(ชะระ-) ก. แทรก เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดูเพรี้ยมพราย (สมุทรโฆษ).
น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
น. เรือที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง.
น. เรือรบที่สามารถปฏิบัติการในขณะที่อยู่ใต้ผิวน้ำได้.
น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cimicidae ลำตัวแบนราบรูปไข่ ปีกลดรูปเหลือเพียงติ่ง ลำตัวยาว ๔-๕ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลแดง พบซ่อนตัวอยู่ตามที่อับเช่นที่อยู่อาศัยของคนและสัตว์โดยเฉพาะเตียงนอน พื้นบ้าน ที่นอนหมอนมุ้ง ร่องกระดาน ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ที่แพร่หลายมี ๒ ชนิด คือ ชนิด Cimex lectularius Linn. และชนิด C. hemipterus (Fabricius).
น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในอันดับ Psocoptera ขนาดเล็กมาก ตัวยาว ๑-๒ มิลลิเมตร ลำตัวอ่อนมาก มักมีสีขาว อาจพบได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ชนิดมีปีก ปีกมี ๒ คู่ เป็นแผ่นบางใส ขณะหุบปีกคลุมตัวเป็นรูปคล้ายหลังคา อาศัยอยู่ตามกองกระดาษ หนังสือ เศษขยะเก่า ๆ ในบ้าน ที่เก็บของในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ตามเปลือกไม้หรือบริเวณตามตะไคร่นํ้านอกบ้าน ที่อยู่ตามหนังสือเรียก เหาหนังสือ เช่น ชนิด Psocatropos microps (Enderlein) ในวงศ์ Psyllipsocidae, เลือดไม้ หรือ เหาไม้ ก็เรียก.
น. ชื่อพนักงานพวกหนึ่งในเรือเดินทะเล มีหน้าที่รักษาพัสดุตลอดจนสินค้าทั่วไปในระวางเรือด้วย เรียกเต็มว่า กระซับปากเรือ.
(ปะริทัด) น. กล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กำบังขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตาผู้มองได้โดยรอบ เช่น กล้องเรือดำน้ำ, กล้องตาเรือ ก็เรียก.
(-โพฺล่) น. ฝาปิดช่องบันไดหรือช่องทางขึ้นลงเรือดำน้ำหรือที่ดาดฟ้าเรือ.
(ชะระ-, ชะ) ก. ประดับ เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดูเพรี้ยมพราย (สมุทรโฆษ).
น. ชื่อไม้เถาชนิด Caesalpinia mimosoides Lam. ในวงศ์ Leguminosae เถามีหนามมาก ใบเป็นฝอยคล้ายใบมะขาม ดอกเป็นช่อสีเหลือง มีฝัก ใบและช่อมีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นตัวเรือด ใช้ทำยาได้, ปู่ย่า ก็เรียก.
เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน.
ก. ชะลอเรือ, ชะลอเรือด้วยถ่อ, ทำให้เรือมีความเร็วลดลง.
น. ไม้เนื้อแข็งที่ตีติดกับข้างเรือด้านในด้วยลูกประสัก เจาะรูสี่เหลี่ยมเล็กกว่ารูที่ไม้เสริมแคร่หรือเต่าซึ่งอยู่ข้างบนสำหรับยึดหลักแจวให้แน่น.
(ปะริทัด) น. ชื่อกล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กำบังขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตาผู้มองได้โดยรอบ เช่น กล้องเรือดำนํ้า, กล้องตาเรือ ก็เรียก.
น. เรือแจวจับสัตว์นํ้าในลำคลองและลำนํ้าชนิดหนึ่ง จับได้ทั้งปลาและกุ้ง กราบเรือด้านหนึ่งติดแผ่นกระดานทาสีขาว ปล่อยริมข้างหนึ่งให้ลงนํ้า กราบอีกด้านหนึ่งมีตาข่ายกันมิให้ปลาและกุ้งกระโดดข้าม ใช้จับเวลากลางคืน ปลาตกใจจะกระโดดเข้ามาหาเรือเอง.
น. ไม้ยาวสำหรับยื่นไปช่วยคนตกน้ำในเวลาเรือพระประเทียบล่ม, ไม้กระทุ้งให้จังหวะในเรือดั้งในกระบวนพยุหยาตรา
น. เรือรบที่มีระวางขับน้ำประมาณ ๖๕๐-๑, ๕๐๐ ตัน มีหน้าที่หลักเป็นเรือเร็วคุ้มกันและปราบเรือดำน้ำ.
น. เรือรบขนาดเล็ก มีความเร็วปานกลาง มีหน้าที่ตรวจดูเหตุการณ์เพื่อรักษาฝั่ง มีอาวุธต่าง ๆ ตามภารกิจของเรือแต่ละลำ เช่น เรือตรวจการณ์ (ปืน) เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือตรวจการณ์ลำน้ำ.
น. เรือสำหรับบรรทุกเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ในการโจมตีหรือปราบเรือดำน้ำเป็นต้น มีลานบินและทางสำหรับเครื่องบินขึ้นลงได้ด้วย.
น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
น. เรือรบที่มีความเร็วสูง ระวางขับน้ำประมาณ ๓, ๘๐๐-๕, ๕๐๐ ตัน มีหน้าที่หลักในการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำและอากาศยาน และอาจทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น เฝ้าตรวจการรุกล้ำทางผิวน้ำและอากาศ ตรวจการรุกล้ำของเรือดำน้ำ มีอาวุธสมัยใหม่ทั้งปืนใหญ่ อาวุธนำวิถี และอาวุธปราบเรือดำน้ำ.
น. เรือรบที่มีความเร็วสูง มีระวางขับน้ำประมาณ ๑, ๕๐๐-๓, ๕๐๐ ตัน แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามระบบอาวุธประจำเรือ อาทิ เรือฟริเกตต่อสู้อากาศยาน เรือฟริเกตควบคุมอากาศยาน เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ และเรือฟริเกตอเนกประสงค์.
น. เรือที่ต่อหรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีขีดความสามารถต่าง ๆ เช่น ต่อตีเรือข้าศึก คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง และระดมยิงฝั่ง เป็นต้น มีหลายประเภท เรียกชื่อตามลักษณะและหน้าที่ที่สำคัญ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ เรือลาดตระเวน เรือวางทุ่นระเบิด.
น. วิทยุคมนาคมระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมชายฝั่งกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเรือ หรือระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเรือด้วยกันเอง.