น. คำเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์.
น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิชาอาคมให้ศิษย์, วิทยาคม ก็ว่า.
(-คม) น. เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม
การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน.
น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้ (สามดวง).
เอาคมมีดสะบัดบนของแข็งเพื่อให้คม เช่น เอามีดกรีดหินเพื่อให้คม กรีดมีดบนปากชาม.
น. “อาจารย์บางพวก”, อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง.
ก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคำที่ปรารถนาจะกระทำหรือพูดให้ร้ายแก่ผู้อื่นแล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว.
ก. ทำให้เป็นแฉก ๆ หรือหยัก ๆ คล้ายฟันเลื่อย, เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่หรือหวายให้แตกจากกันเป็นเส้นบาง ๆ.
ก. เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นแบนบาง สำหรับใช้ผูกมัดหรือสานสิ่งต่าง ๆ.
(-ตฺรี) น. เรียกชายที่มีวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพันหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ ว่า ชายชาตรี, ปัจจุบันใช้หมายถึงชายที่มีรูปร่างล่ำสันแข็งแรง.
น. ชายผู้มีวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพันหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้, ชายที่มีรูปร่างล่ำสันแข็งแรง.
ทำให้มีชีวิต เช่น จึ่งหน่อนเรศร์ เรืองเวทชุบชาญ อื้นอาคมขาน ชูชีพย์ชายา (สรรพสิทธิ์)
(-สุริยะคะติ) น. ช่วงเวลาประมาณ ๑ ใน ๑๒ ของปีสุริยคติ ได้แก่เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม เดือนที่ลงท้ายด้วยอายนมี ๓๐ วัน เดือนที่ลงท้ายด้วยอาคมมี ๓๑ วัน และเดือนที่ลงท้ายด้วยอาพันธ์มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน.
(-กฺรุด) น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะหรือใบลานเป็นต้น โดยปรกติลงคาถาอาคมแล้วม้วนเป็นรูปกลมยาวและกลวง, กะตรุด กะตุด หรือ กระตรุด ก็ว่า.
ก. ทำให้ความหมายของธาตุในภาษาบาลีและสันสกฤตแผกเพี้ยนไปจากเดิมโดยการเติมอุปสรรค เช่น ธาตุ คม แปลว่า ไป เติม อา เบียนธาตุ เป็น อาคม แปลว่า มา.
น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง.
น. ผู้มีอิทธิฤทธิ์, ผู้รอบรู้เวทมนตร์คาถาอาคม.
น. วิธีทำคุณอย่างหนึ่ง โดยเอารอยตีนของอมิตรมาเสกคาถาอาคม แล้วนำไปฝังที่ใต้บันไดเรือน ป่าช้า หรือทางสามแพร่ง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ฝังรูป เป็น ฝังรูปฝังรอย.
น. วิธีทำคุณอย่างหนึ่ง โดยปั้นรูปสมมุติของอมิตรขึ้นด้วยขี้ผึ้งหรือดินเหนียวจากป่าช้า เสกคาถาอาคม แล้วนำไปฝังที่ใต้บันไดเรือน ป่าช้า หรือทางสามแพร่ง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ฝังรอย เป็น ฝังรูปฝังรอย.
น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำบางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี.
เอาคมมีดถูวนเบา ๆ ที่หิน ในคำว่า ร่อนมีด.
ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็นปรกติ
เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษหรือคาถาอาคมจนผิดปรกติวิสัย.
ก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหาความรู้ ว่า ค่าเล่าเรียน.
น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิทยาคมให้ศิษย์, วิชาอาคม ก็ว่า.
(วินาด-) ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออกเสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.
ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์
(สะหฺมิง) น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่าวิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง
ก. ทำให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะกุญแจ
น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้, เสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่าวิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้.
น. ผู้ที่เชื่อกันว่ารู้วิชาอาคมทำให้คนรักกันหรือชังกัน.
(-เทด) น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย.