การกลั่น[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
แนฟทา ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ, Example:เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันส่วนเบา อยู่ระหว่าง Gasoline และ kerosene ใช้เป็นน้ำมันเบนซินที่ใช้กับเครื่องรถยนต์ หรือใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมโตรเคมี[ปิโตรเลี่ยม]
ปริมาณน้ำมันที่กลั่นออกมาได้ในรอบปี หารด้วยจำนวนวันที่ปฏิบัติงานจริง, ปริมาณน้ำมันที่กลั่นออกมาได้ในรอบปี หารด้วยจำนวนวันที่ปฏิบัติงานจริง (ไม่นับวันที่หยุดและซ่อมแซมอุปกรณ์) (ความหมายในแง่การกลั่น)[ปิโตรเลี่ยม]
ผลิตภัณฑ์จากส่วนล่างสุดของหอกลั่น, ผลิตภัณฑ์จากส่วนล่างสุดของหอกลั่น หรือน้ำมันตัวที่หนักจากขบวนการกลั่น, Example:เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา[ปิโตรเลี่ยม]
การกลั่น, Example:กระบวนการแยกผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากน้ำมันดิบและจะให้ผลิตภัณฑ์ตามส่วนประกอบของน้ำมันดิบแต่ละชนิด การกลั่นเป็นการแยกผลิตภัณฑ์น้ำมันตามขนาดของโมเลกุล โดยใช้ความแตกต่างในจุดเดือดของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแต่ละตัว[ปิโตรเลี่ยม]
ขบวนการกลั่นน้ำมัน, Example:เพื่อที่จะปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันให้มีค่าออกเทนสูงขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของสารไฮโดรคาร์บอน แต่ไม่ใช่การทำให้โมเลกุลแตกตัวเหมือนอย่าง Cracking (ดูคำ cracking)[ปิโตรเลี่ยม]
การกลั่น[TU Subject Heading]
การกลั่นทำลาย[TU Subject Heading]
การกลั่นแยกลำดับส่วน[TU Subject Heading]
การกลั่นทำลาย[TU Subject Heading]
การกลั่นแยกลำดับส่วน[TU Subject Heading]
น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา[พลังงาน]
ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติและจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ดิบในโรงกลั่นน้ำมัน มีจุดเดือดอยู่ระหว่าง –420C – 0.50C เป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 3-4 อะตอม มีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน ยานพาหนะ และในโรงงานอุตสาหกรรม[ปิโตรเลี่ยม]
การกลั่นน้ำมัน, การกลั่นน้ำมันเป็นการนำน้ำมันดิบ (Crude) มากลั่นแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ตามช่วงจุดเดือด, Example:การกลั่นน้ำมันเป็นการนำน้ำมันดิบ (Crude) มากลั่นแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ตามช่วงจุดเดือดเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ และเหมาะสมต่อการใช้งาน กระบวนการกลั่นของแต่ละโรงกลั่นน้ำมัน อาจแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของน้ำมันดิบ ชนิด ปริมาณ และคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ต้องการ[ปิโตรเลี่ยม]
ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดหนึ่งที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ โดยมีช่วงจุดเดือดอยู่ระหว่าง 1500-360oC น้ำมันดีเซลจะต้องจุดระเบิดได้เองโดยเร็วและเผาไหม้ได้หมดภายใต้สภาวะภายใน ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ดีเซลหมุนเร็วหรือโซล่า เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ความเร็วรอบสูงกว่า 1, 000 รอบ/นาที และดีเซลหมุนช้า หรือ ขี้โล้ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนเรือเดินทะเลและการผลิตไฟฟ้า[ปิโตรเลี่ยม]
ของเหลวได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นรีฟอร์เมทและเบนซิน และตัวทำละลาย ในอุตสาหกรรมผลิตสี รวมทั้งใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานโอเลฟินส์และโรงงานอะโรเมติกส์[ปิโตรเลี่ยม]
ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดหนึ่งทีได้จากการกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบโดยมีช่วงจุดเดือดอยู่ระหว่าง 30-2000C, Example:ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดหนึ่งทีได้จากการกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบโดยมีช่วงจุดเดือดอยู่ระหว่าง 30-2000C เป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่ 4 -11 อะตอมผสมรวมกันมีคุณสมบัติเหมาะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เบนซิน มี 3 ชนิดด้วยกันคือ<br>ฬออกเทน 87 สีเขียว<br>ออกเทน 91 สีแดง<br>ออกเทน 95 สีเหลือง<br>ปัจจุบันน้ำมันเบนซินทุกชนิดในไทยเป็นน้ำมันไร้สารตะกั่วทั้งหมด สาเหตุที่มีการเรียกชื่อตามค่าออกเทนและมีสีต่างกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเลื่อกใช้น้ำมันให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานของเครื่อง ยนต์[ปิโตรเลี่ยม]
สิ่งกลั่น, สิ่งกลั่น คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ โดยกลั่นตัวเป็นของเหลวในอุณหภูมิและบรรยากาศธรรมดา สิ่งกลั่นอย่างเบา ได้แก่ น้ำมันเบนซินและสิ่งกลั่นอย่างกลางได้แก่ น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซลและน้ำมันหล่อลื่น[ปิโตรเลี่ยม]
วิธีการกลั่นตัว[การแพทย์]
วิธีกลั่น, การกลั่น[การแพทย์]
การกลั่นทำลายไม้[การแพทย์]
การกลั่น, สารได้จาก[การแพทย์]
การกลั่นลำดับส่วน, การกลั่นตามลำดับส่วน, ขบวนการกลั่นลำดับส่วน, การกลั่นแบบแยกส่วน[การแพทย์]
การกลั่นแบบรีฟลักซ์[การแพทย์]
การกลั่นของไอน้ำ, การกลั่นแบบไอน้ำ, การกลั่นด้วยไอน้ำ[การแพทย์]
การกลั่นด้วยวิธีโทลูอินดิสทิลเลชัน[การแพทย์]
การกลั่นแบบสูญญากาศ[การแพทย์]
คอนเดนเซชั่นเทรล หรือคอนเทรล หรือพวยการกลั่นตัว[อุตุนิยมวิทยา]
การกลั่น, กระบวนการแยกสารละลายหรือของผสมที่เป็นของเหลว โดยทำให้ของเหลวนั้นกลายเป็นไอ แล้วทำให้ไอกลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ของเหลวบริสุทธิ์ขึ้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การกลั่นลำดับส่วน, กระบวนการแยกของผสมที่เป็นของเหลวหลายชนิดออกจากกัน โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือดของสาร เมื่อทำให้ของผสมมีอุณหภูมิสูงขึ้น ของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำจะระเหยออกมาก่อน ส่วนของเหลวที่มีจุดเดือดสูงกว่าก็จะระเหยออกมาตามลำดับ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การทำสารให้บริสุทธิ์, การกำจัดมลทินออกจากสารโดยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อทำให้สารบริสุทธิ์ เช่น การตกผลึก การกลั่น เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
น้ำมันก๊าด, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมกัน ได้จากการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันปิโตรเลียม มีจุดเดือด 150 - 300°C ในแต่ละโมเลกุลจะมีคาร์บอน 11 - 12 อะตอม มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ไอพ่น ใช้จุดตะเกียง เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
น้ำมันดิน, ของผสมของสารประกอบอินทรีย์มีลักษณะเป็นของเหลวข้น ได้จากการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ หรือการกลั่นทำลายวัตถุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น ไม้ ถ่านหิน เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
น้ำมันดีเซล, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมกัน ได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม ในแต่ละโมเลกุลจะมีคาร์บอน 13 หรือ 14 อะตอม มีจุดเดือด 250 - 350°C ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
น้ำมันเตา, ของเหลวที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของปิโตรเลียม แต่ละโมเลกุลมีคาร์บอน 15 - 17 อะตอม มีจุดเดือด 250 - 350oC ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
น้ำมันเบนซิน, ของเหลวที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม แต่ละโมเลกุลมีคาร์บอน 7 - 9 อะตอม มีจุดเดือด 40°C - 180°C ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
น้ำมันหล่อลื่น, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของปิโตรเลียม มีสถานะเป็นของเหลว มีจุดเดือดระหว่าง 305°C - 405°C ในแต่ละโมเลกุลจะมีจำนวนคาร์บอนตั้งแต่ 18 - 25 อะตอม เป็นน้ำมันที่ใช้ลดความเสียดทานระหว่างวัตถุต่าง ๆ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม, สารที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม เช่น น้ำมันต่าง ๆ ทินเนอร์ สารฆ่าแมลง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ส่วนที่เหลือ, กาก, สิ่งเหลือจากการเผา การกลั่น หรือการกรอง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สิ่งที่กลั่นได้, ของเหลวที่ได้จากการกลั่นตัวของไอในกระบวนการกลั่น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เฮปเทน, สารไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี C7H16 เป็นของเหลวได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม ไฮโซเมอร์ปกติมีจุดเดือด 98.4oC และความถ่วงจำเพาะ 0.68[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไอโซปรีน, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนจำพวกแอลคีน สูตรเคมีคือ C5H8 เป็นของเหลวไม่มีสี จุดเดือด 34.1°C ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายได้ในแอลกอฮอล์และอีเทอร์ได้จากการกลั่นทำลายยางดิบ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความร้อนแฝงของการกลั่นตัว, ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารจากแก๊สหรือไอเป็นของเหลว[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เครื่องควบแน่น, ตัวเก็บประจุ, 1.เครื่องควบแน่น อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการกลั่น เพื่อทำให้ไอของสารกลั่นตัวเป็นของเหลว โดยการกระบายความร้อนออกจากไอ 2.ตัวเก็บประจุ ดู capacitor[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ถ่านโค้ก, ของแข็ง สีเทา เปราะและมีรูพรุน องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอนประมาณ 80% และมีธาตุอื่น ๆ ปนอยู่ เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส ถ่านโค้กได้จากการกลั่นทำลายถ่านหิน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการถลุงโลหะ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ถ่านกระดูก, ถ่านที่ได้จากการกลั่นสลายกระดูกสัตว์ ใช้ในการกรองและฟอกจางสี เช่น ใช้ฟอกสีของน้ำตาลให้ขาวบริสุทธิ์ เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การกลั่นทำลาย, การให้ความร้อนแก่สารอินทรีย์ในภาวะที่ไม่มีอากาศ จะทำให้สารบางชนิดที่อยู่ในสารอินทรีย์นั้นระเหยหรือสลายตัวออกเป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลง เช่น การกลั่นทำลายถ่านหิน จะได้แก๊สถ่านหิน เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
วาสลิน, ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมกันอยู่ในสถานะครึ่งแข็งครึ่งเหลว มีสีขาวหรือสีเหลือง ใช้ทำเครื่องสำอางและขี้ผึ้งต่าง ๆ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]