ก. ตัดเพื่อให้แตกใหม่ เช่น กานต้นมะขาม, ตัดเพื่อให้ลำต้นเปลา เช่น กานต้นสน
ควั่นเปลือกและกระพี้ต้นไม้เพื่อให้ยืนต้นตาย เช่น กานต้นสัก, ควั่นเปลือกและกระพี้ต้นไม้เพื่อให้มีลูก เช่น กานต้นมะพร้าว.
ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึกที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของพระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้.
(กานด, กาน) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ (ยวนพ่าย).
(-นน) น. ป่า, ดง, เช่น อันว่าท้องเขาวงกฏกานน (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
(-พฺลู) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Syzygium aromaticum (L.) Merr. et L.M. Perry ในวงศ์ Myrtaceae ดอกตูมมีรสเผ็ดร้อน ตากแห้งแล้วใช้เป็นเครื่องเทศและทำยา.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Canarium album (Lour.) Raeusch. ในวงศ์ Burseraceae ผลคล้ายสมอบางชนิด กินได้ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน, สมอจีน ก็เรียก.
น. ชื่อนกน้ำขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Phalacrocoracidae คอยาว ตัวสีดำ ตีนมีพังผืด นิ้วแบบตีนพัดเต็ม ว่ายนํ้าเหมือนเป็ด ดำนํ้าจับปลากิน อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กานํ้าใหญ่ [ Phalacrocorax carbo (Linn.) ] กานํ้าปากยาว ( P. fuscicollisStephens) และกานํ้าเล็ก [ P. niger (Vieillot) ] .
น. แร่ประกอบหินที่มีค่าสูงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในพวกรัตนชาติ มีโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (KAlSi3O8) เป็นองค์ประกอบสำคัญ ปรกติมีสีขาวปนฟ้าหรือสีเหลืองขุ่นมัวอย่างนํ้านม แต่มีวาวขาวฉาบหน้าเหมือนวาวมุกในหอยมุก หรือวาวแสงจันทร์ในหยาดนํ้าค้าง.
น. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต (คาทอลิก) หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่งความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง.
(นอระ-) น. คนผู้เป็นที่รัก.
(นะระ-, นอระ-) น. นรก เช่น ตายก็ดีได้เข้า ข่องน้ำนรกานต์.
น. อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดเวลาโดยอาศัยการหยดหรือการไหลของนํ้าที่มีปริมาณตามที่กำหนดไว้.
น. ชื่อเรียกก้อนแข็ง ๆ หรือปุ่มหูดที่เกิดตามใบของไม้ก่อชนิด Quercus infectoriaOliv. ในวงศ์ Fagaceae เกิดจากการวางไข่ของแมลงชนิด Cynips tinctoria ในวงศ์ Cynipidae รสฝาดจัด ใช้ทำยาได้ เรียกว่า ลูกเบญกานี.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Polyscias scutellaria (Burm.f.) Fosberg ในวงศ์ Araliaceae แผ่นใบแบน ขอบใบห่อขึ้นเล็กน้อย ใบด้านบนเป็นลายด่างสีขาวนวล เขียว และเขียวอ่อนปนกัน, ครุฑกระทง ก็เรียก.
น. “ผู้มีรัศมีอ่อน” คือ ดวงเดือน.
น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Swietenia วงศ์ Meliaceae คือ มะฮอกกานีใบใหญ่ (S. macrophylla King) และมะฮอกกานีใบเล็ก [ S. mahogani (L.) Jacq. ], ทั้ง ๒ ชนิดเนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือนได้ดี.
น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดงร้อยละ ๘๓ แมงกานีสร้อยละ ๑๓ นิกเกิลร้อยละ ๔ ใช้ประโยชน์นำไปทำอุปกรณ์ไฟฟ้า.
น. ธาตุลำดับที่ ๒๕ สัญลักษณ์ Mn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน แข็งแต่เปราะ หลอมละลายที่ ๑๒๔๕ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
น. ชื่อแก้วชนิดหนึ่งถือกันว่าเมื่อถูกแสงพระอาทิตย์ทำให้เกิดไฟ, สูรยกานต์ ก็ว่า.
น. ชื่อแก้วชนิดหนึ่งถือกันว่าเมื่อถูกแสงพระอาทิตย์ทำให้เกิดไฟ, สุริยกันต์ หรือ สุริยกานต์ ก็ว่า.
คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [ กะถินนะกาน ] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่าเทศกาลกฐิน [ เทดสะกานกะถิน ] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [ บอริวานกะถิน ] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [ อะนุโมทะนากะถิน ] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน , ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
(กะตาทิกาน) น. การอันยิ่งที่ทำแล้ว.
(กะตาทิกาน) ว. มีการอันยิ่งที่สั่งสมไว้.
(กฺรด) น. ภาชนะใส่นํ้าเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือนคนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกานํ้า.
(กำมะกาน) น. บุคคลซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเพื่อกระทำกิจการบางอย่างเป็นคณะ. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
(กฺรามพฺลู) น. กานพลู เช่น แห้วหมูพิชกรามพลูก็มี (ม. คำหลวง มหาพน).
(กฺริดาทิกาน) น. บารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทำไว้.
(กฺริดาทิกาน) ว. มีบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทำไว้. (ส.; ป. กตาธิการ), ในบทกลอนใช้เป็น กฤดา หรือ กฤดาการ ก็มี.
(กฺริดา, กฺริดากาน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ (เสภาสุนทรภู่).
(กฺลด) น. กลศ, ภาชนะใส่นํ้าเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือนคนโท มีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ.
(กฺลด) น. ภาชนะใส่นํ้าเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือนคนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกานํ้า เรียกว่า หม้อกลศ, (โบ) เขียนเป็น กลด ก็มี.
(กาน) น. เหตุ, เค้า, มูล, เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์.
(กาน-) น. กานดา เช่น ธรณีธรณิศแก้ว การเต (ทวาทศมาส).
(กาน) น. หน้าที่, กิจ, ธุระ, งาน.
(กาน, กาละ-) น. เวลา, คราว, ครั้ง, หน.
(กาละกันนี, กานละกันนี, กาละกินี, กานละกินี) น. เสนียดจัญไร, ลักษณะที่เป็นอัปมงคล.
(กาน, กาละ-, กานละ-) น. รอยดำหรือแดงที่ผุดตามร่างกายคนเมื่อตายแล้ว.
(กาน, กาละ-, กานละ-) ว. ดำ, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส.
(กานละ-, กาละ-) น. ชื่อโรคระบาดอย่างร้ายแรงชนิดหนึ่ง มักมีอาการบวมนูนที่รักแร้เป็นต้น.
(กานละ-) น. ลมพายุใหญ่อย่างหนึ่ง เช่น ด้วยกำลังกาฬวาตโบกเบียน.
น. คำเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร.