น [ Aonyx cinerea (Illiger) ].
น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ปล้องท้องที่อยู่ติดกับส่วนอกเล็กมาก มีขนปกคลุมตามลำตัว เป็นแมลงสังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะเป็นผึ้งนางพญา ผึ้งผู้ และผึ้งงาน ผึ้งงานมีถุงสำหรับเก็บเกสรดอกไม้ที่ขาหลัง และมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยน้ำพิษ ทำให้เจ็บปวด ชนิดที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย มี ๕ ชนิด เป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย ๔ ชนิด คือ ผึ้งหลวง ( Apis dorsataFabricius) ผึ้งโพรง ( A. cerana Fabricius) ผึ้งมิ้ม ( A. florea Fabricius) และผึ้งม้าน ( A. andrenitormis Smith) ส่วนผึ้งที่เลี้ยงกันทั่วไปนำมาจากต่างประเทศ คือผึ้งพันธุ์ (A. mellifera Linn. ), เผิ้ง ก็เรียก.
ชื่อแมลงหลายชนิด รูปร่างคล้ายผึ้ง ต่างกันที่ขนปกคลุมลำตัวมีลักษณะเป็นแฉก ไม่เป็นขนเดี่ยว ๆ อวัยวะของปากคู่หนึ่งยื่นยาวออกมาคล้ายหนวด ขาหลัง (ขาคู่ที่ ๓) บริเวณส้นมีหนามแหลมข้างละ ๑ อัน ไม่มีถุงเก็บเกสรเหมือนผึ้ง มีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยน้ำพิษได้หลายครั้งทำให้เจ็บปวด มักอาศัยอยู่เดี่ยว ๆ เป็นคู่ หรือรวม ๒-๓ คู่ แต่ไม่เป็นกลุ่มใหญ่เหมือนผึ้ง ที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Xylocopa วงศ์ Xylocopidae เช่น ชนิด X. latipes Drury และ ชนิด X. caeruleus Fabricius.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang (Boddaert) ในวงศ์ Lorisidae ขนนุ่มหนาสีเทามีลายสีน้ำตาล ตากลมโต ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง เล็บแบน แต่นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวโค้งแหลมเห็นได้ชัด นิ้วชี้ของขาหน้าสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ ดูคล้ายติ่ง หางสั้นมาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าและนอนในเวลากลางวัน แต่ว่องไวเมื่อออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก.
น. ชื่อลิงชนิด Macaca mulatta (Zimmermann) อันดับ Primates ในวงศ์ Cercopithecidae ขนสีน้ำตาลอ่อน ขนหัวเรียบ หางยาวปานกลางห้อยลง ผิวหนังที่ก้นและขาหลังด้านในสีแดง เมื่อแก่ตัวหน้าสีแดง.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Tapirus indicus Desmarest ในวงศ์ Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้าออกได้ ขนลำตัวตั้งแต่หัว คอ ไหล่ และขาหน้าสีดำ ขาหลังไปจดก้นสีดำ ส่วนที่เหลือกลางลำตัวตั้งแต่สันหลังลงมาถึงท้องมีสีขาว ขอบหูสีขาว หางสั้น ลูกเกิดใหม่ตัวมีลายสีขาวขาดเป็นท่อน ๆ ทอดไปตามความยาวลำตัว กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก.
น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, ตะโพก ก็ว่า.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ หมีควาย [ Selenarctos thibetanus (G. Cuvier) ] ตัวใหญ่ ขนยาวดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปง่าม และหมีหมาหรือหมีคน [ Helarctos malayanus (Raffles) ] ตัวเล็กกว่าหมีควาย ขนสั้นดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า.
น. ขาหลังของหมูแช่น้ำเกลือแล้วรมควัน, แฮม ก็ว่า.
น. ชื่อหนูขนาดเล็กถึงขนาดปานกลางหลายชนิด ในวงศ์ Muridae เช่น หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus Linn.) มีขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวค่อนข้างแบน หน้าสั้น ฟันเล็ก ขาสีดำ ปลายนิ้วสีขาว ฝ่าตีนสีเข้ม หางยาวสีดำ เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกระโดดเก่ง ในประเทศไทยมีผู้พบบางตัวมีแถบสีเหลืองพาดตามขวางบริเวณกลางลำตัวใกล้โคนขาหลัง แยกเป็นชนิดย่อย M. m. castaneusWaterhouse, หนูหริ่งไม้หางพู่ [ Chiropodomys gliroides (Blyth) ] มีขนลำตัวค่อนข้างยาว ด้านหลังสีน้ำตาลคล้ำ ท้องสีขาว หางยาว มีแผงขนสีขาวและดำตั้งแต่กลางหางไปถึงปลาย ปลายหางเป็นพู่สีขาว อาศัยอยู่ตามป่า.
น. ขาหลังของหมูแช่น้ำเกลือแล้วรมควัน, หมูแฮม ก็ว่า.
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
[khā lang] (n) EN: hindlegs  FR: patte arrière [ f ]
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
(n)เทพเจ้าโรมันที่มีลำตัวเป็นคน หูแหลม มีเขา หางและขาหลังเป็นแพะSyn.woodland deity, satyr
(n)กระต่ายขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ มีหูและขาหลังยาวมากSyn.large hare
(adj)ซึ่งยืนบนขาหลังSyn.upright
(phrv)นั่งบนขาหลัง (สัตว์สี่เท้าเช่น สุนัข)
Hope Dictionary
(เคอร์'วิท) { curvetted, curvetting, curvets } n. การกระโดดของม้าโดยยกขาหน้าผงาดขึ้น แล้วกระโดดขึ้นโดยเอาขาหน้าลงและเหยียดขาหลัง -v. กระโดดเป็นเส้นโค้งดังกล่าว, กระโดด
(ฟอน) n. เทวดารูปคนแต่มีหู-เขา-หางและขาหลังคล้ายแพะ
(แฮม) n. ต้นขาหลังของหมูหรือสัตว์อื่น, ตะโพก, See Also:hams n. โคนขาและตะโพกรวมกัน
(เจอโบ) n. สัตว์คล้ายหนูชนิดหนึ่งมีขาหลังยาวที่ทำให้กระโดดได้
(แรมพฺ) n. ทางลาด, ด้านลาด, บันไดขึ้นลงเครื่องบิน, การยืนบนขาหลัง. vi. ยันบนขาหลัง, ทำให้มีด้านลาด, กระโดดหรือพุ่งด้วยความโกรธSee Also:rampingly adv.Syn.slope, incline
(แรม'เพินทฺ) adj. รุนแรง, ตึงตัง, อาละวาด, วิ่งพล่าน, แผลงฤทธิ์, ยืนบนขาหลัง.Syn.raging, furious
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ