น. พระภูมิ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พระภูมิเจ้าที่.
น. เทวดารักษาพื้นที่และหนทาง.
ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ทูลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่มิได้ทรงกรม และหม่อมเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, สรรพนามบุรุษที่ ๑ ที่หม่อมเจ้ามีรับสั่งระหว่างกัน.
น. กล้วยนํ้าว้า ฝานเป็นชิ้น ชุบแป้งข้าวเจ้าที่ผสมหัวกะทิ มะพร้าวขูดละเอียด น้ำตาล เกลือ แล้วนำไปทอด.
น. สามัญชนที่เป็นตาของพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสพระราชธิดา.
น. สามัญชนที่เป็นยายของพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสพระราชธิดา.
น. ข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอก.
น. ข้าวเจ้าที่หุงด้วยกะทิ มักกินกับส้มตำ, ข้าวเจ้าหุงด้วยน้ำต้มกระดูกไก่โดยหุงแบบไม่เช็ดน้ำ กินกับไก่ตอนต้ม ปัจจุบันกินกับไก่ทอดก็มี. (ดู ข้าวมันไก่ ประกอบ)
น. ข้าวเจ้าที่มีสีแดงคล้ำ.
น. ข้าวเจ้าที่สีหรือซ้อมเอาเปลือกออก เหลือแต่เนื้อในไม่มีเยื่อติดอยู่.
(จะตุรงคะยะมก) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร (ชุมนุมตำรากลอน).
น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวเจ้านวดกับกะทิแล้วนึ่งให้สุก ปั้นเป็นก้อนกลมแบน หุ้มไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยวจนเหนียวผสมงาคั่ว แล้วคลุกนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุก.
(ชา-ดก) น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในพระชาติก่อน ๆ ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุ-ศาสน์. (ป., ส. ชาตก). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ).
(ถากูน) น. รูปเคารพ, เทพเจ้าที่นับถือ.
น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอก ว่า ข้าวตอก.
ว. เรียกเจ้านายที่ได้รับพระราชทานอิสริยยศให้มีข้าคนหมู่หนึ่งจัดตั้งเป็นกรมในปกครองเพื่อช่วยราชการแผ่นดิน เจ้าที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองข้าในกรมของพระองค์ เรียกว่า เจ้านายต่างกรม กรมของเจ้ามีชื่อต่าง ๆ กันไปตามนามของผู้เป็นเจ้ากรม.
น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าและพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่ทรงกรม.
น. สมเด็จพระบรมราชินี ลงมาจนถึงพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์.
น. เทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่, พระภูมิเจ้าที่ ก็เรียก.
น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดา, สกุลยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าที่พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า, สกุลยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในพระองค์เจ้าที่ประสูติแต่พระมารดาซึ่งเป็นพระองค์เจ้า, อิสริยยศสำหรับหม่อมเจ้าหรือสามัญชนที่ได้รับสถาปนา.
น. พระองค์เจ้าที่มิได้เป็นพระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์และหม่อมเจ้า.
น. เรียกข้าวเจ้าที่มีสีแดงคลํ้า ว่า ข้าวมันปู.
(เมดไตฺร) น. พระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า.
น. กำลัง เช่น แรงคน ไม่มีแรง มีแรงมาก ออกแรง, อำนาจ เช่น แรงเจ้าที่ แรงกรรม.
ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ที่นี่เจ้าที่แรง
ส. คำแทนชื่อคนซึ่งพูดกับเจ้าที่เป็นผีแทนคำว่า ข้าพเจ้า.
ก. แต่งงาน (ใช้แก่เจ้านายชั้นพระองค์เจ้า หม่อมเจ้าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตกแต่งให้).
(สะเด็ด) น. คำเรียกเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสพระราชธิดา.
น. พระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ ชั้นพระองค์เจ้าที่ทรงกรม.
น. แป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็น เส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง.
น. อิสริยยศที่พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์ชายที่รับราชการมีความชอบ อยู่ระหว่างหม่อมเจ้ากับหม่อมราชวงศ์ เช่น หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง อยู่ระหว่างพระยากับพระ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้ว่า เจ้าราชนิกุล ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป เจ้าราชนิกุลนี้ครั้งต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีคำเรียกว่าคุณว่าหม่อม ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า, หม่อมราชินิกูล ก็เรียก.
น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนำมาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทำด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ.
น. พระองค์เจ้าที่มิได้เป็นพระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์และหม่อมเจ้า, ใช้ว่า พระอนุวงศ์.