ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ[ธุรกิจ]
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ[TU Subject Heading]
การค้าเสรี[TU Subject Heading]
การค้าเสรี, Example:สภาพการณ์ของการค้าระหว่างประเทศ ที่ไม่มีข้อจำกัดหรืออุปสรรคใดๆ อันได้แก่ ภาษีนำเข้า โควต้า ใบอนุญาตนำเข้า การห้ามนำเข้า การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตในประเทศ ในระบบเศรษฐกิจเสรีแต่ละประเทศจะผลิตสินค้าที่ตนมีความถนัดซึ่ง จะทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพ มีสิ [สิ่งแวดล้อม]
ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ, Example:ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศทั้งสาม ซึ่งได้มีการตกลงกันในหลักการเบื้องต้นเมื่อ พ.ศ. 2535 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 วัตถุประสงค์สำคัญของข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือหรือนาฟต้า (NAFTA) คือ 1) เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งการค้าสินค้า (Goods) และการบริการ (Services) ต่างๆ 2) เพื่อส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมในเขตการค้าเสรี 3) เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนในประเทศสมาชิกด้วยกัน 4) เพื่อปกป้องสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกด้วยกัน 5) เพื่อสร้างวิธีการที่มีประสิทธิผลในการใช้ข้อตกลงและการระงับข้อพิพาท 6) เพื่อสถาปนากรอบการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้งในระดับ ภูมิภาคและระดับโลก [สิ่งแวดล้อม]
สมาคมการค้าเสรียุโรป, Example:ก่อตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาสต็อกโฮล์ม (Treaty of Stockholm) เมื่อ พ.ศ. 2503 มีสมาชิกแรกเริ่ม 7 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ และโปรตุเกส ต่อมา อังกฤษ เดนมาร์ก และโปรตุเกส ได้ลาออกไปเข้าร่วมกับ กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และได้มีประเทศฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์เป็นสมาชิกเพิ่มเติม มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อตั้งเขตการค้าเสรี (ดู Free Trade Area) ในระหว่างประเทศสมาชิกโดยเน้นการค้าและ อุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน (ปี 2538) มีสมาชิกเพียง 3 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ เนื่องจากนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และออสเตรีย ได้ลาออกไปเข้าร่วมกับสหภาพยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2538 [สิ่งแวดล้อม]
เขตการค้าเสรีอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เพื่อส่งเสริม การค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยให้มีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากันตามระยะเวลาที่กำหนด เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี พ.ศ. 2546 และมีระยะเวลาผ่อนผันสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ ตามช่วงเวลาก่อน/หลังที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน[การทูต]
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง เพื่อหารือและติดตามการดำเนินงาน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ปกติจะจัดขึ้นประมาณปีละครั้ง ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน[การทูต]
ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนและกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การค้าออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน ความร่วมมือทางวิชาการ ด้านศุลกากร การขนส่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านมาตรฐานและการรับรองระหว่างกัน[การทูต]
ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับตลาดร่วมอเมริกาใต้ ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย โดยความร่วมมือในชั้นนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการ รวมตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละฝ่าย[การทูต]
ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีของแต่ละฝ่าย[การทูต]
เขตการค้าเสรีอาหรับ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยมติที่ประชุมสุดยอดอาหรับที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ (มิถุนายน 2539)[การทูต]
เขตการค้าเสรียุโรปกลาง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศยุโรปกลาง 7 ประเทศ ได้แก่ ฮังการี โปแลนด์ เช็ก สโลวัก สโลเวเนีย โรมาเนีย และบัลแกเรีย[การทูต]
เขตปลอดภาษี เป็นอาณาบริเวณที่อยู่ใกล้ท่าเรือหรือท่าอากาศยานที่อนุญาตให้นำเข้าโดยไม่ ต้องเสียภาษีนำเข้า ทั้งนี้ อาจเป็นการนำเข้าเพื่อส่งไปยังประเทศที่สาม หรือนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าสำหรับส่งออกตามที่กฎหมายกำหนด จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าของประเทศ นั้น ๆ ให้สามารถส่งออกไปขายแข่งกับตลาดโลกได้มากขึ้น[การทูต]
เขตการค้าเสรี การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากร ระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม[การทูต]
เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา " ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดขององค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States หรือ OAS) ยกเว้นประเทศคิวบา มีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2548 (OAS มีสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริกา คิวบา โดมินิกัน เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา แอนติกัวและบาร์บูดา เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ จาเมกา บาร์เบโดส เกรนาดา สุรินาเม โดมินิกา เซนต์ลูเซีย บาฮามาส เซนต์คิดตส์และเนวิส เบลิซ กายอานา ตรินิแดดและโตบาโก) "[การทูต]
เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2537 ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโก[การทูต]
เขตการค้าเสรีในเอเชียใต้ ภายใต้ SAARC เป็นไปตามมติของที่ประชุมสุดยอดของ SAARC ครั้งที่ 10 ที่กรุงโคลัมโบ เมื่อปี พ.ศ. 2541[การทูต]