อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น.
ว. คำออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า.
น. คนชาวเขาตอนเหนือประเทศไทยพวกหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร.
ว. คำประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Syzygium Cumini (L.) Skeels. ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีม่วงดำ กินได้.
น. ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ เนบิวลา และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ กาแล็กซีมากกว่า ๑, ๐๐๐ ล้านกาแล็กซีรวมกันเป็นเอกภพ, ทางช้างเผือก ถือเป็นกาแล็กซีหนึ่ง.
น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คือ อัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า.
(ไขฺว่) น. ลักษณนามเรียกแผ่นกระดาษที่รองรับแผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่น ว่า ๑ ไขว่.
น. ชื่อหน่วยในมาตราวัดเวลาในสมัยโบราณ วัดโดยอาศัยการวัดเงาของตัวคนที่เกิดจากแสงแดดด้วยระยะความยาวของฝ่าเท้าของบุคคลนั้น ตอนเช้าหรือเย็นเงาจะทอดยาว และตอนเที่ยงเงาจะสั้นที่สุดหรืออาจไม่มีเลย เงาจะเปลี่ยนสั้นยาวได้จากเดือนหนึ่งไปสู่อีกเดือนหนึ่ง, เงายาว ๑ ฝ่าเท้า เรียกว่า ๑ ชั้นฉาย สามารถเทียบเวลาได้ ถ้าเป็นตอนเช้าเท่ากับ ๑๑.๔๕ นาฬิกา ถ้าเป็นตอนบ่ายเท่ากับ ๑๒.๑๕ นาฬิกา เช่น ปีขาลวันอังคารเดือนห้า ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย (ขุนช้างขุนแผน).
น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซลเซียส เดิมเรียกว่า องศาเซนติเกรด กำหนดเป็นมาตรฐานว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา (เขียนย่อว่า ๐ ºซ.) และจุดเดือดของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๑๐๐ องศา (เขียนย่อว่า ๑๐๐ ºซ.), อักษรย่อว่า ซ.
น. วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม, (โบ) วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกาของอีกวันหนึ่ง.
(นักสัด) น. ชื่อรอบเวลา กำหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด–หนู ฉลู–วัว ขาล–เสือ เถาะ–กระต่าย มะโรง–งูใหญ่ มะเส็ง–งูเล็ก มะเมีย–ม้า มะแม–แพะ วอก–ลิง ระกา–ไก่ จอ–หมา กุน–หมู.
น. น้ำที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ต่ำกว่า ๑๐ เมตร.
(-รับพุด) น. สังขยาจำนวนสูง เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน.
น. พื้นที่ใต้ระดับผิวดินลงไป, เรียกนํ้าที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ตํ่ากว่า ๑๐ เมตร ว่า นํ้าบาดาล
(โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ) น. สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป
(โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน) น. สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป
น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้
หมายความว่า ๑ เฟื้อง.
น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ แรงม้า คือ อัตราของการทำงาน ได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ แรงม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, กำลังม้า ก็เรียก.
น. ชื่อนกขนาดกลาง ในวงศ์ Phasianidae ตัวสีน้ำตาลหรือเทา มีแววที่ปีกและหาง ตัวผู้มีเดือยที่แข้งมากกว่า ๑ เดือย ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะรำแพนปีกและหางใต้ตัวเมียสนใจ ทำรังตามพื้นดิน กินแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ แว่นสีเทาหรือแว่นเหนือ [ Polyplectron bicalcaratum (Linn.) ] และแว่นสีน้ำตาลหรือแว่นใต้ [ P. malacense (Scopoli) ].
น. จํานวนจริงที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า ๑ เช่น
เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
น. หมู่สัญลักษณ์ของธาตุซึ่งเขียนขึ้นแทนสารใดสารหนึ่งเพื่อแสดงให้ทราบว่า ๑ โมเลกุลของสารนั้น ๆ ประกอบด้วยธาตุใดบ้าง และมีอย่างละกี่อะตอม เช่น H2O เป็นสูตรเคมีที่เขียนขึ้นแทนนํ้า เพื่อแสดงว่านํ้า ๑ โมเลกุล ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน ๒ อะตอม และธาตุออกซิเจน ๑ อะตอม.