น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า มาตรากดหรือแม่กด.
(จอ) พยัญชนะตัวที่ ๘ เรียกว่า จอ จาน เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ.
พยัญชนะตัวที่ ๑๐ เรียกว่า ชอ ช้าง เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช.
(ซอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๑ เรียกว่า ซอ โซ่ เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้นและเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ก๊าซ.
(ดอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๔ เรียกว่า ฎอ ชฎา เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กฎ มงกุฎ.
(ตอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๕ เรียกว่า ฏอ ปฏัก เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ปรากฏ นาฏ.
(ถอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๖ เรียกว่า ฐอ ฐาน เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รัฐ อัฐ.
(ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๗ เรียกว่า ฑอ มณโฑ เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น ออกเสียงเป็น ด บ้าง เช่น บัณฑิต มณฑป หรือ ท บ้าง เช่น มณฑล มณฑา และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ษัฑ.
(ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๘ เรียกว่า ฒอ ผู้เฒ่า เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น วัฒน์ วุฒิ.
(ดอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๐ เรียกว่า ดอ เด็ก เป็นอักษรกลางใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น มดกัด.
(ตอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๑ เรียกว่า ตอ เต่า เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น จิต เมตตา ฟุต.
(ถอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๒ เรียกว่า ถอ ถุง เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รถ นาถ.
(ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๓ เรียกว่า ทอ ทหาร เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ประมาท บท.
(ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เรียกว่า ธอ ธง เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น สุเมธ มคธ.
แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในมาตราเกอวหรือแม่เกอว
คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือมาตรา ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กกหรือมาตรากก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กงหรือมาตรากง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กดหรือมาตรากด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กนหรือมาตรากน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบหรือมาตรากบ, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กมหรือมาตรากม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกยหรือมาตราเกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอวหรือมาตราเกอว.
(สอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๘ เรียกว่า ศอ ศาลา เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ปราศจาก อัศวิน อากาศ.
(สอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๙ เรียกว่า ษอ ฤๅษี เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น เศรษฐี พิษ อังกฤษ.
(สอ) พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เรียกว่า สอ เสือ เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รส สัมผัส สวิส.
เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคำ, เรียกพยัญชนะที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด.